Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/442
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรางคณา วิเศษมณี ลี-
dc.contributor.advisorVarangkana Visesmanee Lee-
dc.contributor.authorสุจิตตรา บุตรวงค์-
dc.contributor.authorSujittra Butrwong-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health-
dc.date.accessioned2022-06-19T05:07:02Z-
dc.date.available2022-06-19T05:07:02Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/442-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) (การจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยร่วมที่แตกต่างกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนงานชาวพม่าในโรงงานผลิดเป็ดสด จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคนงานชาวพม่า จำนวน 300 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 20-25 ปี นับถือศาสนาพุทธ มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสถานภาพโสด มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว มีบุคคลที่คอยดูแลขณะเจ็บป่วย คือ สามีหรือภรรยา และเมื่อเจ็บป่วยเลือกที่จะไปซื้อยาที่ร้านขายยาใกล้บ้าน ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างดังกล่าว มีความเชื่อด้านสุขภาพโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.35 หมายถึง ระดับการรับรู้ถึงความเชื่อด้านสุขภาพของคนงานชาวพม่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความเชื่อด้านสุขภาพลำดับแรก คือ การรับรู้ประโยชน์และการป้องกันรักษาความเจ็บป่วย รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ด้านการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของการเกิดความเจ็บป่วย ด้านแรงจูงใจสุขภาพ และด้านการรับรู้อุปสรรคของความเจ็บป่วยตามลำดับ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.30 หมายถึง การปฏิบัติของคนงานชาวพม่าเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ปฏิบัติเป็นบางครั้งบางคราว โดยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพลำดับแรก คือ การบริโภคอาหารและยา รองลงมาคือ การตรวจรักษาสุขภาพ ด้านการพักผ่อน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการความเครียด และด้านการออกกำลังกาย และการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้คือ คนงานชาวพม่าที่มีเพศ อายุ ศาสนา และสถานภาพการสมรสที่ต่างกันจะมีพฤติกรรมสุขภาพที่แตกต่างกัน และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดความเจ็บป่วย และด้านการรับรู้ประโยชน์และการป้องกันรักษาความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th
dc.description.abstractThe purpose of this research were to compare the different common factors with health care behaviors, and their relationships to the Health Belief Model with the health care bahaviors of Burmese workers in a fresh duck factory Samut Prakan province. The samples of this study were 300 Burmese workers with questionnaires were used as a data collection tool. The results found that the most of sample were found to be male, aged between 20 to 25, Buddhist and single. Their education background was primary school, having and income greater than expenses, no underlying diseases, having their spouse as the caretaker upon an illness. In addition, when ill becomins they chose to buy medicines from drugstores near their homes. Health beliefs of the samples were at moderate level with a mena of 2.35, meaning that level of perception in health beliefs among Burmese workers was moderate. In regard to their health beliefs, the first was perceiver benefits of illness prevention and treatment, followed by perceived seriousness of illness, susceptibility to illness, health motivation and illness obstacles, respectively. Their health care behaviors were at moderate levels with a mean of 2.30, meaning that Burmese workers' practices on healthcare behaviors were occasionally carried out. In regard to health care behaviors, the first was food consumption and drugs, followed by health checks, rest, environmental management, stress management and physical exercise. Conforming to the assumptions made, Burmese workers of different sexes, ages, religions and marital status have the different health-related behaviors. On the basis of the Health Belief Modal, the perceived susceptibility to illness and perceived benefits of illness prevention and treatment have a positive relationship with health care behaviors with .05 level of statistical significance.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth
dc.subjectHealth behaviorth
dc.subjectแรงงานต่างด้าวพม่า -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectForeign workers, Burmese -- Thailand -- Samut Prakarnth
dc.titleการศึกษาความเชื่อและพฤติกรรมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของคนงานชาวพม่าในโรงงานผลิตเป็ดสด จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeStudy on Health Beliefs and Behaviors by Application of a Health Belief Model among Burmese Workers in a Fresh Duck Factory Samutprakarn Provinceth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยth
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf867.32 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf344.1 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf356.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf674.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf500.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf738.6 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf337.23 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf339.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.