Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/452
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของฝุ่นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อสมรรถภาพปอดของพนักงานในโรงงานผลิตสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Relationship of Particulate Exposure Affected to the Pulmonary Functions among the Workers in Sweeteners Factory in Samutprakarn Province
Authors: นิรัญกาญจ์ จันทรา
Niranyakarn Chantra
วิไลภรณ์ กิมประพันธ์
Wilaiporn Kimpraphun
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health
Keywords: ปอด -- โรค
Lungs -- Diseases
ทางเดินหายใจ -- โรค
Respiratory organs -- Diseases
ฝุ่น
Dust
โรคเกิดจากอาชีพ
Occupational diseases
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: ฝุ่นในพื้นที่การทำงานอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของพนักงานที่ทำงานสัมผัสกับฝุ่น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นขนาดเล็ก (Respirable Dust) จากการตรวจวัดแบบบุคคลกับสมรรถภาพปอดของพนักงานที่ทำงานสัมผัสกับฝุ่น 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถภาพปอดของพนักงานที่ทำงานสัมผัสกับฝุ่น 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมส่วนบุคคลกับสมรรถภาพปอดของพนักงานที่ทำงานสัมผัสกับฝุ่น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) การเก็บตัวอย่างฝุ่นขนาดเล็ก 2) การตรวจสมรรถภาพปอด 3) แบบสำรวจปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมส่วนบุคคลของพนักงาน ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ตามสูตรของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีเพียร์สัน ผลการวิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานระดับปฏิบัติการที่ทำงานเกี่ยวกับฝุ่นผลิตภัณฑ์สารให้ความหวานที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 104 คน ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 76 คน (73.10%) และเพศหญิงจำนวน 28 คน (26.90%) โดยมีอายุเฉลี่ย 38 ปี และมีอายุงานเฉลี่ย 1 ปี ผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.73 mg/m³ การทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถภาพปอด โดยรวมพบว่า เพศ อายุ อายุงาน และการมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจในอดีต มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้ามกัน ผลการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่วนบุคคลกับสมรรถภาพปอด โดยรวมพบว่า คือ ระยะเวลาในการใช้หน้ากาก ลักษณะการใช้หน้ากาก ระยะเวลาในการใช้ถุงมือ ลักษณะการใช้ถุงมือ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในอดีต จำนวนบุหรี่ที่เคยสูบต่อวัน ระยะเวลาที่เคยสูบบุหรี่ติดต่อกัน ระยะเวลาในการเลิกสูบบุหรี่ และวิธีการล้างมือ การทำความสะอาดร่างกายก่อนออกจากพื้นที่การผลิต มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้ามกัน ควรมีการสนับสนุนการให้ความรู้ด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลในโรงงาน เช่น การออกกำลังกายและประวัติของโรคติดเชื้อ และควรศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการทำงานของปอด
The workers in Sweeteners factory have to work expose to small particles in their workplace which might be affected to their respiratory system. Therefore, the objectives of this study were 1) to determine the exposure of the Respirable dust 2) to determine the relationship between personal factors and result of spirometry 3) to determine the relationship between personal behavior and result of spirometry. The research instruments were 1) the personal sampling of Respirable dust, 2) the spirometry test, and 3) the questionnaire for collecting demographic characteristic and behavior in working. The data collection was performed during October-December,2014. The descriptive statistics was applied to analyze the basic information, and behavior. The evaluation of Pulmonary functions test was followed the method of the Thoracic society of Thailand. The Pearson correlation was applied to determine the relationship between the result of Pulmonary functions, the personal factors, and the behaviors also. The subjects composed of 76 male workers (73.10%) and 28 female workers (26.90%). The average of age was about 38 years old and their work experience was about 1 year. An average of dust concentration was 0.73 mg/m³. The results showed that the personal factors including gender, age, genetic or chronic diseases and work experience had negative significant relationship with the results of Pulmonary functions. In addition, the personal behavior in working including the utility of masks and gloves, smoking history, amount of cigarette per day, the continuous period of smoking, the duration of quit smoking, and cleaning methods of body after finished work also presented negative significant relationship with the results of Pulmonary functions. Hence, the program of quit smoking, the utility of personal protective equipment, and the recognition of personal hygiene should be promoted in the factory. For the further study, the related factors, affected to the pulmonary function such as physical exercise and history of infectious disease should be determined.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) (การจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/452
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstact.pdf
  Restricted Access
1.54 MBAdobe PDFView/Open Request a copy
Tableofcontents.pdf
  Restricted Access
153.96 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter1.pdf
  Restricted Access
376.38 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter2.pdf
  Restricted Access
846.33 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter3.pdf
  Restricted Access
1.07 MBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter4.pdf
  Restricted Access
376.59 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter5.pdf
  Restricted Access
173.03 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
References.pdf
  Restricted Access
961.48 kBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.