Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/456
Title: | การวิเคราะห์ความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมเอทานอลไทยไปตลาดฟิลิปปินส์ |
Other Titles: | The Analysis of Export Performance for Ethanol Industry in Thailand to Philippines Market |
Authors: | พิษณุ วรรณกูล Pitsanu Wannakul วัชรวรรณ แก้วรุ่งเรือง Watcharawan Keawrungrueng Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | อุตสาหกรรมเอทานอล Ethanol fuel industry การแข่งขันทางการค้า Competition |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแข่งขันของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา และบราซิล ในการส่งออกเอทานอลไปยังฟิลิปปินส์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้ออำนวยและที่เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเอทานอลของไทย และให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัมนาอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลา รายปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2554 ซึ่งวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาโดยใช้ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage: RCA) ร่วมกับแนวคิดเกี่ยวกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ (Competitive advantage of nations) และจากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) จากการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2550-2554 ประเทศไทยมีค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ เท่ากับ 7.79, 3.62, 5.64, 4.48 และ 6.74 ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญอย่างบราซิลมีค่าดัชนีเท่ากับ 107.08, 78.84, 82.54, 0.00 และ 0.13 ตามลำดับและสหรัฐอเมริกา มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.00, 0.00, 1.24, 5.73 และ 3.98 ตามลำดับ จากตัวเลขดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏพบว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกของอุตสาหกรรมเอทานอล โดยสามารถส่งออกเอทานอลไปตลาดประเทศฟิลิปปินส์ได้สม่ำเสมอ มากกว่าประเทศบราซิลและสหรัฐอเมริกา โดยบราซิลและสหรัฐอเมริการมีแนวโน้มค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบลดลง ในส่วนปัญหาและอุปสรรคที่พบในอุตสาหกรรมเอทานอลของไทย คือ ปัญหาด้านเทคโนโลยีการผลิต ราคาวัตถุดิบผันผวน และความไม่แน่นอนในนโยบายของภาครัฐ แต่โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมเอทานอลของไทยจัดอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งความพร้อมด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนและเกี่ยวเนื่อง และตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง This study has objective to investigate performance of Thailand's ethanol export industry to the Philippines's market by compared with two major competitors, United Stated of America and Brasil. And study with support and hinder factors which affected to export performance included of the recommendation to enhance this industry. The period of this research is from 2007 to 2011 by analyzed Revealed Comparative Advantage (RCA) composed of the competitive advantage of nations plus Strengths Weaknesses Opportunities and Threats analysis (SWOT). By the study peroid between 2007 to 2011, Thailand's Revealed Comparative Advantage (RCA) is 7.79, 3.62, 5.64, 4.48 and 6.74 in respectively. While our competitors, Brazil, has Revelaed Comparative Advantage (RCA) index as 107.08, 78.84, 82.54, 0.00 and 0.13. And USA has Revealed Comparative Advantage (RCA) index as 0.00, 0.00, 1.24, 5.73 and 3.98. The significant of Thailand's RCA insists to the most competitiveness of Thailand compare among Brazil and USA. And the most advantafe of Thailand is logistic cost where the geography of Thailand is nearer than Brazil and USA. For weakness and treat, Thailand's Ethanol idustry has some problems such as an obsolete in production technology, fluctuate of feedstock cost and unstable Government's policy. However, Thailand's Ethanol industry still has a good chance to expand to related industries in down-steam and up-steam and extent to both domestic and oversea market in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/456 |
Appears in Collections: | Business Administration - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WATCHARAWAN-KEAWRUNGRUENG.pdf Restricted Access | 6.93 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.