Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/470
Title: การศึกษาการปลดปล่อยและตรวจสอบความคงตัวของไนอาซินาไมด์และคาเฟอีนจากตำรับทาผิวชนิดต่าง ๆ
Other Titles: In vitro Releases Study and Stability Investigation of Niacinamide and Caffeine from Different Topical Formulations.
Authors: สุนี ชาญณรงค์
Sunee Channarong
จริยาพร พุ่มสกุล
Jariyaporn Pumsakul
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Keywords: ไนอาซินาไมด์
Niacinamide
คาเฟอีน
Caffeine
ผิวหนัง -- รอยย่น
Skin -- Wrinkles
Anti-wrinkle
ครีมถนอมผิว
Barrier creams
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การปลดปล่อยและความคงตัวของไนอาซิไมด์และคาเฟอีนจากตำรับทาผิว 4 ชนิด ซึ่ง ได้แก่ เจล วานิชชิ่งครีม ไฮโดรฟิลิกอิมัลชั่นและโคล์ดครีม ได้ถูกตรวจสอบ การศึกษาการปลดปล่อยของสารสำคัญทำโดยใช้ Franz-type diffusion cells เจลเป็นตำรับชนิดน้ำและมีความหนืดน้อยที่สุด ทั้งวานิชชิ่งครีมและไฮโดรฟิลิกอิมัลชั่นเป็นครีมชนิดน้ำมันในน้ำ ซึ่งมีความแตกต่างกันในส่วนของสารอิมัลชั่นและชนิดของน้ำมันที่ใช้ วานิชชิ่งครีมมีลักษณะที่เหลวกว่าไฮโดาฟิลิอิมัลชั่น ส่วนโคล์ดครีมเป็นครีมชนิดน้ำในน้ำมันและมีความหนืดมากที่สุด การศึกษาการปลดปล่อยในหลอดทดลองของไนอาซินาไมด์และคาเฟอีนจากทั้ง 4 ตำรับ ให้ผลทางจลนศาสตร์การปลดปล่อยที่คล้ายคลึงกัน จลนศาสตร์การปลดปล่อยของตำรับส่วนใหญ่เป็นไปตามสมการของ Higuchi สารทั้งสองชนิดสามารถปลดปล่อยได้มากและอัตราเร็วสูงที่สุดจากตำรับเจล และปลดปล่อยได้น้อยที่สุดจากตำรับโคล์ดครีม จากผลการศึกษาแสดงว่าความหนืดและชนิดของครีมพื้นมีผลอย่างมากต่อการปลดปล่อยสารสำคัญ ความคงตัวขอตำรับเมื่อเก็บไว้นาน 6 เดือน พบว่าค่าพีเอชของทุกตำรับมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเก็บที่อุณหภูมิห้องเฉพาะตำรับไฮโดรฟิลิกอิมัลชั่นเกิดการเปลี่ยนสี เมื่อเก็บที่ 45 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 เปอร์เซ็นต์ พบว่าตำรับโคล์ดครีมเกิดการแยกชั้นและตำรับเจลเกิดการหดตัว ความคงตัวทางเคมีของทั้งไนอาซิไมด์และคาเฟอีนมีความคงตัวต่ำอย่างชัดเจนในตำรับต่างๆ อายุตำรับที่นานที่สุดสำหรับไนอาซิไมด์พบในตำรับวานิชชิ่งครีม ส่วนคาเฟอีนมีอายุตำรับที่นานที่สุดในตำรับเจล โดยมีอายุประมาณ 12 เดือน และ 6 เดือน ตามลำดับเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
The release and the stability of niacinamide and caffeine from four different formulations which were gel, vanishing cream, hydrophilic emulsion and cold cream were studied. The release of active components was evaluated using Franz-type diffusion cells. Gel is an aqueous phase which possesses the lowest viscosity. Both vanishing cream and hydrophilic emulsion are the same in o/w types with difference in emulsifying agents and oil components. The vanishing cream is more liquid than hydrophilic emulsion whereas the cold cream which is w/o type and the most inflexible. In vitro releases of niacinamide and caffeine from four different formulations showed the similar kinetics. Both niacinamide and caffeine showed the highest release amounts and the fastest rated from the gel. The lowest release amount and release rate were found in cold cream. The results suggest that the viscosity and type of cream bases strongly affect the release of the actives from the formulations. The physical stability of formulations after storage for 6 months, was found that the pH values of all formulations were found to increase. At room temperature, only the hydrophilic emulsion preparation was changed in color. At 45°C/75%RH, only the cold cream preparation was found to crack, the gel underwent syneresis. The chemical stability of niacinamide and caffeine from creams and gel were found remarkedly to degrade. The longest shelf life of niacinamide was found in vanishing cream and that of caffeine was found in gel preparation. The shelf life of niacinamide and caffeine at 4°C were about 12 months and 6 months, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.) (เทคโนโลยีเภสัชกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/470
Appears in Collections:Pharmaceutical Sciences - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jariyaporn-Pumsakul.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.