Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/478
Title: การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการแปลภาพยนตร์จีนเป็นภาษาไทยและภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีน
Other Titles: A Comparative Study in Techniques of Translating Movie Titles from Chinese into Thai and from Thai into Chinese
Authors: นริศ วศินานนท์
Cheng, Yingfen
Keywords: ภาพยนตร์ไทย -- การตั้งชื่อ
Motion pictures, Thai -- Naming
ภาพยนตร์จีน -- การตั้งชื่อ
Motion pictures, Chinese -- Naming
ชื่อภาพยนตร์
การตั้งชื่อ
Issue Date: 2014
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบลักษณะและรูปแบบการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์จีนเป็นภาษาไทยและการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีนในด้านความเหมือนและความแตกต่าง รวมถึงค่านิยม วัฒนธรรมที่มีผลต่อการตั้งชื่อ โดยเก็บข้อมูลชื่อภาพยนตร์ทั้งจอแก้วและจอเงิน ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งแบ่งเป็นชื่อเรื่องภาพยนตร์ไทยแปลเป็นภาษาจีนที่รวบรวมจากเว็บไซต์ http://www.youku.com และ http://www.pps.com จำนวน 322 เรื่อง ส่วนชื่อเรื่องภาพยนตร์ที่แปลจากจีนเป็นภาษาไทยรวบรวมมาจากเว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ข้อบันเทิงจีน http://www.manager.co.th/ และเว็บไซต์ดูหนังสือฟรีออนไลน์ http://www.xn--72czoab1b2ak0dpa8czc8b9k8e.com/ จำนวน 462 เรื่อง การนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบการแปลชื่อเรื่องภาพยนตร์จีนเป็นภาษาไทยและภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีนใช้วิธีการตั้งชื่อโดย 1. การตั้งชื่อเรื่องใหม่ 2. วิธีการปรับชื่อเดิม (รวมขยายความหรือตัดทอนคำชื่อเดิม) 3. วิธีแปลตรงตัว (รวมแปลตรงจากชื่อภาษาเดิมหรือภาษาอังกฤษ) รูปแบบการตั้งชื่อใหม่โดย 1. การใช้เนื้อเรื่อง 2. การใช้ลักษณะเด่นของตัวเอก 3. การใช้ชื่อสิ่งของ/สถานที่ในเรื่อง 4. การใช้ชื่อของตัวเอกในเรื่อง ผลการวิเคราะห์ทางสถิติแสดงการตั้งชื่อทั้งสองภาษามีความเหมือนและแตกต่างกัน ซึ่งภาพยนตร์จีนตั้งชื่อเป็นภาษาไทยนิยมใช้ความคิดรังสรรค์ตั้งชื่อเรื่องใหม่ รองลงมาเป็นวิธีการแปลตรงตัว และการตั้งชื่อโดยปรับชื่อเดิมตามลำดับ ส่วนการตั้งชื่อเรื่องภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีนจะตั้งชื่อโดยการแปลตรงตัวเป็นหลักตั้งชื่อเรื่องใหม่ ปรับชื่อภาพยนตร์ภาษาไทยตามลำดับ จากการวิเคราะห์เชิงสถิติตามประเภทของภาพยนตร์ ผลปรากฏว่าประเภทของภาพยนตร์มีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อภาพยนตร์โดยวิธีการแปลและวิธีการเลือกสรรคำใหม่ตั้งชื่อ นอกจากนี้เห็นได้ว่าวัฒนธรรมและค่านิยมของไทยและจีนมีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อภาพยนตร์ การตั้งชื่อเรื่องจากภาพยนตร์จีนเป็นภาษาไทยนิยมใช้การตั้งชื่อใหม่ เจาะจงหรือสื่อเนื้อเรื่องที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตัวละครเอกที่โดดเด่นซึ่งเป็นการโฆษณาภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ สำหรับการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีน นิยมใช้วิธีการแปลตรงจากชื่อไทยมาตั้งชื่อเรื่องเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นการรักษาความเดิมของชื่อภาษาไทย
The research has the purposes to analyze and comparative study the pattern of naming the Chinese movies in Thai language and Thai movies in Chinese language. This research also studies the similarities and differences of Chinese and Thai cultures implied in the titles. The data is the movies broadcasted both in cinemas and televisions and collected from 1 January 2000 to 30 May 2013 which are 322 titles of Thai movies translated to Chinese language from www.youku.com and www.pps.com and 462 Chinese Movies translated to Thai language from ASTV Website, Chinese Entertainment page in Manager online (www.manager.co.th) and free online cinema website http://www.xn--72czoab1b2ak0dpa8czc8b9k8e.com/. This research is presented indescriptive analysis. The research discovers that techniques of naming Chinese movies into Thai language and naming Thai movies into Chinese have: 1. createa new title 2. translate from Chinese or from English title 3. Change from original Chinese titles (added some classifier or cut some part of the original titles). Pattern and method of naming the movie have 1. Using substance 2. Using Characteristics of the main character 3. Using the name of objects/places in the movie 4. Using the name of the main character. Statistics shows that there are similarities and differences in naming new between two languages. Thai prefers to name the new title with creativity and patterns. Secondly, translated directly from Chinese or from English title. Following with change some words of the original Chinese titles. Thai movies in Chinese language use primarily the direct translation from Thai or English name. Next, creating the new title, adding classifier and shortening the original title are applied orderly. The research also reveals that the movie styles, culture and outlook value of the society are influenced with the pattern and method of naming. Naming Chinese movies to Thai language mostly created new titles which convey specifically the content and the identification of the main character and be a good adverstisement for the movie. But naming Thai movies in Chinese languge, the direct translation is mostly used with the intention to maintain the original Thai title.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/478
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHENG-YINGFEN.pdf7.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.