Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/483
Title: ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าแม่กวนอิมของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านเยาวราช
Other Titles: Beliefs and Rites of Guanyin Goddess of Thai-Chinese People in Yaowarach Area
Authors: แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย
Sangaroon Kanokpongchai
Jing, Kaiyang
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: ความเชื่อ
Belief and doubt
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
Rites and ceremonies
ชาวจีน -- ไทย
Chinese -- Thailand
กวนอิม
Avalokitesvara
เยาวราช (กรุงเทพฯ)
Yaowarat (Bangkok, Thailand)
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าแม่กวนอิม และ 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าแม่กวนอิมที่มีต่อสังคมไทยในย่านเยาวราช เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีเก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์บรรยากาศพิธีกรรม และศึกษาข้อมูลจากเอกสาร เน้นการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับศาบเจ้าแม่กวนอิม ผู้มากราบไหว้เจ้าแม่กวนอิม และผู้เข้าร่วมงานพิธีกรรมต่างๆ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 40 คนและเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย พบว่า ชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านเยาวราช มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเจ้าแม่กวนอิม จำแนกได้ 3 ประเด็น คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับประวัติหรือตำนานของเจ้าแม่กวนอิม มีความเชื่อวา เจ้าแม่กวนอิม คือ พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์แห่งแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นหนึ่งในพระมหาโพธิสัตว์ 4 พระองค์อันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนานิกายมหายาน และเกี่ยวข้องกับตำนานพื้นบ้านเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน 2) ความเชื่อที่เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเจ้าแม่กวนอิมเป็นพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแห่งความเมตตากรุณา สามารถช่วยเหลือผู้เดือดร้อนให้พ้นทุกข์ บันดาลความเป็นความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ศรัทธา ช่วยให้เกิดโชคลาภ เมตตามหานิยม รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และแคล้วคลาด ช่วยประทานบุตร 3) ผู้ศรัทธามีความเชื่อถือเกี่ยวกับข้อห้ามและข้อพึงปฏิบัติ ส่วนพิธีกรรมต่างๆ ที่ศึกษาตามขอบเขตของงานนี้ คือ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) มูลนิธิเทียนฟ้าและวัชรโพธิสถานมงคลธัญ จำแนกได้ 2 ประเด็น คือ 1) พิธีกรรมเกี่ยวกับประวัติและตำนานของเจ้าแม่กวนอิม (วันอาเนี้ยแซ) ซึ่งใน 1 ปี จะมีอยู่ 3 วันด้วยกัน คือ วันคล้ายวันประสูติของเจ้าแม่กวนอิม วันคล้ายวันสำเร็จมรรคผล และวันคล้ายวันออกบวช 2) พิธีกรรมตามเทศกาลจีน คือเทศกาลตรุษจีน ไหว้พระจันทร์ กินเจ ส่วนบทบาทของเจ้าแม่กวนอิม ด้านพิธีกรรมและความเชื่อจำแนกได้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทต่อปัจเจกบุคคลหรือผู้ศรัทธาต่อเจ้าแม่กวนอิม โดยเฉพาะบทบาทต่อสุขภาพ จิตใจ การปรับพฤติกรรม และความรู้เรื่องธรรมะมหายาน 2) บทบาทด้านเศรษฐกิจ มีบทบาทด้านการค้าขายและการท่องเที่ยว 3) บทบาทด้านสังคม การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และการเป็นศูนย์รวมใจ สร้างความสามัคคี 4) บทบาทด้านวัฒนธรรม มีบทบาทในการสืบทดอเผยแพร่วัฒนธรรมจีน และในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนไทย คนจีน
This research has two main objectives, which were 1) to study the belief and rited relating to Guangyin Goddess of Thai-Chinese people in Yaowarach area, and 2) to analyze roles of the beliefs and rites relating to Guangyin Goddess to Thai Society, particularly in Yaowarach area. The study was a qualitative research focusing on interviewing participants with the shrine of Guangyin Goddess, including worshippers and rites performers. Forty informants were specifically selected. The findings, discussion and suggestions were reported as a descriptive analysis. The study found three Guanyin Goddess-related beliefs, which were: 1) Myth of the giddess - it was believed that Guanyin Goddess was the gracious incarmation of the Bodhisattva Avalokitesvara, one of the four great Bodhisattvas according to Mahayana sect of Buddhism, and also related to the folktale of Princess Meaw-san 2) Holiness of the goddess - it was believed the Bodhisattva Avalokitesvara presided of benevolence, which included saving the sufferers; blessing prosperities; bestowing luck, charm, healing, safety, and the birth of baby. And 3) prohibitions and practices dealing with the Guanyin Goddess. For the rites relating to the goddess, according to three areas of study which were Wat Mongkorngamalawas (Leng-nei-yee Temple); Tianfa Foundation; and Wacharabodhisatan Mongkoltan, two major rites were found. 1) Myth of the goddess-related rites, o n three memorial days yearlt, including the goddess' birthday; the enlighten day of the goddess; and the ordination day of the goddess. And 2) Chinese festivals-ralated rites, on Chinese New Year Day; the Full Moon Worship Day; and the Vegetarian Festival. Regarding to roles of the Guanyin Goddess relating to rites and beliefs, four aspects were observed including 1) the role on individuals or worshipers of Guanyin Goddess, dealing with the physical and the mental, behaviors, and knowledge of Mahayana Dharma. 2) The economic role, particularly on commerce and tourism. 3) The social role, including the ethical promotion and the central call for unity. And 4) the cultural role of spreading the Chinese culture and promoting the Thai-Chinese relationships.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/483
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
JING-KAIYANG.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.