Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/484
Title: การศึกษาเปรียบเทียบคำสแลงในภาษาไทยและภาษาจีน
Other Titles: A Comparative Study of Slang Words in Thai and Chinese Languages.
Authors: นริศ วศินานนท์
Naris Wasinanon
何福祥
Juncai, Li
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Keywords: คำแสลง
ภาษาไทย -- ภาษาตลาด
Thai language -- Slang
Chinese language -- Slang
ภาษาจีน -- ภาษาตลาด
Issue Date: 2013
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสร้าง ลักษณะการใช้คำสแลง และปัจจัยที่ทำให้เกิดคำสแลงในภาษาไทยและภาษาจีน โดยรวบรวมคำสแลงไทย 247 คำนิตยสารไทย a day และคำสแลงจีน 208 คำจากนิตยสารจีน "Youth Literary Digest-Kuaidian" ช่วงเดือนมิถุนายน 2554-พฤษภาษคม 2555 ผลการวิจัยพบว่า 1. ชนิดของคำสแลงในภาษาไทยและภาษาจีนมี 6 ชนิด ได้แก่ คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม คำอุทาน และวลีหรืออนุประโยค คำสแลงไทยส่วนมากเป็นคำกริยาและคำวิเศษณ์ ส่วนคำสแลงจีนส่วนมากเป็นคำนามและคำวิเศษณ์ 2. วิธีการสร้างคำสแลงในภาษาไทยและภาษาจีนต่างก็เน้นการเปลี่ยนแปลงคำที่มีอยู่และมีวิธีการสร้างที่คล้ายคลึงกัน 9 วิธี ได้แก่ การขยายความหมายจากเดิม การย่อคำ การสร้างเป็นตัวเลข การพ้องเสียง การเกิดใหม่ การประสมคำใหม่ การยืมภาษาต่างประเทศ การยืมภาษาถิ่น การเลียนแบบ ส่วนวิธีการสร้างคำที่แตกต่างกันคือ วิธีการสร้างคำสแลงไทยมีความหลากหลาายมากกว่า ซึ่งวิธีการสร้างคำสแลงไทยมีอีก 5 วิธี ได้แก่ การซ้ำคำ การตัดคำ การเติมสร้อย การผวนคำ การสร้างคำพังเพย และวิธีการสร้างคำสแลงจีนอีก 1 วิธี คือ การสร้างคำเป็นภาษาอังกฤษ 3. ลักษณะการใช้คำสแลงในภาษาไทยและภาษาจีน ได้พบว่า คำสแลงในสองภาษานั้น ส่วนมากใช้สื่อความหมายโดยนัยและใช้สื่ออารมณ์ โดยเฉพาะใช้สื่ออารมณ์เชิงนิเสธเป็นเหลัก แต่ก็มีบางส่วนที่สื่อความหมายโดยตรงและใช้เฉพาะในการสื่อสาร นอกจากนั้น คำสแลงไทยและคำสแลงจีนยังมีการใช้อุปมาโวหาร อติพจน์ นามนัย บุคลวัต นัยเฉพาะ 4. ปัจจัยร่วมกันที่ทำให้เกิดคำสแลงได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ความต้องการของผู้ใช้ภาษา ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์ และการเผยแพร่ของข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะการเผยแพร่ที่ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนปัจจัยที่แตกต่างกัน คือ ปัจจัยจากตัวภาษา ปัจจัยจากสภาพสังคมและการศึกษา ปัจจัยจากวัฒนธรรมและความเชื่อของผู้ใช้ภาษา
The purpose of this research is to compare study the word formation, usage and the factors of production of slang words in Thai and Chinese languages. The researcher collected 247 Thai slang words from Thai magazine entitled "a day" and 208 Chinese slang words from Chinese magazine entitled "Youth Literary Digest-kuaidian" wrote during June, 2011 to May, 2012. 1) Results reveal that word classes of slang words found include 6 classes: noun, pronoun, verb, adjective and adverb, interjection and phrase or clause. The most of Thai slang words are verbs and the most of Chinese slang words are nouns. 2) The slang words of Thai and Chinese are derived from common words, there are nine similar methods of word formation: meaning-expanding, abbreviation, numeral, homonym, coinages, new words-amalgamating, loan foreign words, loan vernacular words and imitating. Otherwise there are some different word formations between them. There are five methods in Thai slang words: compounding, spoonerism, reduplication,, a two-part allegorial saying and suffix; and the Chinese slang words have one method which is Chinesenglish built. 3) The result of comparative study finds that usage of the two kinds of slang words are strongly emotions expressed and communicated indirectly. Most slang words are oriented to express negative emotion. And there are five same uasges of slang words: metaphor, personification, reference, hyperbole and special indication. 4) The result of comparative study also finds the factors of production of Thai slang words and Chinese slang words, there are same factors of production: events and news in society, needs of language user, effect of globalization, Transmission of news, especially news disseminated through media about new technology. But there are different factors of production: grammar and characteristics of language, status of society and education, culture and beliefs of language user.
本文将通过对泰中青少年流行语在构词、用法和影响其产生的因素方面进行对比研究。 研究者收集了2011年6月至2012年5月泰国青少年杂志《一天》中的 247 个流行词和中国青少年杂志 《青年文摘快点》 中的208个流行词进行研究。对比研究结果表明: 一 、泰中青少年流行语包括了名词、动词、副词形容词、人称代词、语气词和词组或短语6类词。泰国青少年流行语中大部分是动词, 而中国青少年流行语中大部分是名词。 二、青少年流行语的构词方面, 泰中青少年流行语大部分由常见词发展而来, 共有9种相同的构词法即: 扩展词义、缩词、数字、谐音、生造词、组合词、借外来词、借用地方方言和仿造词。不同的是: 泰国青少年流行语中还产生了5种新的构词法即: 复词、切词、加后缀、首音互置和新歇后语。而中国青少年流行语构词中还多了生造外来词。 三、青少年流行语的用法方面: 从整体上来看, 泰中青少年流行语侧重于间接表达词意和表达情绪。而其中以表达消极情绪为主。此外, 还有少部分青少年流行语用于直接表达词意和日常交流。具体而言, 秦中青少年流行语的都运用了比喻、夸张、借代 、特指、拟人等修辞手法。 四、影响泰中青少年流行语产生因素方面,其共同因素包括: 社会中发生的事件和新闻、经济全球化的影响, 青少年的心理需求和各种信息的传播, 特别是信息在各种现代化高新科技媒体下的传播。而区别在于: 泰中语言在构词和语法方面的差异、泰中社会状况和教育状况, 以及语言使用者在文化和宗教信仰方面的差异。
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/484
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf181.88 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf166.37 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf187.09 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf289.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf392.64 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf385.13 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf149.05 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf968.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.