Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/499
Title: บทบาททางสังคม ด้านศาสนา และวัฒนธรรมจีนของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พ.ศ. 2543-2557
Other Titles: The Social Role in Chinese Religion and Cultrue of Poh Teck Tung Foundation between 2000-2014
Authors: แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย
Zhang, Xiaojing
Keywords: มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
Poh Teck Tung Foundation
บทบาททางสังคม
Social role
องค์การและสถาบันการกุศล
Issue Date: 2014
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาพิธีกรรม ที่สำคัญตามเทศกาลของชาวจีน ตลอดจนวิเคราะห์บทบาททางสังคมด้านศาสนาและวัฒนธรรมจีนของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์บทบาททางสังคมด้านศาสนาและวัฒนธรรมจีนของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องในพิธีกรรมและผู้เข้าร่วมงานพิธีกรรม โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 36 คน รวมทั้งสังเกตการณ์ การศึกษา ข้อมูลเอกสาร และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา วิเคราะห์ จากผลการวิจัย พบว่า มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเป็นศูนย์รวมของการจัดเทศกาลงานบุยประจำปีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสังคมไทยและยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน โดยเฉพาะกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน พิธีกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในศาลเจ้าไต้ฮงกง ในมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีลักษณะการจัดพิธีกรรมเรียกว่าซานเจี้ยว ทั้งยังมีแนวปฏิบัติร่วมกันคือความสุขใจในการทำกุศลอีกด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไป พิธีกรรมตามเทศกาลเหล่านี้ได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของชาวไทย และช่วยเพิ่มสีสันให้สังคมไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าพิธีกรรมตามเทศกาลของชาวจีนของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งนั้นมีบทบาทเป็นอย่างมากในสังคมไทย ทั้งในด้านแนวคิด คุณธรรมและการปฏิบัติ การมีบทบาทต่อสังคมไทยที่เห็นชัดเจนคือเงินทุนที่ได้จากการบริจาคในเทศกาลหรืองานทำบุญต่างๆ ผ่านศาลเจ้าไต้ฮงกง จัดได้ว่าเป็นทุนที่มาจากทุกสารทิศ นอกเหลือจากบทบาทในการผ่อนคลายความทุกข์หรือการเข้ามารวมกลุ่มจากงานพิธีกรรมต่างๆ
The purpose of this studied is to study Chinese dominant festival ritual and analyzed the social role in religion and culture of Poh Teck Tung Foundation. The interviews were used as an instrument in this qualitative study and used for collecting data from ritualism and audience including obdervation. The data was conducted in descriptive analysis. The results of the research found that Poh Teck Tung Foundation was the center of popular annual festivals that were widelt practiced especially Thai Chinese people. There were the ways of Chinese culture clearly that involved the philosophy of Buddhism, Tao and Confucianism. The main purpose was happiness on doing good things. As the time went by, these rituals were adapted, adjusted to be relevant with Thai's way. It fulfilled Thai society with various cultures. Chinese festival rituals of Poh Teck Tung Foundation were highly affected to current Thai society in thought, moral and practice.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/499
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf545.25 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf53.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf129.57 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf173.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf9.38 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf253.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf99.72 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf69.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.