Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/500
Title: วิถีชีวิตคนไทยเชื้อสายจีนยูนนาน บ้านเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Lifestyle of Thai-Chinese Yunnan People in Ban Therd Thai, Tambol Therd Thai, Amphur Mea Fah Luang, Chiangrai Province
Authors: อิมธิรา อ่อนคำ
Zhang, Wen
Keywords: ชาวจีน -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Chinese -- Thailand -- Social life and customs
ยูนนาน (เชียงราย) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Yunnan (Chaingrai) -- Social life and customs
บ้านเทอดไทย (เชียงราย)
Ban Therd Thai (Chaingrai)
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและวิเคราะห์บทบาทของคนไทยเชื้อสายจีนยูนนาน บ้านเทอดไทย ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับคนไทยเชื้อสายจีนยูนนาน จำนวน 30 คน ทั้งศึกษาจากเอกสาร การสังเกตการณ์ และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยแบบพรรณานาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า วิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนยูนนานที่บ้านเทอดไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ด้านวิถีชีวิต คนไทยเชื้อสายจีนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีวิถีชีวิตตามแบบบรรพบุรุษของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย การแต่งกาย อาหารการกิจ ภาษา การนับถือศาสนา การประกอบอาชีพ และการศึกษา แต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามสังคมไทย 2) ด้านประเพณี แบ่งออกเป็นสองประเด็น คือ ประเพณีชีวิต ได้แก่ ประเพณีการเกิดและการตั้งชื่อ การฉลองอายุเด็กครบ 1 ขวบ การฉลองอายุครบ 60 ปี และประเพณีงานศพ คือ วันตรุษจีน วันเช็งเม้ง วันไหว้บ๊ะจ่าง และวันไหว้พระจันทร์ ปัจจุบันชาวจีนกลุ่มนี้ยังคงสืบทอดประเพณีปัจจุบัน 3) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนมี 4 ด้าน คือ นโยบายภาครัฐ การศึกษา การแต่งงานและการย้ายถิ่น และการประกอบอาชีพ ในด้านของบทบาทแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ด้านสังคม คนจีนยูนนานที่อพยพมายังบ้านเทอดไทยได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนให้กับลูกหลานของตนเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่ดี อีกทั้งยังช่วยสร้างบุคลากร อาชีพครูสอนภาษาจีน มัคคุเทศก์ และล่ามแปลภาษาให้แก่สังคมไทย 2) ด้านเศรษฐกิจ คนไทยเชื้อสายจีนยูนนาน มีการปลูกชาและส่งออกชาจีนไปยังในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้ชาวบ้านได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าในอดีต และในพื้นที่เทอดไทยแห่งนี้ ยังได้มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และยังสามารถส่งเสริมรายได้แก่ชุมชน 3) ด้านวัฒนธรรม ลูกหลานของคนไทยเชื้อสายจีนยูนนานกลุ่มนี้ยังคงสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมจีนดั้งเดิมไว้อย่างเข้มแข็งจนถึงปัจจุบัน
The research aimed to study the lifestyle and roles of Thai-Chinese Yunnan people in Ban Therd Thai, Tambol Therd Thai, Amphur Mae Fah Luang, Chaingrai Province. The field study was conducted by using in-depth interviews with 30 Thai-Chinese Yunnan people. Also, the data from documents were studied and presented in the form of descriptive purpose. The results showed that the lifestyle of Thai-Chinese Yunnan people in Ban Therd Thai can be divided into 1) To clarify, most of the group of Thai-Chinese still maintain the original lifestyle of their ancestors either living, dressing, eating, language, religion, occupation and education. However, their way of life has changed with the development of Thai society. 2) Custom, it can be divided into two aspects, that is lifestyle customs, including birth and naming customs, celebrating the one full year birthdat, celebrating the 60th birth day and funeral affairs. Next, social custom including Chinese New Year, Qingming Festival, Dragon Boat Festival and Mid-Autumn Festival 3) The 4 factors merging Thai-Chinese Yunnan people with Thai society including government policy, education, marriage and chane of residence careers and culture and the last factor was tradition. The roles of Thai-Chinese Yunnan people in Ban Thers Thai on Thai society can be divided into three areas. 1) Social; Thai-Chinese Yunnan people build schools for future generations; They also train chinese language teachers, guides and interpreters for Thai society 2) Trading; They grow tea and export it in the domestic and abroad. So, promote villagers to have a better quality of life. And it has also been developed into a historical tourist attraction 3) Culture: Nowaday, they are still inheriting and spreading the original Chinese culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/500
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ZHANG-WEN.pdf15.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.