Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/504
Title: การศึกษาเปรียบเทียบนิทานพื้นบ้านภาคเหนือของไทยกับนิทานพื้นบ้านชนเผ่าจ้วงของจีน
Other Titles: A Comparative Study of Thai Northern Folk Tales and Chinese Zhuangzu Folk Tales
Authors: นริศ วศินานนท์
Naris Wasinanon
陈明利
Zhao, Peng
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Keywords: นิทานพื้นเมือง -- ไทย (ภาคเหนือ)
Folk literature -- Thailand, Northern
นิทานพื้นเมือง -- จีน
Folk literature -- China
วรรณคดีเปรียบเทียบ -- ไทยกับจีน
Comparative literature -- Thai and Chinese
จ้วง -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Zhuangzu -- Social life and customs
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
民间故事 -- 泰国(北部)
比较文学
壮族 -- 社会生活和习俗
内容分析
民间故事 -- 中国
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบองค์ประกอบและภาพสะท้อนสังคมของนิทานพื้นบ้านภาคเหนือของไทยกับนิทานพื้นบ้านชนเผ่าจ้วงของจีนที่ตีพิมพ์เผยแพร่ชาติละ 50 เรื่องรวมเป็นจำนวน 100 เรื่อง และนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ มีผลการวิจัยดังนี้ องค์ประกอบมีความแตกต่างกัน ได้แก่ 1) แก่นเรื่อง นิทานพื้นบ้านภาคเหนือบางเรื่องมีแก่นเรื่อง คติและข้อคิดเกี่ยวกับพุทธศาสนา นิทานพื้นบ้านชนเผ่าจ้วงไม่ได้เน้นคติและข้อคิดเกี่ยวกับพุทธศาสนา แต่เน้นการยกย่องกลุ่มคนจนที่มีความกล้าหาญต่อสู้กับกลุ่มผู้ร้าย 2) โครงเรื่องนิทานพื้นบ้านภาคเหนือเปิดเรื่องโดยให้คติและข้อคิดแล้วจึงดำเนินเรื่อง ส่วนนิทานพื้นบ้านชนเผ่าจ้วงกล่าวถึงคุณลักษณะและสภาพฐานะของตัวละคร 3) ตัวละคร นิทานพื้นบ้านภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นมนุษย์ธรรมดา ส่วนนิทานพื้นบ้านชนเผ่าจ้วงส่วนใหญ่เป็นตัวละครที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ 4) ฉากในจินตนาการของนิทานพื้นบ้านชนเผ่าจ้วงมีมากกว่าฉากในจินตนาการของนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ องค์ประกอบมีความคล้ายคลึงกัน คือ 1) แก่นเรื่อง กล่าวถึงคุณค่าของจริยธรรมและผลแห่งกรรม ทำดีย่อมได้ดี และทำชั่วย่อมได้ชั่ว รวมถึงมุ่งสอนพฤติกรรม เพื่อให้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปรกติสุข 2) โครงเรื่อง การเปิดเรื่องมักจะมีคำว่า ในอดีตกาล เมื่อครั้งอดีต นานมาแล้ว จึงกล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และดำเนินเรื่องของความขัดแย้งของเรื่อง รวมกล่าวถึงเหตุบังเอิญ ส่วนทิ้งท้ายการปิดเรื่องชี้ให้เห็นถึงผลแห่งกรรม และสรุปคติข้อคิด 3) ตัวละคร มีทั้งตัวละครฝ่ายดี ตัวละครฝ่ายร้าย และตัวละครฝ่ายสนับสนุนตัวละครฝ่ายดี 4) ฉาก มีทั้งฉากในความเป็นจริงและฉากในจินตนาการ ภาพสะท้อนสังคมที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1) วิถีชีวิต การประกอบอาชีของชนเผ่าจ้วง มีอาชีพปักผ้าแพร ด้านการคมนาคม ยานพาหนะของไทยใช้ช้างช่วยในการทำงาน ส่วนยาพาหนะของชาวบ้านชนเผ่าจ้วงจะมีเกี้ยว ผู้ที่ร่ำรวยและมีฐานะจะใช้เกี้ยวในการเดินทาง 2) ค่านิยม สังคมภาคเหนือของไทยเห็นว่า การกตัญญูต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่มีบุญคุณต่อตนเอง ส่วนสังคมชนเผ่าจ้วงของจีนมีค่านิยมกตัญญูต่อพ่อแม่อย่างเดียว หากเป็นการตอบแทนบุญคุณ สังคมชนเผ่าจ้วง ของจีนจะเรียกว่าเป็นค่านิยมการตอบแทนบุญคุณของผู้ที่มีพระคุณ 3) ความเชื่อ ภาคเหนือของไทยมีความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ส่วนชาวบ้านชนเผ่าจ้วงมีความเชื่อทางพระพุทธศาสนา แล้วยังนับถือเทพเจ้า ได้แก่ นับถือเจ้าแม่กวนอิม เจ้าพ่อกวนอู นางฟ้า และพญามังกร ภาพสะท้อนสังคมที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ 1) วิถีชีวิต ชาวบ้านทั้งสองชาติล้วนประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน อาชีพนายพราน อาชีพตัดฟืนหาของป่า อาชีพค้าขาย อาชีพประมง อาชีพเลี้ยงสัตว์ ด้านการคมนาคม ล้วนได้ใช้ยานพาหนะ ดังนี้ การเดินเท้า วัว ม้า และเรือสำเภา 2) ค่านิยม ล้วนมีค่านิยม ความกตัญญูพ่อแม่ โดยอบรมสั่งสอนปรนนิบัติพ่อแม่เมื่อแก่เฒ่า 3) ความเชื่อ ในนิทานพื้นบ้านทั้งสองชาติ เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม
The purpose of this research is to analyze and compare the compositions of 50 Thai Northern and 50 Chinese Zhuangzu folk tales, 100 fables in total. This research found that compositions of Thai Northern and Chinese Zhuangzu folk tales are both different and similar as following: The difference of the compositions are 1) Theme: some Thai Northern folk tales present the principle of Buddhist and its philosophy, but the Chinese Zhuangzu folk tales focus on praising the poor who arebrave to fight against the villains 2) Plot the introduction of Thai Northern folk tales begins with the principle of Buddhist and its philosophy; on the orther hand, the Chinese Zhuangzu folk tales start with characteristics and statuses of each character. 3) Characters: Most of the characters in Thai Northern folk tales are human-being but on the contrary in Chinese Zhuangzu folk tales are supermatural. 4) Scence: there are lots of imaginary scences in Chinese Zhuangzu folk tales. The similarities of the compositions are: 1) Theme: both Thai Northern and Chinese Zhuangzu folk tales present value of ethics and karma; one does good things will get good return and one who does bad deeds will get bad return. Also, their themes teach the readers good behaviors in order that they are able to live in the society peacefully. 2) Plot: the introduction of both national folk tales mostly starts with "once upon a time, in the past, while age, etc", followed by villagers' folk lives. In addition, both Thai Northern and Chinese Zhuangzu folk tales present the conflict of the story. Both national folk tales are about the incidental events. The conclusion part comes to moral thoughts 3) Characters: both Thai Northern and Chinese Zhuangzu folk tales are comprised of good, bad, and supporting characters. 4) Scence: Both national folk tales have realistic and imaginary scences in the stories. The differences of their social reflections are: 1) Lifestyle: About the occupation, the Chinese Zhuangzu people are embroidery sewers. Regarding transportation, Thai Northern people society, they pay respect to their parents, teachers, and the people whom do a good turn. But in the Chinese Zhuangzu society, they pay respect to parents only. In order to return the favor in the Chinese Zhuangzu society, it is called "the value of return the goodwill to grateful ones". 3) Belief, the belief of Thai Northern society is in line with Buddhism, such as, karma, the result of merit making, rebirth. The Chinese Zhuangzu people also believe in Buddha, and in Gods, such as Guan Yin Goddness, Guan Yu Godfather, fairies and and dragons. The similarities of their social reflections are: 1) Lifestyle; the occupations of two nations are farmers, hunters, wood gatherers, merchants, fishermen, and herdsmen. For transportation, both nation people travel by feet, cow, horse, and barque. 2) Value; the folk tales of both nations focus on the value of gratitude, both nations people teach their descendants giving the gratitude to their parents and taking care of them when they are old. 3) Belief; the belief in both national folk tales is the belief in Buddhist principle as belief on karma.
本文通过对泰国北部民间故事和中国壮族民间故事的结构和社会反映进行比较研究。研究范围为选取泰国北部和中国壮族发行出版的民间故事选集中的100 篇寓言故事,其中,泰国北部寓言故事 50 篇,中国壮族寓言故事 50 篇。研究发现:泰国北部民间故事和中国壮族民间故事的结构和社会反映有相似点和不同点。如下: 民间故事结构方面的不同点:1)主题:一部分泰国民间故事的主题涉及佛教的思想和启示,中国壮族民间故事没有强调佛教思想,但着重于称颂穷苦人民勇于和地主阶级斗争的主题。2) 情节:泰国北部民间故事以给予思考和启示为故事开端,然后再叙述故事。但中国壮族民间故事以描述人物的概况为故事开端。3) 人物:泰国民间故事的人物多为凡人,而中国壮族民间故事中有大量的神仙人物出现。4) 背景:中国壮族民间故事中的奇幻场景多于泰国北部民间故事的奇幻场景。 民间故事结构方面的相似点:1) 主题:两国的民间故事主题都涉及到德行的价值和因果报应的思想,即善有善报,恶有恶报。除此以外,两国民间故事的主题都志在教育人们有良好的行为规范,才能幸福的生活。2) 情节:两国民间故事常用:从前、很久很久以前、古时候、以前等词语为故事的开端,然后再叙述故事的发展。在故事的情节上,两国民间故事都叙述了故事中的矛盾。两国民间故事还描写了奇幻的场景。在故事的结尾方面:两国民间故事都叙述了人物的因果报应,给予读者思考与启示。3) 人物:两国民间故事中的人物都分为:正面人物、反面人物以及配角。4)背景:两国民间故事的背景都有现实场景和奇幻场景。 民间故事中社会反映的不同点:1)生活方式:职业方面,织壮锦是中国壮族人民的特有职业。交通方面,泰国北部人民用大象来帮助劳作,而中国壮族人民中的官宦和富有阶层用轿子作为出行的交通工具。2)价值观:泰国北部人民认为孝顺的含义应当是孝顺父母、师长和自己的恩人。然而,中国壮族人民认为孝顺的含义只是孝顺父母,至于报恩,中国壮族人民则把报答恩情归为报恩的社会价值观。3)信仰:泰国北部人民的信仰都源于佛教,中国壮族人民除了信仰佛教以外,还有笃信神灵,即:观音菩萨、关公、仙女、龙王。 民间故事中社会反映的相似点:1)生活方式:职业方面,两国人民都从事农业、狩猎、砍柴收山货、商业、渔业、饲养家禽 6 种职业。交通方面,两国人民使用的交通工具有步行、牛、马、船。2)社会价值观:两国的民间故事都叙述了社会称颂的积极价值观,即孝顺,两国人民都教育子女要孝顺父母,在父母年迈时应当尽心服侍父母。3)信仰:两国民间故事中的信仰都反映出佛家思想,即:因果报应。
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/504
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ZHAO-PENG.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.