Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/520
Title: | ลักษณะการใช้ภาษาของชื่อร้านค้าย่านเยาวราช |
Other Titles: | Language Usage of Commercial Names of Business in Yaowarat Area |
Authors: | ธิดา โมสิกรัตน์ Thida Mosikarat Ning, Jingsi Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | ร้านค้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ การตั้งชื่อ -- จีน ชื่อการค้า Business names ภาษาจีน -- การใช้ภาษา Chinese language -- Usage เยาวราช (กรุงเทพฯ) Yaowarat (Bangkok) |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ภาษาในการตั้งชื่อร้านค้า และเพื่อวิเคราะห์ความหมายของชื่อร้านค้าในย่านเยาวราช โดยวิเคราะห์ชื่อร้านค้าย่านเยาวราช 102 ร้าน เลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อสัมภาษณ์ เป็นเจ้าของหรือพนักงานเลือกแบบบังเอิญ เป็นร้านค้าประเภทละ 1 ใน 3 จำนวน 29 คน นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของการใช้ภาษาตั้้งชื่อร้านมี 2 ลักษณะ คือ 1) ตั้งชื่อร้านค้าด้วยภาษาไทย หรือภาษาจีน หรือภาษาอังกฤษ และ 2) ชื่อร้านค้าใช้ภาษาอังกฤษที่ถอดเสียงจากภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ หรือเป็นชื่อภาษาอังกฤษที่ถอดเสียงจากภาษาไทยหรือภาษาจีน ซึ่งใน 102 ร้านนี้มีร้านค้าที่ตั้งชื่อด้วยภาษาเดียว 10 ร้าน คือ ภาษาไทยหรือภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ สองภาษา 41 ร้าน คือ ภาษาไทยกับภาษาจีน และภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ สามภาษา 51 ร้าน คือ ภาษาไทย ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า เหตุผลสำคัญของการเลือกใช้ภาษาตั้งชื่อร้านคือ 1) เพื่ออ่านและเรียกชื่อได้ถูกต้อง 2) เพื่อบอกลักษณะหรือประเภทสินค้าที่จำหน่าย 3) เพื่อความสะดวกในการสื่อสาร และ 4) เพื่อความทันสมัยหรือสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม ในด้านการใช้คำ พบว่า ชื่อร้านค้าที่ใช้คำอย่างเดียวมี 54 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 54.6 และใช้คำที่มีความหมายหลายอย่างมี 45 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 45.4 การกำหนดความหมายของชื่อร้านในย่านเยาวราช มี 4 ประการ 1) การตั้งชื่อด้วยความหมายที่แสดงคุณสมบัติของสินค้าตามค่านิยมของลูกค้าในย่านเยาวราช 2) การตั้งชื่อตามความหมายที่แสดงคุณธรรมของเจ้าของร้าน 3) การตั้งชื่อด้วยความหมายของความเป็นมงคลตามความเชื่อของเจ้าของร้าน 4) การตั้งชื่อตามประวัติความเป็นมาที่มีความหมายว่ามีความสามัคคีในการทำธุรกิจของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน This research aimes to study the language usage of commercial names of business in Yaowarat area, and analyze the meanings of names studied. 102 names of businesses were analyzed. 29 informants which were a one-third of the seven types of studied business, either the owners of staff which were random selected, were interviewed. The findings were reported as a descriptive analysis. The research found that two types of language usage of commercial names of business were used, which were 1) using a single language of Thai, or Chinese, or English, which there were 10 shops; and 2) using two of three languages, which were Thai and/or Chinese and and/or English. Forty-one shops used two languages, and fifty-one shops used three languages. From interviewing, four reasons of using any languages as the business title were given: 1) the name was correctly called; 2) the name identified goods of the businesses; 3) the name was easily conveyed; and 4) the name relected modernity or social values. Relating to meanings of names studied, fifty-four shops used single-meaning names, which was 54.6% of all. Forty-five shops used plural-meaning names, which was 45.4% of all. Four preferable meanings mostly chosen were: 1) the meaning that reflected the desired quality of goods of customers; 2) the meaning that showed moral of the business owners; 3) the meaning that showed beliefs of fortune of the business owners; and 4) the meaning that presented history of unified businesses of Thai-Chinese families. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/520 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NING-JINGSI.pdf Restricted Access | 10.96 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.