Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/532
Title: วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นของคนไทยในรายการโทรทัศน์ "ภัตตาคารบ้านทุ่ง" พ.ศ. 2561
Other Titles: Culture of Local Food in "Bantung Restaurant" Television Programs in 2018
Authors: ธิดา โมสิกรัตน์
Thida Mosikarat
Xu, Zhilan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: ภัตตาคารบ้านทุ่ง (รายการโทรทัศน์)
รายการโทรทัศน์ -- ไทย
อาหารท้องถิ่น -- ไทย
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
อาหารไทย
Thai food
Television Programs -- Thailand
Bantung Restaurant (Televison programs)
Local food -- Thailand
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริโภคอาหารท้องถิ่นและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นของคนไทยในรายการโทรทัศน์ "ภัตตาคารบ้านทุ่ง" พ.ศ. 2561 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 50 ตอนและรายงานผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า รายการโทรทัศน์ "ภัตตาคารบ้านทุ่ง" นำ เสนอเรื่องกระบวนการบริโภคอาหารและวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น 4 ภูมิภาค มีกระบวนการบริโภคอาหาร 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการผลิตอาหาร ซึ่งนำเสนอแหล่งที่มาของวัตถุดิบอาหาร สะท้อนถึงประเภท การจัดหาวัตถุดิบอาหาร และแนวคิดการพัฒนาและอนุรักษ์แหล่งวัตถุดิบอาหารท้องถิ่น 2) ขั้นตอนการปรุงอาหาร สะท้อนถึงประเภทของอาหาร สถานที่ปรุงอาหาร การจัดเตรียมวัตถุดิบและเครื่องปรุง วิธีการปรุงอาหาร และคุณค่าของอาหารท้องถิ่น 3) ขั้นตอนการบริโภคอาหารท้องถิ่น สะท้อนถึงพฤติกรรมของคนไทยในท้องถิ่นในการบริโภคอาหารตามบรรพบุรุษ ประเพณี ความเชื่อ และการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ด้านวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น พบว่าอาหารท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม แนวคิดการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ แสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร และการดำรงชีวิตที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและในชุมชน การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย สะท้อนความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องการปรุงอาหารและบริโภคอาหารท้องถิ่นในประเพณีสงกรานต์ ทำให้เห็นความสามัคคี ความมีน้ำใจ ความขยันหมั่นเพียร ภูมิปัญญาการถนอมอาหาร การใช้ภาษาถิ่นและสำนวนภาษา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยแต่ละภูมิภาค
This research aimed to analyze processes of local food consumption and Thai culture of local food through Bantung Restaurant, a television program broadcasted in 2018 on the Thai PBS television channel. Fifty episodes of the program were analyzed. Research findings were reported as a descriptive analysis. It was found that the Bantung Restaurant program had presented processes of food consumptiom and Thai culture of local food of all four regions in Thailand. There were three steps of processes of food consumption, including 1) step of food supply-sources, types and how to acquire raw materiald were tracked; idead of developing and conserving sources of raw materials were also presented. 2) Step of cooking-types of dished; cooking places; preparation of raw materials and ingredients; how to cook; and values of the local food were shown. And 3) Step of food consumption-reasons to dine, including family's wont, tradition, beliefs, and health were portrayed. Findings regrading to Thai culture of local food could be summarized as the following. The local food in each region associated with its environment, ideas of living and carries of people. This showed the ways of living of local people that mainly depended on the nature as their sources of food. Also, it was noted that relationships of members in families and communities were closed. The main carries of people were agriculture and commerce. Beliefs in spirits of ancestors, in cooking and food consumption in Songkran festival reflected the unity; compassion; diligence; wisdoms of food preservatiom; and usage of local dialects and idioms, which these were identities of Thai people in each region.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/532
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
XU-ZHILAN.pdf
  Restricted Access
2.4 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.