Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/550
Title: 泰华作家方明文学创作论
Other Titles: บทวิเคราะห์ผลงานการเขียนวรรณกรรมของฟางหมิง นักเขียนชาวไทยเชื้อสายจีน
The Analysis of Literary Creation of Thai Overseas Chinese Writer Fangming
Authors: 倪金华
Ni, Jinhua
刘艳鸿
ชัญญา วินัยสวัสดิ์
Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies
Keywords: ฟางหมิง -- การวิจารณ์และการตีความ
Fangming -- Criticism and interpretation
นักประพันธ์ -- จีน
Authors, Chinese
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
ชาวจีน -- ไทย
Chinese -- Thailand
作家 -- 中国
内容分析
方明
Issue Date: 2015
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: นักเขียนชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นกลุ่มนักสร้างสรรค์วรรณกรรมที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวในสังคมไทย หนึ่งในนั้นมีท่านหนึ่งนามว่า ฟางหมิง ถือได้ว่าเป็นนักเขียนวรรณกรรมจีนที่มีอัตลักษณ์เด่นชัดประจำกลุ่ม กล่าวคือ ท่านมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับวัฒนธรรมจีนและสร้างสรรค์งานวรรณกรรมผ่านทางภาษาจีนด้วยความรักที่มีอย่างเต็มเปี่ยม ท่านมองทุกอย่างผ่านสายตามอันลึกซึ้งแหลมคมและได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตโดยไม่บิดเบือนความเป็นจริงแม้แต่น้อย ทว่า สิ่งที่ท่านสื่อสารออกมานั้น กลับเป็นนวนิยายที่เปี่ยมทั้งอรรถรสและเนื้อหา สอดคล้องกับชีวิตจริงของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยอย่างแนบแน่น ทั้งนี้ก็ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่และตั้งปณิธานที่จะทำหน้าที่ของนักเขียนวรรณกรรมจีนเพื่อสะท้อนความคิดความอ่านและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย วิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกเป็น 3 บท บทแรกมุ่งศึกษาถึงความเป็นมาในผลงานวรรณกรรมของฟางหมิง โดยจำแนกผลงานวรรณกรรมของฟางหมิงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นิยาย ความเรียง และปกิณกะ เนื่องจากเนื้อหาของนิยายอันแฝงไปด้วยคุณค่าชีวิตของฟางหมิงนั้น เป็นหัวใจสำคัญที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้หยิบยกขึ้นมาประกอบการวิเคราะห์ จึงมีการแบ่งย่อยตามกาลเวลาสำหรับการวิเคราะห์ประเภทนิยายออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ นิยายสะท้อนชีวิตที่สอดแทรกคติธรรม อันมีที่มาจากอารมณ์เศร้าสร้อยของนักเขียนในชีวิตวัยหนุ่ม นับเป็นนิยายยุคเริ่มแรกของฟางหมิง ส่วนที่สอง คือ นิยายสะท้อนสังคม อันเกิดจากการเฝ้าดูเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและเกาะติดพัฒนาการทางสังคมของนักเขียนในชีวิตวัยชรา นับเป็นนิยายในยุคหลังของฟางหมิง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เห็นถึงความคิดของฟางหมิงในแต่ละช่วงอายุและความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันระหว่างงานวรรณกรรมกับประสบการณ์ชีวิตจริง บทที่ 2 วิเคราะห์เจาะลึกถึงความคิดและแนวการประพันธ์ของฟางหมิงในด้านต่างๆ อาทิ ลักษณะเด่นในวรรณกรรมของฟางหมิงที่เน้นการแก้ไขปัญหาของสังคมและโลกมนุษย์ ความมุ่งมั่นในการสื่อถึงความงามแห่งชีวิต โดยผ่านงานวรรณกรรมทางภาษาจีนที่สอดแทรกคุณค่าทางจิตใจ อีกทั้งยังศึกษาถึงสิ่งแวดล้อมทางสังคม แหล่งที่มาของแรงบันดาลใจและภูมิหลังทางความคิดความอ่านของนักเขียน ที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักและความผูกพันที่มีต่อทั้งสองแผ่นดิน ก็คือ ประเทศจีน แผ่นดินเกิดของบิดามารดาและบรรพบุรุษ และประเทศไทย แผ่นดินเกิดของตนเอง อีกทั้งหาเลี้ยงชีพอยู่ในทุกวันนี้ บทที่ 3 วิเคราะห์ถึงลักษณะและเทคนิคการเขียนวรรณกรรมของฟางหมิง อาทิเช่น ลักษณะการสร้างมิติให้แก่ตัวละคร การกำหนดจุดยืนของตัวเองและพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ในเรื่อง เทคนิคการสร้างโครงเรื่องรวมทั้งลักษณะเด่นในการใช้ภาษาให้สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกด้วยวิธีการผสมผสานระหว่างหลักภาษาจีนไทยได้อย่างลงตัว
The overseas Chinese writer of Thailand is a group of writers with unique characteristics in literary creation. Among them, Fangming represents a good example of such capability. He has great affection for Chinese culture and literary creation. He sees things around him with his sharp point of view and records every detail of his livelihood. He has also ambraced the idea of reflecting the culture of homeland by presenting bits and pieces of overseas Chinese living in Thailand through his literary works of superb writing skills with a view to allow the later generations to know the background of once the Thai overseas Chinese writers have experienced, the survival surrounding they have faced as well as to understand the spiritual style of the local people who have provided the best witness of literary works. This thesis consists of three parts. First part has classified Fangming literary works into three categories, namely novels, proses and essays. It has followed Fangming's livelihood and inspected his writing style developments and changes, the significant point of which is to analyze his realism style of writing expressing literary works on resentful lives of human beings. Then following the time sequence, this thesis analysed his exceptional writing skill in his early period novels as against his late period novels when he was well established. In the meantime, it studied a large number of the writer's self evaluation. It touched on the capability of the writer's criticism, searching for the harmony of a qualified person and a good piece of writing, as well as blending the Thai and Chinese culture and knowledge in literary works. Moreover, it enjoyed the writing skill of Fangmong's viewpoints and analysed the characters inside Fangming's novels in detail and the ways he described stories and emotions.
泰华作家是一个特殊的文学创作群体。方明是其中较具代表性的一位。他热爱中华文化与文学创作;他透过敏锐的视角观察周围世界;他如实记录生活中的点点滴滴;他还抱定反映本土文化的思想观念,将华裔在泰国社会生活的方方面面,通过文学作品加以艺术性体现,为后人管窥一代泰华作家所处的时代背景、生存境遇乃至了解当地华裔的人文精神风貌提供了最好的文字见证。 本论文共分三章,第一章按照方明文学创作的类别,归纳为小说、散文和杂文三节。因小说是本论文的核心论述内容,故依循时间顺序进一步细分为两小部分,即:笔调忧伤富有警世意义的早期小说与立足本土紧扣时代脉搏的晚期小说。以顺沿方明的人生轨迹观察其思想与创作风格的发展与演变。第二章通过文本细读及大量的作家自述,力求探讨方明在彰显文学的现实批判功能、追求人品与文品的审美统一、中泰文化的认知与交融等等方面之文学思想内容。 第三章尝试从方明文学创作艺术特征的角度,细致分析方明小说中立意深刻的人物形象塑造、匠心独具的叙事角度与情节、别开生面的意象选择和创造雅俗共赏的文学语言运用等内容。
Description: Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2015
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/550
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
CHANYA-Winaiswat.pdf
  Restricted Access
4.64 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.