Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/605
Title: การวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนของภาณุมาศ ภูมิภาวร
Other Titles: Analysis of Phanumat Bhumithavorn's Young-Adult Fictions
Authors: จันทร์สุดา ไชยประเสริฐ
Huang, Huiqun
Keywords: ภาณุมาศ ภูมิภาวร -- แนวการเขียน
วรรณกรรมสำหรับเด็ก
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
Children literature
Phanumat Bhumithavorn
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนของภาณุมาศ ภูมิถาวรนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งวรรณกรรมเยาวชนของภาณุมาศ ภูมิถาวร และวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนของภาณุมาศ ภูมิถาวร จำนวน 11 เล่ม โดยนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเยาวชนของภาณุมาศ ภูมิถาวร มีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัว วิถีชีวิต ปัญหาเยาวชน และการผจญภัย โดยใช้กลวิธีการแต่ง ได้แก่ การตั้งชื่อเรื่อง มีการตั้งชื่อเรื่องตามตัวละคร ตามสิ่งของสำคัญในเรื่อง ตามสถานที่ และตั้งชื่อแบบวรรณศิลป์ ในการตั้งชื่อบท มีการตั้งชื่อตามเหตุการณ์สำคัญในตอน ตามชื่อบุคคล และตามสิ่งของ การสร้างโครงเรื่องมีการเปิดเรื่องด้วยการบรรยายสภาพชีวิตของตัวละคร การบรรยายเหตุการณ์ของเรื่อง และการบรรยายฉาก การดำเนินเรื่องใช้กลวิธีลำดับเรื่องตามปฏิทินและลำดับเรื่องย้อนกลับ และมีการสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติเป็นหลัก การปิดเรื่องใช้การปิดแบบสุขนาฏกรรม ส่วนการเล่าเรื่องมีการสร้างผู้เขียนเป็นผู้เล่าเรื่องในฐานะรู้แจ้ง และมีการสร้างผู้เล่าเรื่องให้ตัวละครในเรื่องเป็นผู้เล่าเรื่องของตนเอง ด้านตัวละคร มีการสร้างตัวละครเอกและตัวละครรองเป็นเยาวชนที่ดีและสร้างตัวละครรองเป็นผู้ใหญ่ที่ช่วยเหลือเยาวชน และยังมีการสร้างตัวละครปรปักษ์เป็นผู้ใหญ่ที่ทำลายธรรมชาติและก่อเหตุฆาตกรรม การสร้างบทสนทนามีบทสนทนาที่ช่วยดำเนินเรื่อง บอกลักษณะตัวละคร และให้คติและข้อคิด การสร้างฉากเป็นฉากสิ่งก่อสร้างและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และมีแนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นชัดของภาณุมาศ ภูมิถาวร ส่วนด้านภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนของภาณุมาศ ภูมิถาวร พบภาพสะท้อนด้านต่างๆ คือ 1) ด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่ 2) ด้านวัฒนธรรม 3) ด้านค่านิยม 4) ด้านวิถีชีวิตเยาวชน ภาพสะท้อนเหล่านี้สามารถทำให้ผู้อ่านได้เห็นสภาพสังคม และกระตุ้นให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงปัญหาของเยาวชนและหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
The Analysis of Youth Literature by Phanumat Bhumithavorn has the purpose to analyze the literary techniques and reflection of society in eleven youth literatures by Phanumat Bhumithavorn. The research is presented in descriptive analysis. The research found that the youth literature by Phanumat Bhumithavorn has the content about family, lifestyle, youth problem, nature and adventure. Literary techniques: the titles were named from the character's names, the important objects in the stories and the location, and the chapter were name according to the important event in the chapter, the persons or the object in the chapter. In regard to plots, the stories opened with scene narration and describing the characters and actions, opened with telling the important event that developed the stores and opened with the conversation. The story developments were run by chronological order and Flashback. There was the conflict between humans and humans and humans and nature as the main conflicts. The closing was a happy ending and opened-end closing. For the narration, the writer created the character to tell the story as enlightened narrations and created the characters telling their own story. Regarding to characters, the main characters and minor characters were youths and it was also created the Hostile character as adult who destroyed the nature and created crime. There were three types of conversation: conversation developing the story; conversation describing the characters and the conversation providing motto and insights. The scene was created in the place and natural environment. Lastly, there were the concept about the moral and ethics. The concept of environment conservation was the outstanding of Phanumat Bhumithavorn's youth literature. It also found various reflections in youth literatures by Phanumat Bhumithavorn as following 1) In term of the living condition 2) For the culture 3) It also represented value of diligence and gratitude. 4) For the wat of youth's life. These reflections from literatures revealed the condition of the society to the readers and encouraged readers to be aware of youth's problems and to find the solution to thoses problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/605
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HUANG-HUIQUN.pdf10.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.