Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/607
Title: ความเชื่อและพิธีกรรมของศาลเจ้ากวนอูในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาฝั่งธนบุรี
Other Titles: Beliefs and the Rites of Guan Yu Shrine in Bangkok : Case Study of Thonburi Area
Authors: อิมธิรา อ่อนคำ
Imthira Onkam
He, Zhonghuan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: ศาลเจ้ากวนอู -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Guan Yu Shrines -- Thailand -- Bangkok
ความเชื่อ
Belief and doubt
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
Rites and ceremonies
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงและพิธีกรรมของศาลเจ้ากวนอูในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี จำนวน 2 ศาลเจ้า เพื่อวิเคราะห์บทบาทของเทพเจ้าและศาลเจ้ากวนอูที่มีต่อสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตการณ์ และเก็บข้อมูลภาคสนาม ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 40 คน แล้วนำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อต่อเทพเจ้ากวนอูมี 5 ประการ ได้แก่ ความเชื่อด้านสุขภาพ โชคลาภเงินทอง ครอบครัว ความปลอดภัย และความสำเร็จ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันและผู้ที่มีความศรัทธาต่อเทพเจ้ากวนอูนั้น ยังได้เข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ ดังพิธีกรรมในรอบปีของศาลเจ้ากวนอู (ตลาดสมเด็จเจ้าพระยา) มี 4 พิธีกรรม ได้แก่ วันง่วนเซียว วันเกิดของเทพเจ้ากวนอู ทิ้งกระจาด และวันขอบคุณเทพเจ้า พิธีกรรมรอบปีที่จัดในศาลเจ้ากวนอู (ตลาดพลู) มี 6 พิธีกรรม ได้แก่ วันง่วนเซียว งานแห่เจ้าพ่อกวนอู วันเกิดของเทพเจ้ากวนอู ทิ้งกระจาด เทศกาลกินเจและวันเสี่ยซิ้ง ซึ่งเป็นวันขอบคุณเทพเจ้า จากความเชื่อและพิธีกรรมสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของเทพเจ้าและศาลเจ้ากวนอูทั้ง 2 แห่ง คือ บทบาทด้านจิตใจและสังคม ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับผู้ศรัทธา ทำให้ผู้ศรัทธาเกิดความสบายใจ ความมุ่งมั่นและมีกำลังใจในการต่อสู้กับชีวิต โดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมของเทพเจ้ากวนอูในการดำเนินชีวิต บทบาทด้านการตอบแทนช่วยเหลือสังคม เช่น ทิ้งกระจาดแจกข้าวสารให้กับผู้ยากไร้ในสังคม บทบาทด้านเศรษฐกิจผู้คนที่มาสักการะเทพเจ้าที่ศาลเจ้ากวนอูจะช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนเพราะศาลเจ้าทั้งสองแห่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของศาลเจ้าอีกด้วย และบทบาทด้านวัฒนธรรม คือ ศาลเจ้ากวนอูถือเป็นแหล่งที่มีการสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมจีน เพราะชาวบ้านในชุมชนและบริเวณโดยรอบศาลเจ้ารวมถึงผู้ที่มาศรัทธายังคงมีการสืบทอดความเชื่อและพิธีกรรมเหล่านี้ให้คงอยู่ได้ในปัจจุบัน และการมีอยู่ของศาลเจ้าทั้งสองแห่งยังได้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทย-จีน ได้เป็นอย่างดี
This research has the purposes to study the beliefs and rites of two Guan Yu Shrines in Thonburi area, Bangkok and to analyze the role of Gods and Guan Yu Shrine in Thai society. The research was qualitative research by collecting field data and in-depth interviews from 40 people involved and observing and analyzing the data source. The research's result was presented in descriptive analysis. The research discovers that there were five beliefs toward God of Guan Yu: health, fortune, family, safety and success. These beliefs were still presented nowadays and those who believed in Guan Yu also participated in various rites with four annuals rites organized I Guan Yu Shrine (Talat Somdej Chao Phraya market) as Nguan Xiao Rite (Lantern Festival), Guan Yu's birthdat, Feeding the Hungry Ghost festival and Thanksgiving Day. There were six rites organized annually in Guan Yu Shrine (Talat Plu) as Nguan Xiao Rite (Lantern festival), Guan Yu Parade, Guan Yu's birthday, Feeling the Hungry Ghost festival, Vegetarian festival and Thanksgiving Day. The beliefs and rites also reflected two roles of God of Guan Yu and both Guan Yu Shrines. Firstly, mental and social role, this was anchor for the believers where they felt more comfortable, built their confident and more courage to fight against their life with Guan Yu's moral and principle in living. It also reflected the role in social responsibility such as giving way the rice to the needy. For the economy role, the people who visited the Guan Yu Shrine for worship helped making money to people the community because both Guan Yu Shrine were recognized as the important tourist attraction as well as supporting the historical tourism. Lastly, the cultural role, the Guan Yu Shrines were considered as the places to inherit and spread the Chinese culture because the people in the community and place nearby and the believers relayed the beliefs and rites until the present and the existence of both Guan Yu Shrines also represented well the integration of Thai-Chinese culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/607
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HE-ZHONGHUAN.pdf
  Restricted Access
2.72 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.