Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/609
Title: กลวิธีการแต่งและแนวคิดในเรื่องสั้นของ ชมัยภร แสงกระจ่าง
Other Titles: Literary Techniques and Ideas in Chamaiphon Saenkrachang's Short Stories
Authors: ธิดา โมสิกรัตน์
Han, Lingjie
Keywords: ชมัยภร แสงกระจ่าง -- แนวการเขียน
การวิเคราะห์เนื้อหา
Chamaiphon Saengkrajang
Content analysis (Communication)
เรื่องสั้น
Short stories
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งและแนวคิดในเรื่องสั้นของชมัยภร แสงกระจ่าง เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นจำนวน 10 เล่ม มีเรื่องจำนวน 147 เรื่อง และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เรื่องสั้นได้ใช้กลวิธีการแต่ง ได้แก่ 1) การตั้งชื่อเรื่องตามเหตุการณ์สำคัญในเรื่อง ตามบุคคลและสิ่งของ ตามลักษณะของบุคคล 2) การเปิดเรื่องใช้การเปิดเรื่องด้วยการบรรยายฉาก บรรยายลักษณะตัวละคร และบรรยายการกระทำของตัวละคร การเปิดเรื่องด้วยการเล่าเรื่องและบทสนทนา 3) การดำเนินเรื่อง มีการลำดับเรื่องตามปฏิทินและลำดับเรื่องย้อนกลับ ผู้เล่าเรื่อง ใช้ผู้แต่งเป็นผู้เล่าเอง ตัวละครในเรื่องเป็นผู้เล่าและตัวละครใดตัวหนึ่งเป็นผู้เล่า การสร้างความขัดแย้ง สร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร 4) การปิดเรื่อง ปิดเรื่อ่งแบบโศกนาฏกรรม สุขนาฏกรรม และทิ้งปัญหาให้ขบคิด 5) การสร้างตัวละคร ผู้แต่งสร้าง ตัวละครเด็กและเยาวชน ตัวละครผู้ใหญ่ และตัวละครสัตว์ 6) บทสนทนา เป็นบทสนาที่ช่วยดำเนินเรื่อง บอกลักษณะตัวละคร และให้คติข้อคิด 7) ฉากและบรรยากาศ เป็นสถานที่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและเป็นเหตุการณ์ ในด้านแนวคิดพบว่า เรื่องสั้นได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความรัก เป็นความรักของสามีกับภรรยา ความรักของพ่อแม่กับลูก ความรักของญาติผู้ใหญ่กับหลาน และความรักของมนุษย์กับสัตว์ และสะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาของสังคม ปัญหาครอบครัว และปัญหาสถานภาพผู้หญิง ผู้แต่งให้แนวคิดเกีย่วกับคุณธรรมจริยธรรม ในด้านความมีน้ำใจ ความเข้มแข็ง ความกตัญญู ความรับผิดชอบและการประหยัด
This research aimed at analyzing literary techniques and ideas used in Chamaiphon Saengkrajang's 147 short stories from ten books by descriptive analysis method. It has been found from the study that the author's techniques are 1) To name the stories after significant occurrences, objects or characters' personalities 2) To start narrating by describing scenes, characters' personalities, characters' deeds, or by narrations and dialogues 3) To sequence all the occurrences in calendrical order and flashback. About narrators, moreover, the stories are told by author herself or by a character. Conflicts, both between humans and between a human and his/her own mind, are used as narrative techniques, as well. 4) To end stories with sad endings, happy endings or open-ended problems 5) To create youth, adult and animal characters 6) To run dialogues in order to narrate, explain characters' personalities or give considerate thoughts 7) To use scences and atmosphere, which are real places, natural scenes or particular events. About Theme, Chamaiporn's short stories concern on 1) Love: between couples, between parents and children, elder relative and grandchildren, and human and animal 2) Social, family and female status problems 3) Ideas of morality and ethics: generosiy, impregnability, gratitude, responsibility and saving.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/609
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
HAN-LINGJIE.pdf71.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.