Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/611
Title: ตัวละครเมียในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน
Other Titles: The Wife Characters in Novels of Krisana Asokesin
Authors: พัชรินทร์ บูรณะกร
Bi, Hongying
Keywords: กฤษณา อโศกสิน
Krisana Asokesin
ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณกรรม
Characters and characteristics in literature
ตัวละครในนวนิยาย
Fictitious characters
ภรรยา.
‪Wives
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
สตรีในวรรณกรรม
Women in literature
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง ตัวละครเมียในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและพฤติกรรมของตัวละครเมียในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน และเพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับตัวละครเมียในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน โดยวิเคราะห์นวนิยายของกฤษณา อโศกสิน จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ เพลิงบุญ บาดาลใจ เมียหลวง น้ำเซาะทราบ ระบำมาร และลายหงส์ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านลักษณะของตัวละครเมีย พบว่า ตัวละครเมียหลวงส่วนใหญ่จะมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม การแต่งตัวสุภาพเรียบร้อย มีนิสัยที่สังคมชื่นชมและยอมรับ จบการศึกษาระดับสูง ประกอบอาชีพอย่างมั่นคง มีคตินิยมการดำเนินชีวติว่า ความรักสำคัญกว่าเงิน ผู้หญิงสามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่วนตัวละครเมียน้อยจะมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม การแต่งตัวทันสมัย ส่วนใหญ่มีนิสัยที่สังคมไม่ชื่นชม จบการศึกษาระดับปานกลาง ประกอบอาชีพอย่างไม่มั่นคง มีคตินิยมการดำเนินชีวิตว่า เงินสำคัญกว่าความรัก และผู้หญิงต้องอาศัยอยู่กับผู้ชาย ด้านพฤติกรรมของตัวละครเมีย พบว่า ตัวละครเมียหลวงก่อนแต่งงานจะตามใจและเข้าข้างคนรัก เมื่อแต่งงานแล้วจะแบ่งปันความทุกข์สุขกับสามี แต่พอพบสามีนอกใจ ส่วนมากจะยืนยันหย่ากับสามี ส่วนตัวละครเมียน้อยจะมีทั้งคนที่พยายามท้าทายอำนาจของเมียหลวงและคนที่ระมัดระวังพฤติกรรมของตนเอง มโนทัศน์เกี่ยวกับตัวละคนเมียในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน พบว่า ด้านมโนทัศน์เกี่ยวกับบทบาทของเมียหลวง พบว่า คนไทยมีความคิดว่า เมียหลวงมีหน้าที่ปรนนิบัติสามี อบรมสั่งสอนเลี้ยงดูลูก เสียสละเพื่อประโยชน์ของสามี และทำงานช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของสามี ด้านมโนทัศน์เกี่ยวกับเมียน้อย พบว่า คนไทยมีความคิดว่า ผู้หญิงเป็นเมียน้อยมีเจตนาเพื่อเงิน และเมียน้อยเป็นต้นเหตุที่ทำให้สามีนอกใจภรรยา ด้านการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ผู้หญิงที่มีสถานภาพเป็นเมีย พบว่าเมียถูกกีดกันลิดรอนสิทธิ์ในด้านการทำงาน และการคบเพื่อนผู้ชาย ด้วยความไม่ยุติธรรมจึงทำให้ตัวละครเมียต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมว่า ผู้หญิงที่มีสถานภาพเป็นเมียไม่ควรถูกกีดกันสิทธิ์ในด้านการทำงานและการคบเพื่อน
The research of the wife characters in novels of Krisana Asokesin aimed to analyse characteristics and behabiors of wives described in six novels by Krisana Saokesin, including Plen-boon; Ba-dan-jai; Mea-luong; Nam-suo-sai; Ra-bum-marn; and Lai-hong. Concepts about the wife characters were targets of the study. The research found two types of wives, the first and the minor, in novels studied. Most of the first wives were beuatiful; gentle and polite; approved and admired by the public; high educated; and worked stable careers. Their principles for life included: money was less important than love; women were self-reliant; and education generated successes. For the minor wives, they were beautiful and modern; however, mots were not approved or appreciated by the public. Their education was moderate and worked unstable jobs. Principes for their living were: money was more important than love and men were necessary resource for women. Regarding behaviors of the wife characters, it was found thay before the marriage the first wives were considerate and favored their loves; however, after the marriage they would share their happiness and also grief with their wives insisted the divorce. For the minor wives, some tried to challenge the firts wives' patience; however, some took great care of covering their infeior status. Relating to concepts about roles of the first his wife, it was found that Thai people considered that taking care of the husband; raising children; sacrificing for the husband; and sharing duties of the husband were duties of the first wife. For concepts about the minor wives, Thai people thought that those minor wives mainly aimed for money and were the cause of infidelity of the husbands. Regarding rights of the wives, most wives were derived of working or professions and socializing with males. For the fairness between sexes, the wife characters called for freedoms in working and socializing.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/611
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BI-HONGYING.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.