Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/613
Title: การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Learning Thai Culture from the Curriculum of Thai Communication as a Second Language of Exchange Chinese Students in Huachiew Chalermprakiet University
Authors: พัชรินทร์ บูรณะกร
Fan, Chunxia
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา
Huachiew Chalermprakiet University -- Students
วัฒนธรรมไทย
นักศึกษาต่างชาติ
Students, Foreign
การเรียนรู้
Learning
Issue Date: 2017
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยของ นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็น การ เรียนรู้วัฒนธรรมไทยจากหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทย เป็นภาษาที่สองของนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยศึกษา จากหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและสัมภาษณ์การใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาเกี่ยวกับ วัฒนธรรมไทย จำนวน 8 คน และนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีน จำนวน 31 คน ผลการวิจัยพบว่า รายวิชาเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่เปิดสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 12 วิชา ซึ่งล้วนเป็นรายวิชาวัฒนธรรมที่มีเนื้อหาความรู้ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาและ จุดมุ่งหมายการเรียนรู้รายวิชา รวมถึงมีระดับความยากง่ายที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ส่งผลให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนเรียนรู้วัฒนธรรมไทยได้อย่างละเอียดชัดเจน อาจารย์ผู้สอนใช้ วิธีการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาวัฒนธรรมไทยในรายวิชา นั้น ๆ ได้ช่วยให้ผู้เรียนสนใจการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยมากขึ้น อันช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการศึกษา ทำให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถนำความรู้วัฒนธรรมไทย ที่เรียนไปใช้กับการเรียนรู้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การเรียน การดำเนินชีวิตประจำวัน การใช้ ชีวิตร่วมกับคนไทยและการหางานทำในประเทศไทยอย่างดี นอกจากนี้ ยังทำให้นักศึกษาแลกเปลี่ยน ชาวจีนก็มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันระหว่างประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้ แน่นแฟ้นและยั่งยืนยิ่งขึ้น
This research mainly aimed to analyze 1) contents and methods of Chinese exchange students' learning of Thai culture in Huachiew Chalermprakiet University and 2) exploring opinions of Chinese exchange students' learning of Thai culture from the curriculum of Thai communication as a second language in Huachiew Chalermprakiet University by interviewing 6 instructors and 31 Chinese students. It was found in this study that the 12 courses focused on Thai culyure study in the degree, which have interesting main subjects correlated with course descriptions and purposes together with appropriate difficulties depending on learners' requirements, brought about evidently learning and intention of studying for Chinese students. Moreover, the appropriate variation of course activities, educational resources, practices and extra activities correlated with cultural knowledge focused on each course grabs students' interest which increase learning achievemeny. Cultural Knowledge gathered from the courses mentioned above causes the exchange students to proper usage of Thai language so that they can properly adapt in multiple situations, for examples: learning skills, everyday lives among Thai people and career employment in Thailand. In additional, the exchange students have an important role to the cultural exchange, which are counted as a route to stably develop the relationship between the Kingdom of Thailand and the People's Republic of China.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/613
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fan-Chunxia.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.