Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/635
Title: ศึกษาเปรียบเทียบประเพณีในรอบปีของชาวจีนแต้จิ๋ว : กรณีศึกษาย่านเยาวราช ประเทศไทย และจังหวัดกิ๊กเอี๊ย มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
Other Titles: Comparative Study on Annual Traditions of Teochew People's : Case Study Yaowarat, Thailand and Jieyang, Guangdong Province, People's Republic of China
Authors: อิมธิรา อ่อนคำ
Imthira Onkam
Lin, Shiya
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: Teochew (Chinese people) -- Thailand
แต้จิ๋ว -- ไทย (เยาวราช)
แต้จิ๋ว -- จีน (กวางตุ้ง)
Teochew (Chinese people) -- China
เยาวราช (กรุงเทพฯ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
กิ๊กเอี๊ย (กวางตุ้ง) -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประเพณีในรอบปีของชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน และศึกษาปัจจัยการเปลี่ยนแปลง การสืบทอดประเพณีในรอบปีของชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบบังเอิญ รวมทั้งสิ้น 40 คน จากทั้ง 2 พื้นที่ คือ กลุ่มคนไทยเขื้อสายจีนแต้จิ๋วในย่านเยาวราชประเทศไทย และกลุ่มชาวจีนแต้จิ๋วในจังหวัดกิ๊กเอี๊ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีในรอบปีของชาวจีนแต้จิ๋วประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ 1) ประเพณีในวงจรชีวิต ได้แก่ ประเพณีการเกิด ประเพณีซุกฮวยฮึ้ง ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีแซยิด และประเพณีการตาย ซึ่งประเพณีเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของชาวจีนแต้จิ๋วทั้งสองประเทศ 2) ประเพณีตามเทศกาลถือเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดมาอย่างช้านาน โดยมี 5 เทศกาล คือ ตรุษจีน เช็งเม้ง ไหว้บ๊ะจ่าง ไหว้พระจันทร์ และกินเจ ทั้ง 5 เทศกาลนี้ถือเป็นเทศกาลใหญ่และมีความสำคัญต่อชาวจีนแต้จิ๋วอย่างมาก และ 3) วันสำคัญในทางคติความเชื่อของชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งสัมพันธ์กับหลักศาสนาและความเชื่อเทพเจ้าในตำนานจีน โดยมีจำนวน 3 วัน คือ วันไหว้ศาลเจ้าตี่จู๋เอี๊ยะ วันไหว้เจ้าแม่ม่าโจ้ว และวันไหว้บรรพบุรุษ ที่ยังคงมีการสืบทอดคติความเชื่อนี้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเพณีในรอบปีของชาวจีนแต้จิ๋วยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ นโยบายภาครัฐ การย้ายถิ่น การแต่งงาน และวิทยาการสมัยใหม่ด้วย แต่อย่างไรก็ตามชาวจีนทั้งสองพื้นก็ยังคงมีการสืบทอดและเผยแพร่ประเพณีของตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประเพณีที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของตนเองให้คงอยู่ต่อไปได้ในอนาคต
This research aims to compare the annual tradition of Teochew Chinese people in Thailand and in People's Republic of China and to study the factors that change and inherit the traditions of Teochew Chinese people in both countries. This research is a qualitative research by using specific and accidental sampling method, total 40 people from two areas: Yaowarat, Thailand and Jieyang, Guangdong Province, People's Republic of China. The research finds that there are three annual traditions of Teochew Chinese people. 1) The traditions, in regard to human's life cycle from birth until death, are birth, coming of age, marriage, sixtieth anniversary and death. So they are important to Teochew Chinese's lifestyle in both countries. 2) Festivals, inherited for a long time, are Chinese New Year festival, Qingming festival, Dragon Boat festival, Mid-autumn festival and Vegetarian festival. These five festivals are big to Teochew Chinese both in Thai and China. 3) The important days in Teochew belief about religions and divine beliefs in Chinese mythology are three days: the day of worship at Di Chu Ea Shrine, Mazu Shrine and ancestor's day. These three traditions are still inherited until present. In addition, the annual Teochew traditions have contributed many change factors to government policy, migration, marriage and new technologies. However, Teochew Chinese people in both areas are still inheriting and spreading their own traditions to maintain these traditions as their identity in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2563
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/635
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LIN-SHIYA.pdf
  Restricted Access
5.84 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.