Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/653
Title: ความเชื่อและบทบาทของศาลเจ้า : กรณีศึกษา ตลาดน้อยเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Beliefs and Roles Related to Community Shrines : A Case Study of "Talad-Noi Sumphantawong District, Bangkok"
Authors: อิมธิรา อ่อนคำ
Su, Shengying
Keywords: ความเชื่อ
Belief and doubt
ศาลเจ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Shrines -- Thailand -- Bangkok
ตลาดน้อย (กรุงเทพฯ)
สัมพันธวงศ์ (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ความเชื่อ และพิธีกรรมของศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ในตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 5 ศาล ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับศาลเจ้า ผู้มากราบไหว้ที่ศาลเจ้า ผู้เข้าร่วมงานพิธีกรรมต่างๆ และชุมชนภายในตลาดน้อย จำนวน 40 คน ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ศาลเจ้าภายในตลาดน้อยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเพราะมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปีขึ้นไป ศาลเจ้าถือได้ว่าอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนตลาดน้อยมาตั้งแต่อดีตและศาลเจ้าที่ตั้งอยู่ภายในตลาดน้อยแห่งนี้มีจำนวน 5 ศาล โดยการสร้างศาลเจ้าเกิดจากกลุ่มชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณตลาดน้อย จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจีนฮกเกี้ยน กลุ่มจีนแคะ (ฮากกา) และกลุ่มจีนไหหลำ ซึ่งการสร้างศาลเจ้าของชาวจีนกลุ่มนี้มีเหตุปัจจัยมาจากคติความเชื่อเรื่องเทพเจ้าที่เห็นได้จากการตั้งชื่อของศาลเจ้าที่เป็นชื่อของเทพเจ้าองค์พระประธานที่ได้อันเชิญมาจากประเทศจีนและด้วยความเชื่อเรื่องเทพเจ้านั้นจึงทำให้มีกราบไหว้ขอพรจากเทพเจ้ามาตั้งแต่อดีตและสืบทอดความเชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาศาลเจ้า 5 ศาลนี้ได้ปรากฏความเชื่อเรื่อง โชคลาภ สุขภาพ ครอบครัว และการแก้ปีชง ซึ่งจากความเชื่อดังกล่าวทำให้เกิดประเพณีและพิธีกรรมการบูชาเทพเจ้าขึ้น คือ ประเพณีเทศกาลกินเจและประเพณีเทศกาลหยวนเซียว ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของศาลเจ้า คือ บทบาทด้านสังคม ที่มีการปลูกฝังให้เป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม และให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ บทบาทด้านเศรษฐกิจ ศาลเจ้าถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์จีน และยังช่วยให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดี บทบาทด้านวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดและเผยแพร่วัฒนธรรมจีนที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้วิจัยถือว่่าการมีอยู่ของศาลเจ้าถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อที่เข้มแข็งของคนไทยเชื้อสายจีนแห่งนี้ และยังคงมีการสืบทอดให้คงอยู่สืบไป
This research has the objective to study the history, belief and rituals relating to five community shrines located in Talad-Noi, Samphantawong district, Bangkok. This research is qualitative research with field data from interviewing people concerned with the shrines in Talat-Noi, the visitors paying homage to the shrines, people joining the rituals in Talad0Noi community 40 persons in total. The researcher studied from documentary and presented the research in descriptive analysis. The shrines in Talat-Noi had the long history and stayed together with Thai-Chinese Culture. There are five community shrines built by three Chinese origins which were Hokkien, Hakka and Hainan. The shrines were built from the belief in gods which can be seen from the name of the shrine. With the belief in god, people prayed for the blessing to the god since the past and inherited this belief to the present day. From the study found it is for the beliefs, lucks, health, family and solving the year of misfortune. These beliefs create the traditions such as the vegetarian festival and Spring Lantern Festival traditions. The Social role of the shrines created good morality, ethics and unity among groups. The community shrines are considered as the historical site help the economics of community. The cultural role and dissemination of the Chinese cultures blend well with Thai cultures. The researcher considers that the existence of the community shrines is the indication of strong beliefs of Thai-Chinese people and to be inherited.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/653
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SU-SHENGYING.pdf71.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.