Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/655
Title: กลวิธีการแต่งและแนวคิดในวรรณกรรมสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัล “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” พ.ศ. 2556 – 2557
Other Titles: Writing Techniques and Themes of Young Adult Literature Winning 'Sevenbooks Awards' during 2013-2014
Authors: ธิดา โมสิกรัตน์
Wang, Rui
Keywords: รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด
Seven Book Award
วรรณกรรมสำหรับเด็ก
Children literature
แนวการเขียน
Literary style
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
Issue Date: 2016
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งและแนวคิดในวรรรกรรมสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัล "เซเว่นบุ๊คอวอร์ด" พ.ศ. 2556-2557 ประเภทนวนิยาย จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ แต่กี้แต่ก่อน ลูกยางกลางห้วย อาม่าบนคอนโด เกาะที่มีความสุขที่สุดในโลก และต้นมะกอกหลานยาย โดยนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัล "เซเว่นบุ๊คอวอร์ด" พ.ศ. 2556-2557 ใช้กลวิธีการแต่ง ได้แก่ การตั้งชื่อบทด้วยคำ วลี และสำนวนภาษา การเปิดเรื่องใช้นาฏการการเล่าเรื่อง การใช้บทสนทนา การพรรณนาฉากและบรรยากาศ และการใช้คำพูดของตัวละคร การดำเนินเรื่องใช้กลวิธีการสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และความขัดแย้งภายในจิตใจของมนุษย์ วิธีการเล่าเรื่องเป็นแบบตัวละครหลักเป็นผู้เล่าเรื่อง และแบบผู้แต่งเป็นผู้เล่าเรื่อง ในด้านการวางโครงเรื่องใช้วิธี การลำดับเรื่องตามปฏิทิน ตามเหตุการณ์ และแบบย้อนต้น การปิดเรื่องใช้วิธีทิ้งปัญหาให้คิดและแบบสุขนาฏกรรม การสร้างตัวละครเป็นบุคคลในชีวิตจริง คือ ตัวละครเด็กและเยาวชน ตัวละครผู้ใหญ่ มีการสร้างฉากที่เป็นสถานที่ในเมืองและชนบท ใช้บทสนทนาเพื่อช่วยดำเนินเรื่อง บอกลักษณะนิสัยตัวละคร ให้คติและข้อคิด ด้านแนวคิดในวรรรกรรมสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัล "เซเว่นบุ๊คอวอร์ด" พ.ศ. 2556-2557 พบว่า มีแนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อ ความอดทน ความขยัน ความกตัญญู การเชื่อฟังผู้ใหญ่ และความซื่อสัตย์ แนวคิดด้านอื่นๆ ได้แก่ แนวคิดการมีมารยาท แนวคิดเกี่ยวกับความรักระหว่างสมาชิกในครอบครัว ความรักของหนุ่มสาว ความรักระหว่างเพื่อนบ้าน และแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคม ในด้านปัญหาของเด็กและปัญหาของผู้ชาย
This research aimed to analyze the writing techniques and ideas presented in five young adult novels which were awarded the Seven Book Award during 2013-2014. The works are: 1) Tare-ki-tare-korn, 2) Luk-yang-klang-huay, 3) A-ma-bon-condo, 4) Kho-te-me-kham-suk-te-sud-nai-look, and 5) Ton-ma-gog-lan-yai. Findings of the research regarding to the writing techniques are: 1) Chapter entitling was made by words, phrases, and idioms; 2) Opening scence were started with situations, story-telling, dialogues, narration of setting and atmosphere, and the characters' saying; 3) the conflicts were humans against humans and the mental conflict; 4) Points of view were from the first person, the protagonist, and the omniscience; 5) Plots had been both chronological and flash back; 6) Endings of the story were presented either open or happily rounded; 7) Characters and Characterizations were realistic focusing on the young adults; 8) Setting was shown both in the city and the upcountry; and 9) Dialogues were used for continuing the story, characterizing and presenting ideas. Regarding to the themes, most of the awarded novels focused on ideas about morals and ethics, which were generosity, tolerance, hardworking, gratitude, obedience, and honesty. Minor ideas were also noticed, which were favorable manner, family affection, heterosexual love, neighboring care, and the social problem about children and males.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/655
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WANG-RUI.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.