Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/664
Title: กลวิธีการแต่งและแนวคิดในเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2556-2557
Other Titles: Writing Techniques and Themes of Award-Winning Short Stories at Thai National Book Fair 2013-2014
Authors: ธิดา โมสิกรัตน์
Thida Mosikarat
Yan, Hanle
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts
Keywords: รางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
Thai National Book Fair Award
เรื่องสั้น -- ไทย
Short stories, Thai
แนวการเขียน
Literary style
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
Issue Date: 2015
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งในเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2556-2557 เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น จำนวน 8 เล่ม นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า หนังสือรวมเรื่องสั้นใช้กลวิธีการแต่งมี 1) กลวิธีการวางโครงเรื่องที่เป็นความขัดแย้ง โดยมีความขัดแย้งมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และภายในจิตใจตัวเอง โครงเรื่องเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในชีวิต โดยมีโครงเรื่องตกยากลำบาก ปัญหาครอบครัว นักการเมืองเอาเปรียบ และอำนาจไม่ชอบธรรม 2) กลวิธีการดำเนินเรื่อง ด้านการเปิดเรื่อง มีใช้การบรรยายฉากและบรรยายตัวละคร บทสนทนา และนาฏการ ด้านการดำเนินเรื่อง มีการสร้างความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ ด้านการลำดับเหตุการณ์ มีตามปฏิทิน และย้อนต้น ด้านการเล่าเรื่อง มีการปิดเรื่อง มีการปิดเรื่องแบบทิ้งปัญหาไว้ให้คิด แบบโศกนาฏกรรม แบบสุขนาฏกรรม และแบบหักมุม 3) กลวิธีการสร้างตัวละคร ใช้กลวิธีแนะนำตัวละครแบบเล่าเรื่องและด้วยการกระทำของตัวละคร 4) กลวิธีการสร้างฉากและบรรยากาศใช้กลวิธีบรรยายฉากตามทรรศนะผู้แต่ง และทรรศนะของตัวละคร 5) กลวิธีการสร้างบทสนทนาใช้เพื่อดำเนินเรื่องและบอกลักษณะของตัวละคร ในด้านแนวคิดในหนังสือรวมเรื่องสั้นพบว่า หนังสือรวมเรื่องสั้นมีแนวคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิต มีวิถีชีวิตคนในชนบทและวิถีชีวิตในเมือง แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคม มีปัญหาครอบครัว สถานภาพผู้หญิง อำนาจไม่ชอบธรรม ค่านิยมในสังคมและทุนนิยมในสังคม แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง แนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อและแนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
The writing styles and the themes in national book fair award-winning short stories during 2013-2014. This study analyzes 8 collections of short stories and presents the findings as descriptive analysis. The results show that the collections of short stories using the compositing strategies as 1) plotting strategy with the conflict as human to human, human and nature, and contradiction within the minds, by presenting the plots about the problems and difficulties in life; having the hardship, family problems, unfair politician power, and illegitimate power, 2) developing moments; opening the story by describing stages and characters, dialogue and dramatic narrative, narrative moment by creating conflicts within the mind of the characters; human and human, human and society, and human and the nature, sequencing of events by using chronological order, and flashback, narrating events by the author acting as a knowledgeable person, or as an observer, or the character is a narrator, and closing the story by leaving problems unsolved, a tragedy, a happy ending, and a surprise, 3) strategies to create characters by narrating and introducing the actions of the characters 4) strategies to create stages and atmosphere by describing the stage according to the author and the characters' view, and 5) strategies to create dialogues to tell the story and describe the characters. The collections of stories reveal the concepts on lifestyle (life in rural and urban lifestyle), concepts on social issues (family problems, women status, unfair power, values in society and capitalism society), concepts on politics, and concepts of beliefs and ideas about morality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/664
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
YAN-HANLE.pdf
  Restricted Access
3.44 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.