Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/763
Title: | ความเชื่อและพิธีกรรมของศาลเจ้าพ่อพระเพลิงในสังคมไทย : กรณีศึกษา ฝั่งธนบุรี |
Other Titles: | Beliefs and Rituals of Chaophorphraphloeng Shrine in Thai Society : A Case Study of Thonburi Side |
Authors: | อิมธิรา อ่อนคำ Imthira Onkam Liao, Caichun Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | ศาลเจ้าพ่อพระเพลิง (กรุงเทพฯ) Chaophorphraphloeng Shrine (Bangkok) ความเชื่อ Belief and doubt ศาลเจ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ Shrines -- Thailand -- Bangkok ชาวจีน -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี. Chinese -- Thailand -- Social life and customs |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมของศาลเจ้าพ่อพระเพลิงในเขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อวิเคราะห์บทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาลเจ้าพ่อพระเพลิงที่มีต่อสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างในศาลเจ้าพ่อพระเพลิงย่านบุคคโลและย่านตลาดพลูจำนวน 30 คน และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า ศาลเจ้าพ่อพระเพลิงย่านบุคคโลเป็นศาลเจ้าที่มีอายุมากกว่า 90 ปีและได้อัญเชิญรูปเคารพมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนศาลเจ้าพ่อพระเพลิงย่านตลาดพลู สร้างขึ้นโดยชาวบ้านและได้อัญเชิญรูปเคารพเจ้าพ่อพระเพลิงมาจากศาลเจ้าย่านบุคคโล ศาลเจ้าทั้ง 2 แห่งนี้มีความเชื่อ 5 ประการคือ ความเชื่อด้านความปลอดภัย ความเชื่อด้านความสำเร็จ ความเชื่อด้านสุขภาพ ความเชื่อด้านครอบครัว และความเชื่อด้านการขอบุตร โดยผู้ที่ศรัทธาต่อเจ้าพ่อพระเพลิงจะเข้าร่วมพิธีกรรมในรอบปีคือ พิธีเบิกเนตร พิธีวันไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ และงานแห่เจ้าพ่อพระเพลิง และเทศกาลวันตรุษจีน ซึ่งผู้ที่ได้เข้าร่วมพิธีกรรมนั้นจะมีความเชื่อว่าสามารถขอพรจากเจ้าพ่อพระเพลิงโดยตรง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชุมชนทั้ง 2 แห่งยังคงสืบทอดความเชื่อและพิธีกรรมให้ยังคงอยู่ได้จนปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสังคมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปโดยปัจจัยด้านต่าง ๆ คือ ชุมชน สภาพทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางสังคม และรวมถึงการเปลี่ยนกรรมการของศาลเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม ศาลเจ้าพ่อพระเพลิงทั้ง 2 แห่งนี้ก็ยังคงมีบทบาทต่อสังคมไทยด้วย ได้แก่ 1) บทบาทด้านจิตใจ ศาลเจ้าเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับผู้ศรัทธา โดยมีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต 2) บทบาทด้านสังคม การมีอยู่ของศาลเจ้าสร้างความสามัคคีทั้งชุมชนภายในและภายนอกและช่วยเหลือสังคม 3) บทบาทด้านเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 4) บทบาทด้านวัฒนธรรม โดยมีการเผยแพร่และการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมความเชื่อไทย-จีนได้อย่างกลมกลืน จึงทำให้การสืบทอดวัฒนธรรมความเชื่อของเจ้าพ่อพระเพลิงทั้ง 2 แห่งสามารถคงอยู่ต่อไปได้ This research aimed to study beliefs and Rituals of the Chaophorphraphloeng Shrine in Thonburi District, Bangkok and to analyze the role of beliefs and rituals related to Chaophorphraphloeng Shrine on Thai society. It was a qualitative research that studies data from documents. By using the method of collecting data from documents, participant and non-participant observation In-depth interviews were used from a sample group of 30 people in the Chaophorphraphloeng Shrine in Bukkhalo and Talatphlu areas, and presented the results by descriptive analysis.The results showed that the Chaophorphraphloeng Shrine in Bukkhalo area is a shrine that is more than 90 years old and brought idols from the People's Republic of China. The Chaophorphraphloeng Shrine in Talatphlu area was built by villagers and the idol of Chaophorphraphloeng was brought from the Shrine of Bukkhalo area. These two shrines had 5 beliefs: safety, success, health, family and child support. Those who believed in the Chaophorphraphloeng will participated in the ritual of the year : eye opening ceremony, tea ceremony, moon worship day, Vegetarian Festival, The Chaophorphraphloeng Parade and Chinese New Year. Those who participated in the ritual believed that they could ask for blessings directly from the Chaophorphraphloeng. For this reason, the two communities continued to carry on their beliefs and rituals to this day. Although society has changed by various factors, namely: The prosperity of the community, economy, society and including the change of directors of the shrine. However, these 2 shrines still play a role in Thai society as well. 1) Psychological role, Shrines are spiritual anchors for believers. by instilling morals and ethics in life. 2) Social role, the presence of the shrine creates unity within the internal and external communities and contributes to society. 3) Economic role, generate income for the people in the community and promote historical tourism. 4) Cultural role, there was a diffusion and blending of Thai-Chinese culture and beliefs harmoniously. Therefore, the succession of the beliefs of Chaophorphraphloeng in both places can continue to exist. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2565 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/763 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
LIAO-CAICHUN.pdf Restricted Access | 11.24 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.