Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/766
Title: ความเชื่อ พิธีกรรม และบทบาทศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวของชาวจีนฮากกา เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Beliefs, Rituals and Role of Li Tee Meow Shrine of the Chinese Hakka, Pompraapsattruphay District, Bangkok
Authors: ธีรโชติ เกิดแก้ว
Qiu, Haifeng
Keywords: ศาลเจ้าหลีตีเมี้ยว (กรุงเทพฯ)
Li Tee Meow Shrine (Bangkok)
ความเชื่อ
Belief and doubt
ศาลเจ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Shrines -- Thailand -- Bangkok
ฮากกา -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Hakka (Chinese people) -- Thailand -- Social life and customs
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมและเพื่อวิเคราะห์บทบาทศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวของชาวจีนฮากกาเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า ศาลเจ้าหลีตีเมี้ยว เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายยังคงมีความเชื่อที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน 9 ประการ ได้แก่ การขอให้มีสุขภาพดี การขอให้มีโชคลาภเงินทอง การขอให้มีบุตร การขอให้ได้เลื่อนยศตำแหน่ง การขอให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา การขอให้ช่วยปกป้องคุ้มครองสมาชิกในครอบครัว การขอให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ การแก้ปีชง และการเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาวจีน ฮากกา ส่วนพิธีกรรมที่ยังคงจัดอยู่เป็นประจำทุกปีมี 4 พิธี คือ พิธีกรรมในงานฉลอง วันเทวสมภพขององค์เทพ เพื่อเฉลิมฉลองวันเกิดของเทพหลีตี เง็กเซียนฮ่องเต้ และเจ้าแม่กวมอิม พิธีกรรมการทิ้งกระจาด พิธีกรรมในเทศกาลกินเจ และพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ การจัดพิธีกรรมสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของ ศาลเจ้าโดยสรุป 3 ด้าน ได้แก่ บทบาทด้านสังคม คือ การเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ศรัทธา การเผยแพร่และการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การสร้างความสามัคคีให้แก่คนภายในและภายนอก ชุนชน และการช่วยเหลือสังคม บทบาทด้านเศรษฐกิจ คือ การส่งเสริมการค้าขายบริเวณ ศาลเจ้าและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน บทบาทด้านวัฒนธรรม คือ การสืบทอดวัฒนธรรมของชาวจีนฮากกา การผสมกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมจีน-ไทย และการสืบทอดและการเผยแพร่วัฒนธรรมจีน-ไทย ดังนั้น ศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวจึงเป็นศาสนสถานสำคัญที่ยังคงรักษา สืบทอดวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าของชาวจีน ฮากกาไว้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมของอนุชนรุ่นหลัง
This research aimed to study beliefs and rituals of Li Tee Meow Shrine of the Chinese Hakka, Pompraapsattruphay district, Bangkok towards Thai society. This is a qualitative research that examines document data and used field data collection methods through In-depth interviews with 30 people involved in supply important information and non-participant observation. The collected data were analyzed studied and presented the results of the study by descriptive analysis. The results showed that the Li Tee Meow Shrine, Pompraapsattruphay district still had nine clearly visible beliefs: Wishing for good health, good fortune and money, having a baby, job promotion, educational success, protection of family members, plentiful crops, extraction in bad luck year and making offerings to the ancestors of the Hakka Chinese. As for the rituals that are still held annually, there were 4 ceremonies which are 1) Ritual of the birthday of Deity Li Tee to celebrate the birthday of the Deity Li Tee, Gexian emperor and Guam Im. 2) Ritual of dropping the baskets. 3) Rituals at the Vegetarian Festival. and 4) Extraction ritual. The ceremonial arrangement reflects the role of the shrine in summary in three aspects: 1) Social role was to rely on the hearts of believers, disseminating and cultivating morals, ethics, building unity among people inside and outside the community and social assistance. 2) Economic role was to promote trade around the shrine and to promote tourism in the community. 3) Cultural role was to inherit the culture of the Hakka Chinese. Harmonious blending between Thai and Chinese cultures and the inheritance and dissemination of Chinese-Thai culture. Therefore, Li Tee Meow Shrine was Important religious sites that were still preserved Inherit the culture that was the root of the Hakka Chinese as a learning center for the future generations of cultural heritage.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2565
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/766
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
QIU-HAIFENG.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.