Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/781
Title: 智者的话语一钱钟书与杨绛散文比较研究
Other Titles: ภาษาของนักปราชญ์ : การศึกษาเปรียบเทียบบทพรรณนาของ Qian Zhongshu และ Yang Jiang
The Wise Man's Word--Comparison of Prose between Qian Zhongshu and Yang Jiang
Authors: 林英德
Lin, Yingde
杨荃
Yang, Quan
Keywords: วรรณคดีเปรียบเทียบ
Comparative literature
比较文学
นักประพันธ์จีน
Authors, Chinese
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
内容分析
การแต่งร้อยแก้ว
Prose literature
散文写作
เฉียน, จงซู
Qian, Zhongshu
หยาง, เจี้ยงถือ
Yang, Jiang
Issue Date: 2015
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: เฉียนจงซู และหยางเจี้ยง ถือเป็นคู่รักนักวรรรกรรมจีนสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงของจีนคู่หนึ่ง ทั้งสองท่านเป็นทั้งนักวิชาการ และเป็นนักเขียนที่ชาญฉลาด โดยถ่ายทอดและวิจารณ์ลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้คนผ่านวิถีทางดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างมีเอกลักษณ์ ในฐานะที่เป็นคู่รักนักวรรณกรรม งานเขียนร้อยแก้วของเขาทั้งสองนั้นมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น งานเขียนของเฉียนจงซูมีกลิ่นอายแนววิพากย์วิจารณ์อย่างเข้มข้นภาษาที่ใช้รวมถึงแนวความคิดที่ถ่ายทอดมีความดุเด็ดเผ็ดร้อนตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกัน ผลงานของหยางเจี้ยงกลับมีความละมุนละไม มีการบอกเล่าเรื่องราวอย่างช้าๆ แต่ไม่ฟุ่มเฟือย แฝงไปด้วยความประทับใจ เมื่อได้อ่านงานเขียนของทั้งสอง ความรู้สึกแรกดูเหมือนจะไม่มีความคล้ายคลึงกันสักเท่าใด แต่เมื่อลองพินิจถึงรายละเอียดต่างๆ พบว่าผลงานของเฉียนจงซูและหยางเจี้ยงนั้น แฝงไปด้วยความคล้ายคลึงและความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้ง โดยสังเกตได้จากปูมหลังวัยเยาว์ การใช้ชีวิตร่วมกันหลังสมรส ประสบการณ์ชีวิตที่ล้มลุกคลุกคลานหลังปลดแอก เป็นต้น ซึ่งความคล้ายคลึงเหล่านี้ ต้องศึกษางานเขียนอย่างละเอียดจึงจะสามารถวิเคราะห์ได้ การวิจัยถึงความแตกต่างของงานเขียนทั้งสองท่านนี้ โดยหลักแล้ว เริ่มต้นจากการหาความเหมือนด้วยการค้นคว้าหาข้อมูลด้านประสบการณ์การดำเนินชีวิตของทั้งสองท่าน ซึ่งพบว่า ทั้งสองท่านล้วนมาจากครอบครัวนักปราชญ์ผู้มีความรู้ ทั้งรุ่นบิดา และบรรพชนรุ่นก่อนๆ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความปราดเปรื่อง ทำให้เขาทั้งสองได้ซึมซับความเป็นนักปราชญ์ หลังจากเฉียวจงซูและหยางเจี้ยง ได้สมรสกันได้เดินทางไปเรียนต่อที่ต่างประเทศด้วยกัน เมื่อเรียนจบและกลับมาประเทศจีน ได้ฝ่าฟันความยากลำบากไปด้วยกัน จากประสบการณ์ที่ข้ามผ่านมานั้น ทำให้งานเขียนของเฉียนจงซูมีลักษณะวิพากย์วิจารณ์ ส่วนงานเขียนของหยางเจี้ยงมีลักษณะเขียนเรื่องครอบครัว การระลึกถึงบุคคลและเรื่องราวต่างๆ แต่เมื่อมาวิเคราะห์พบว่า งานเขียนนั้นมีเกี่ยวพันกัน หัวข้อและเนื้อหามีเกี่ยวข้องกันหลายเรื่อง เช่น ปีศาจยามราตรี ปลายชีวิต บอกเล่าแนวจริยศาสตร์ งานแปลแนวถกปัญหา เป็นต้น รวมถึงกลวิธีการประพันธ์สามารถบ่งบอกถึงความคล้ายคลึงกันในหลายด้าน ทั้งอารมณ์ขันที่คล้ายกัน แนวทางการอ้างอิงที่คล้ายกัน ความเป็นตัวตนและการเขียนแนวลึกลับเฟ้อฝันที่คล้ายคลึงกัน
The well-known couple, Qian Zhongshu and Yang Jiang were both scholar and writers. They reviewed the real life by their own daily life and expressed the unique ideas towards the life. As the literary couple, their prose writing kept their own style, just like the words of the wise men. Even if they were different in prose reading, we read them carefully and we would find some similarities or connection hidden in between. All the similarities and connections of their works could be explored by reading carefully and entirely. This paper studies the similarities and differences of prose between Qian Zhongshu and Yang Jiang, and chiefly focuses on the former one. Above all, it dates back to their life experience. They were born in the house of the literati and the ancestors were all outstanding, which offered a great environment for them to pursue for knowledge when they were young. After marriage, they were aborad for further education and went through a lot after returning home. All these experiences family and memory together on the further level. In addition, there were some relevance between the theme and the content, such as interview with the devil, the edge of life, logical comment, translation discussion etc. At the same time, their writing techniques were similar too. All we know, they were well-educated and read books of Chinese and foreign literature. So it was common that although there existed some difference between them, their works shared humor, allusion, ego together with magic.
钱钟书与杨绛,是中国现代文坛上有名的夫妻学者、夫妻作家。他们都是学识渊博的学者、睿智的思想者,同时又是富有才华的文学家,他们通过自己日常的生活来品评现实人生,表达着自己对现实人生的独特看法。作为一对文坛伉俪,他们的散文写作有着属于他们自己的特点,是作为智者的他们的一种话语。钱钟书的散文多是富含议论性的,语言深刻尖锐且观点锋芒毕露。杨绛的散文温和似水,叙述时不急不缓,有一种娓娓道来的动听与动人。即使两人的散文阅读起来并不尽相似,但是仔细阅读,我们会发现钱钟书与杨绛的散文,由于他们的年少经历、婚后的共同生活、解放后的共同波折经历在很多方面实则潜藏着一些相似或是关联之处。这些相似或相关之处需要仔细与完整的阅读,将其慢慢剖析出来。 研究钱钟书与杨绛散文的异同,主要是追寻他们之间的同。首先要究根溯源地了解钱钟书与杨绛的生活经历。钱钟书与杨绛都出生于文人雅士之家,祖辈父辈都人才辈出,给年少的他们提供了良好的求知土壤。当钱钟书与杨绛两人结缘后,一起共赴国外求学、回国后一起共患难。这样的历程,即使钱钟书的多为议论性散文,杨绛的多为家庭、忆人、忆事散文,但在更深层次上它们之间却又着千丝万缕的联系。主题与内容上有的关联性实则很多,如:魔鬼夜访、人生边上、论理说事、翻译讨论等。同时,在写作的手法上也有很多类似之处,如具共性的幽默性、用典性、自我性和魔幻性。
中国小说家
Description: Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2015
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/781
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
YANG-QUAN.PDF2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.