Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/802
Title: 汉泰委婉语对比分析
Other Titles: การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำรื่นหูภาษาจีน-ไทย
Comparative Study of Chinese-Thai Euphemism
Authors: 李超
Li, Chao
曾淑君
ภัทรภร วาณิชธนากุล
Keywords: ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
Thai language -- Usage
泰语 -- 语言使用
ภาษาจีน -- การใช้ภาษา
English language -- Usage
汉 -- 语言使用
คำรื่นหู
Euphemism
朗朗上口的话
Issue Date: 2016
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: คำรื่นหู (คำละเมียด) มีปรากฏให้เห็นในทุกชาติทุกภาษา และใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน การใช้คำรื่นหูจัดว่าเป็นปรากฏการณ์ทางการใช้ภาษาเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงในการสื่อสารระหว่างกัน แต่ก็ยังคงนัยสำคัญของเนื้อความไว้อย่างครบถ้วน ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและพื้นเพประเพณีเดิมทำให้ผู้ศึกษายากที่จะจำแนกความแตกต่างนี้ได้อย่างชัดเจน ผู้ศึกษาจึงไม่สามารถเข้าใจคำรื่นหูในภาษาจีนและทำให้ไม่อาจนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง โดยวัตถุประสงค์หลักของการใช้คำรื่นหูนั้นคือ เพื่อแสดงความสุภาพ มีมารยาท คำบางคำที่ไม่สามารถสื่อความหมายออกมาได้โดยตรง เพราะอาจทำให้ผู้ฟังเกิดความระคายเคืองหรือไม่พอใจ ผู้วิจัยจึงเลือกทำการศึกษาเปรียบเทียบคำรื่นหูภาษาจีน-ไทย เพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมของทั้งสองภาษาและสามารถใช้คำรื่นหูในภาษาจีนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้หนังสือพจนานุกรมคำรื่นหูภาษาจีน เรียบเรียงโดย คุณ Wang Ya Jun ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Shianghai ในปี ค.ศ. 2011 และทำการรวบรวมคำศัพท์เป็นหมวดหมู่ต่างๆ ดังนี้ คือ คำศัพท์เกี่ยวกับการเกิด (ครอบคลุมถึงสรีระ อวัยวะ และการแต่งงาน) ความชรา ความเจ็บป่วย การตาย เพศ การขับถ่าย ฐานะ และอาชีพ โดยผู้วิจัยได้เริ่มทำการศึกษาเปรียบเทียบในด้านความหมาย กลวิธีสร้างคำ รวมทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างด้านค่านิยมที่แฝงอยู่ในความหมายของคำรื่นหูนี้ด้วย ผลการวิจัยพบว่า การใช้คำรื่นหูบางคำในภาษาไทยและภาษาจีนในแง่ความหมาย พบว่า มีความคล้ายคลึงกัน บางคำในแง่ความหมายมีความคล้ายแต่การใช้งานจริงกลับมีความแตกต่างและในภาษาไทยบางคำไม่สามารถหาคำเทียบเคียงจากภาษษจีนได้ ในแง่การสร้างคำ ผู้วิจัยพบว่ามีความคล้ายคลึงกัน 4 ประการ คือ 1. การเลือกใช้คำที่มีความหมายดี 2. การเลือกใช้คำที่มีความหมายแฝงแสดงความสุภาพ 3. การเลือกใช้คำที่มีความชัดเจนน้อยกว่าคำเดิม 4. การเลือกใช้คำแสดงความหมายปฏิเสธร่วมกับคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำเดิมในด้านของความแตกต่างในการสร้างคำมีข้อแตกต่างอยู่ใน 4 ประการคือ 1. การเลี่ยงคำที่ไม่สุภาพโดยการผวนคำ 2. การเลี่ยงคำที่ไม่สุภาพด้วยการออกเสียงอย่างสะกดคำ 3. การเลี่ยงคำไม่สุภาพด้วยวิธีสะกดคำ 4. การเลี่ยงคำไม่สุภาพด้วยการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ นอกจากนี้งานวิจัยเปรียบเทียบการใช้คำรื่นหูภาษาจีน-ไทย ยังพบความคล้ายคลึงทางค่านิยม 3 ประการ คือ 1. คำรื่นหูแสดงความสุภาพ 2. คำรื่นหูแสดงความเคารพยกย่องบุคคล 3. คำรื่นหูแสดงความเคารพผู้อาวุโสและความเสมอภาค นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่าการใช้คำรื่นหูอันเกี่ยวกับ "เพศที่สาม" นั้น ทั้งในภาษาไทยและภาษาจีนมีวัฒนธรรมการใช้ที่คล้ายคลึงกันอยู่บางประการ โดยในระยะแรกคำเรียกขาน "เพศที่สาม" นี้ยังแฝงนัยเหยียดหยามหรือเห็นเป็นสิ่งผิดปกติแต่ต่อมาภายหลังมีการใช้คำที่มีความเป็นกลางและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยกลุ่มคำนี้ในภาษาจีนยังมีคำศัพท์น้อยและไม่หลากหลายเท่าในภาษาไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาในด้านการพัฒนาศักยภาพทางการเลือกใช้คำและเพิ่มพูนทักษะทางการสื่อสาร
Euphemism is used universally in every nation and language and in daily life. The use of euphemism is considered a linguistic phenomenon aiming at the avoidance of verbal violence and the complete preservation of original content in the intercommunication. Differences in culture and tradition might cause difficulty for the learners to precisely identify the nuances in the usage of euphemism; therefore, Thai learners are often unable to completely comprehend and to correctly use Chinese euphemism. The major purpose of euphemism is to express politeness and decency and to indirectly convey some words that might cause imitation or dissatisfaction to the listeners. The researcher chooses to conduct a comparative study of Chinese-Thai euphemism to explore the cultural differences in both languaged as factors effecting the usage of euphemism in order to come up with the best possible method to correctly use Chinese euphemism. The researchers uses Chinese dictionary by Wang Ya Jin published by Shanghai Dictionary Publishing House in 2011 in order to compile and categorize vocabularies into these following group: euphemism respecting birth (including organs ana marriage), old-age, sickness, death, sex, excretion, status and profession. The comparative study involves with a study of meanings, methods of coinage and an analysis of differences in values concealed in the euphemistic words. The research result finds that, some Thai and Chinese euphemistic words are semantically equivalent, some are similar in meaning but different in usage and some Thai euphemistic words cannot be conveyed in Chinese due to the difficulty in the coinage. The researcher observes that there are 4 similarities: 1) the selection of positive meaning words 2) the selection of words conveying politeness 3) the selection of words that are less clearly signified than the former words and 4) the selection of words for denial that are opposited to the former words. There are 4 dissimilarities in coinage methods: 1) the avoidance of vulgar language by spoonerism 2) the avoidance of vulgar language by the pronunciation that follows the spelling 3) the avoidance of vulgae language by spelling and 4) the avoidance of vulgar language by changing in consonant sounds. In addition, the study of comparison in the usage of Thai-Chinese euphemisms finds that there are 3 similar values: 1)euphemism for politeness 2) euphemism for the reverence in people and 3) euphemism for the respect in elderly persons and for equality. Futhermore, the researcher found that both Thai and Chinese culture have similar usage fo euphemism of euphemism regarding the 'third gender', which at the initial phase 'third gender' euphemism has derogatory and debaturalizing implication, later it becomes more neutral and creative. This type of euphemism in Chinese is still limited in quantity which suggests the cultural differences between two cultures. The researcher highly expects that this research can assist learners in the development of word selection efficiency and of communication skill.
在各种语言中,都存在大量的委婉语并广泛应用在日常生活中。委婉语是一种语言的现象,也是一种避免使用引起损坏双方关系的语言,表达思想,交流信息。不同文化背景的学习者就很难判断清楚,在学习汉语过程中,泰国学生对汉语委婉语了解的不太多。礼貌功能也是委婉语的另一重要功能。人们用委婉语来谈及那些不能直接说的事情,听起来不顺耳的事情。本文尝试对比分析汉泰委婉语,以便于理解双方文化背景,如何运用汉语委婉语词。汉语委婉语是根据王雅军《委婉语应用辞典》(2011)中编录的委婉语词汇,本文将这些委婉语词与泰语中的委婉语词从生 (包括体貌,生理,婚育等内容),老,病,死,性,排泄,财与职业等方面进行语义与构词方式的比较对比,并进一步分析汉泰委婉语词文化内涵的异同。 通过研究发现:有些汉泰委婉语词委婉义相同;有些委婉语义相同,但表达相异;很多泰语的委婉语词在汉语里没有对应词。构词方式相同有四个方面:1.运用好意的词语;2.运用含蓄有礼的的词语;3.运用模糊词;4.运用否定式来跟反义词表达肯定的意思。不相同有四个方面:1.运用斯本内现象代用不委婉的词语 2.运用发音方式代用不委婉的词语 3.运用减少拼写代用不委婉的词语 4.运用音变方式代用不委婉的词语。甚于这样对比,对汉泰委婉语词研究反映出汉泰在三个方面有相同的价值观:1.委婉语表达有礼 2.委婉语表达尊重与面子 3.委婉语表达人人平等。此外,本研究通过对汉泰委婉语中有关“同性恋”的语言文化发现两种表达相似,无论是在泰国和中国文化先从使用太直接的修辞,但后来使用中性的方面来表达,而是用语言符合流行。在汉语中,同性恋的委婉语实在不太多,泰语中的的委婉语与同性恋产生得多,代表了两国文化和信仰相异的。 本文希望通过汉泰两种委婉语研究能够帮助学习者把握汉泰委婉语词,提高汉语交际能力。
Description: Thesis (M.A.) (Teaching Chinese) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2016
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/802
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattaraporn-Wanittanakul.pdf
  Restricted Access
1.58 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.