Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/890
Title: 对泰国汉语高考PAT 7.4 的中国常识试题分析及电子书设计
Other Titles: การศึกษาวิเคราะห์ข้อคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนในการสอบ PAT 7.4 ของไทยและการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
The Analysis of China Knowledge Questions in Thailand's PAT 7.4 Test and Design E-book
Authors: 付飞亮
Fu, Feiliang
廖金珍
กัญญาณัฏฐ์ รัตนามั่นคงจิตร
Keywords: ภาษาจีน -- ข้อสอบและเฉลย
Chinese language -- Examinations, questions, etc.
汉语 -- 考试和答案
Chinese language -- Study and teaching
ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน
汉语 -- 学习和教学
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -- การออกแบบ.
Electronic books -- Design.
ความรู้ทั่วไป -- จีน
Generals -- China.
电子书 -- 设计
Issue Date: 2020
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: การศึกษาภาษาจีนในประเทศไทยมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ภาษาจีนถูกจัดให้เป็นภาษาต่างประเทศอีกหนึ่งวิชาในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องผ่านการปรับเปลี่ยนรูปแบบระบบมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) จนถึงปัจจุบันมีการใช้ระบบ TCAS (Thai University Central Admission System) ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุมศึกษา นักเรียนที่จะศึกษาต่อด้านภาษาจีนในระดับมหาวิทยาลัยของรัฐบาลนั้นมีความจำเป็นต้องยื่นผลคะแนนสอบ PAT 7.4 ในการสมัครเข้าศึกษา PAT 7.4 เป็นการทดสอบความถนัดทางภาษาจีน ได้มีการจัดสอบขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 2009 (พ..ศ. 2552) เนื้อหาของการสอบนอกจากความรู้และทักษะด้านภาษาแล้ว ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนก็ยังเป็นหนึ่งในเนื้อหาของการสอบอีกด้วย เนื่องจากเนื้อหาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนนั้นมีขอบเขตกว้างและค่อนข้างละเอียด ส่งผลให้ข้อคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนเป็นอีกส่วนที่ยากในข้อสอบ การจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตของข้อคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนในการสอบ PAT 7.4 ของประเทศไทย เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยและจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของประเทศจีน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นข้อคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนในการสอบ PAT 7.4 ของประเทศไทยโดยใช้ข้อสอบที่ใช้ในการสอบจริง ปี ค.ศ. 2010-2018 (พ.ศ. 2553-2561) เป็นเป้าหมายของการวิจัย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีน เพื่อทราบถึงเนื้อหาที่สำคัญ การวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบโดยใช้กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนภาษาจีน จำนวน 105 คนจากโรงเรียนบางกะปิ โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามในพระบรมราชินูปถัมภ์ รวม 4 โรงเรียน โดยทำการประเมินคุณภาพของข้อสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมวิเคราะห์ความยากง่ายและอำนาจการจำแนกของข้อคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีน วิเคราะห์เนื้อหาของข้อคำถามและนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตเนื้อหาและแนวโน้มการออกข้อสอบ รวมถึงสรุปเนื้อหาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนที่สำคัญมาจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลการวิจัยนี้จะช่วยให้นักเรียนที่ศึกษาภาษาจีนมีความรู้ความเข้าใจในด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศจีนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีคะแนนสอบที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศจีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Chinese language has a long history of development in the education of Thailand. Since 1998, Chinese language as a foreign language has been a test subject for university entrance examination. Thailand's higher education enrollment system has always been adapting and changing, the college entrance examination system had undergone several reforms. TCAS (Thai University Central Admission System) college entrance examination system was implemented since 2018 to the present. For Students who will by studying Chinese at a public university, students must submit a score of PAT 7.4 when applying for admission. PAT 7.4 is a Chinese language proficiency test. The first test was held in 2009. In addition to the language knowledge and language skills, an understaning of the China knowledge is also part of the syllabus of Thai Chinese college entrance examination. China knowledge questions are a difficult part of the test paper, because the content is very extensive and detailed. Therefore, the purpose of this study is to understant the examination scope of the PAT 7.4 China knowledge test questions in the Thai Chinese college entrance examination and to help the Thai Chinese teaching community to provide e-books on China knowledge. This article focuses on the Chinese cultural knowlegde segment of the Thai Chinese college entrance examination and research on the 2010-2018 PAT 7.4 past examination papers. First of all, analysis was done on the China knowledge test questions to understand the main topics involved. Secondly, the author conducted survey on the Chinese class students of 4 schools. Namely the Bangkabi School, Wisutthikasattree School, Suankularn Wittayalai School and Mahapruttaram Girls' School. By evaluating the exam questions quality based on Classical test theory methods, the difficulty and differentiation of China knowledge questions are analyzed in the Thai Chinese college entrance examination. Thirdly, analysis was conducted on the content of the China knowledge test questions, and changes in the range and trend of tested questions. Finally, an e-book will be compiled to summarize the main China knowledge covered in examinatiion. It is hoped that through this research results, students who learn Chinese can better understand China knowledge, and help them to improve test scores, and the teaching quality of Chinese language in Thailand.
泰国的汉语教育经历了很长时间的发展,早在 1998 年汉语就成为泰国大学入学考试的考试内容。泰国大学招生方式一直在发展,进行了几次大学高考改革。现在泰国所实行的是 TCAS 高考制度。学生将要在公立大学学习汉语专业,在申请入学时学生必须提交 PAT 7.4 成绩。PAT 7.4 是汉语能力的测试,于 2009 年进行首次考试,考试的内容除了语言知识与语言技能之外,中国常识也是泰国汉语高考的内容之一。由于中国常识的内容非常广泛和太过详细,因而中国常识试题在试卷中是很难的一部分。因此,本文将研究泰国汉语高考 PAT 7.4 中国常识试题的考试内容,以有利于推动泰国汉语教学交流,提供中国文化常识的电子书。 本文主要关注泰国汉语高考的中国常识试题,以 2010-2018 年 PAT 7.4真题试卷为对象研究。首先通过中国常识试题进行统计分析,找出主要涉及的内容。其次,笔者在研究中选取了邦卡碧学校、维索媞卡莎莉学校、玫瑰园中学和玛哈普塔拉女子中学 4 所学校的汉语班学生进行调查,基于经典测量理论之上对试卷质量进行评估,分析泰国汉语高考中中国常识试题的难度和区分度。再次,分析中国常识试题的内容,提出内容范围的变化和出题趋势。最后,对所概括的主要中国文化常识来制作电子书。希望通过研究结果能够为学习汉语的学生更了解中国文化常识,提高考试的成绩,以及提高泰国汉语的教学质量作铺垫。
Description: Thesis (M.A.) (Teaching Chinese) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2020.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/890
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KANYANAT-RATTANAMANKONGJIT.pdf
  Restricted Access
1.88 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.