Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/91
Title: | A Corpus Based Study of the Police Language in the American TV Series CSI : NY |
Other Titles: | การศึกษาฐานข้อมูลภาษาของตำรวจในละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ซีเอสไอ : นิวยอร์ค |
Authors: | Jonathan Rante Carreon Anchan Premjai อัญชัน เปรมใจ Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | ซีเอสไอ : นิวยอร์ค (ละครโทรทัศน์) CSI : NY (Television plays) ภาษาอังกฤษ -- บทสนทนาและวลี (สำหรับตำรวจ) English language -- Conversation and phrase books (for police) ภาษาอังกฤษ – คำ English language – Words ภาษาศาสตร์คลังข้อมูลภาษา Corpora (Linguistics) -- Data processing การวิเคราะห์ทางด้านภาษา Linguistic analysis (Linguistics) |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง การศึกษาฐานข้อมูลภาษาของตำรวจในละครชุดทางโทรทัศน์ เรื่อง ซีเอสไอ: นิวยอร์ค (CSI:NY) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาคำศัพท์ที่มีความถี่สัมพัทธ์สูงสุด (Relative frequency) หรือคำสำคัญ (Keyword) ที่ใช้ในงานตำรวจจากละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ซีเอสไอ: นิวยอร์ค ซีซั่น 9 2) ศึกษาหน้าที่ของตำรวจที่ปรากฏในละคร และ 3)ศึกษาการรวมกลุ่มคำของคำสำคัญในรูปแบบของเอ็น-แกรม (N-gram) จากบทสนทนาของตำรวจในละครชุดนี้ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากบทสนทนาของตัวละครตำรวจในขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ที่ปรากฏในละครชุดเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีทั้งหมด 17 ตอน มีหน่วยคำเฉพาะของตำรวจทั้งหมด 47,836 หน่วย (tokens) คิดเป็น 4,731 ชนิดของคำ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) โปรแกรมแอ็นท์ค๊องค์ 3.4.3w (AntConc 3.4.3w) ใช้เพื่อวิเคราะห์คำศัพท์ที่มีความถี่สัมบูรณ์สูงสุดและการรวมกลุ่มคำของคำสำคัญในรูปแบบของเอ็น-แกรม (N-gram) และ 2)โปรแกรม British National Corpus (BNC) ใช้เพื่อเปรียบเทียบหาคำศัพท์ที่มีความถี่สัมพัทธ์สูงสุดหรือคำสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า คำศัพท์ที่มีความถี่สัมพัทธ์สูงสุดหรือคำสำคัญมีจำนวน 164 คำ เป็นคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานตำรวจ 120 คำ และมี 16 คำสำคัญที่มีการรวมกลุ่มคำในรูปแบบของ เอ็น-แกรม นอกจากนี้ยังพบว่า คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานตำรวจทั้ง 120 คำ สามารถแบ่งตามหน้าที่ของตำรวจได้ ดังนี้ 1) คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานสืบสวน คิดเป็นร้อยละ 37.50 2)คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานสอบสวนผู้ต้องสงสัย พยาน หรือบุคคล คิดเป็นร้อยละ 8.33 และ 3) คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งในขณะปฏิบัติหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ 4.17 นอกจากนี้ยังพบคำสำคัญอีก 2 กลุ่ม ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตำรวจโดยตรงแต่มีความถี่สัมพัทธ์สูงในขณะที่ตำรวจออกปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ 1) คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียกบุคคลหรือสิ่งต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 29.17 และ 2)คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาษาพูดหรือภาษาที่ไม่เป็นทางการ คิดเป็นร้อยละ 20.83 ผลจากงานวิจัยนี้ ทำให้มีคลังข้อมูลภาษาของตำรวจที่ใช้ในการสื่อสารขณะปฏิบัติหน้าที่โดยคู่สนทนาของตำรวจนั้น มีหลากหลาย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ต้องสงสัย พยาน หรือประชาชนโดยทั่วไป คำสำคัญต่างๆ ที่ปรากฏในงานวิจัยนี้เป็นคำที่ใช้บ่อยที่ปรากฏในละครชุดทางโทรทัศน์ เรื่องดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบและจัดอบรมภาษาอังกฤษสำหรับตำรวจในการเลือกคำศัพท์เพื่อใช้สอนในชั้นเรียน รู้จักการใช้คำศัพท์ตามประเภทการใช้งานหรือหน้าที่ของตำรวจ และการเรียนรู้โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษผ่านการรวมกลุ่มคำในรูปแบบของ เอ็น-แกรม เพื่อให้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ESP ของตำรวจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น The field of English for Specific Purposes (ESP) has continuously broadened its scope especially among the members of the expanding circle of English speakers (Kachru, 1992; 2006). As part of that broadened scope, it is interesting to look at the bourgeoning practice of ESP especially those related to the police profession. This thesis examines the content of the American TV Series CSI: NY to identify the words with the highest absolute frequencies, words with the highest relative frequencies or the keywords, and N-grams or combination of words (e.g. Bednarek, 2011) used by police officers in the TV series while doing their jobs. Relative frequencies were obtained by comparing the research corpus against the British National Corpus (BNC) and their comparison results were expressed in log likelihood values, and the N-grams were identifies from the concordance of each keyword using the software AntConc 3.4.3w (Anthony, 2017). The keywords and N-grams were then iteratively categorized into themes and compared against the actual functions of police officeres. The findings showed that the police functions of (1) Investigating a crime (37.50%). (2) Interviewing a suspect, witness or person (8.33%), and (3) Police order or instruction (4.17%). In addition, two other themes of police language were found which were (1) Addressing oneself, other people or things (29.1%) and (2) Characteristic features of informal since the words with the highest absolute frequencies, the keywords and the N-grams are indispensable in preparing ESP (listening and speaking) courses for police students and officers who are members of the expanding circle of English speakers. The findings have strong pedagogical implications since the identified police keywords and functions were not only related to the functions of the American police department (Baton Rouge Police Department, 2017), but most especially to the functions of Thai police officers (Royal Thai Police, 2018). |
Description: | Thesis (M.A.) (English for Professional Communication) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2018 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/91 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
AnchanPremjai.pdf | 16.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.