Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/949
Title: 男女愛情的悲剧——张爱玲《半生缘》与 高·素郎卡娘《风尘少女》之比较研究
Other Titles: การศึกษาเปรียบเทียบโศกนาฏกรรมความรักในนวนิยายเรื่อง "ป้านเซิงหยวน" ของจางอ้ายหลิง และเรื่อง "หญิงคนชั่ว" ของ ก. สุรางคนางค์
A Comparative Study of Tragic Love between Two Chinese-Thai Novel : "Half Life Fate" by Eileen Change and "The Prostitute" By Kor. Surangkanang
Authors: 马华祥
หม่า, ฮว๋าเสียง
张小云
ศิริภรณ์ บุญประกอบ
Keywords: จาง, อ้ายหลิ
Zhang, Ailing
张爱玲
ความรักในวรรณกรรม
Love in literature
对文学的热爱
วรรณคดีเปรียบเทียบ
Comparative literature
ก. สุรางคนางค์
高•素郎卡娘.
การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis (Communication)
内容分析
Issue Date: 2011
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาเปรียบเทียบผลงานของ จางอ้ายหลิง (Zhang Ailing) นักเขียนหญิงชั้นแนวหน้าแห่งวงการวรรณคดีจีนสมัยใหม่ และ ก. สุรางคนางค์ (กัณหา เคียงศิริ) นักเขียนหญิงทางวรรณกรรมไทยอันทรงเกียรติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลงานของผู้แต่งทั้งสองท่าน จากในนวนิยายเรื่อง "ป้าน เซิง หยวน" และเรื่อง "หญิงคนชั่ว" ซึ่งผลงานทั้งสองเรื่องล้วนเป็นนวนิยายที่บรรยายถึงโศกนาฏกรรมความรัก ซึ่งมีค่านิยมทางวัฒนธรรมและอิทธิพลทางสังคมในยุคของสังคมศักดินาของทั้งสองประเทศมาเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นอิทธิพลและบทบาทของสตรีในสังคมสมัยนั้น อีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบวรรณกรรมทั้งสองเรื่อง โดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบคู่ขนาน โดยแบ่งเป็น 4 บท คือ บทที่ 1 เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบภูมิหลังของผู้แต่งทั้งสองท่าน จากผลงานการประพันธ์เกี่ยวกับการเมืองชิ้นแรกของจางอ้ายหลิง เรื่อง "สือ ปา ชุน" ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นเรื่อง "ป้าน เซิง หยวน" ในช่วงที่สีสันทางการเมืองเริ่มอ่อนลง ซึ่งแนวการเขียนของจางอ้ายหลิงก็กลับสู่สภาพเดิม คือ เขียนเรื่องราวระหว่างชายหญิง ส่วนจุดประสงค์ของการประพันธ์เรื่อง "หญิงคนชั่ว" ของ ก. สุรางคนางค์ คือ ผู้แต่งพยายามที่จะเข้าใจและหาสาเหตุของการเกิดปัญหา รวมทั้งมูลเหตุการดำรงชีวิตในแวดวงความชั่วร้าย ทั้งนี้ เพื่อต้องการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของผู้หญิง ผ่านเรื่องราวความชั่วร้ายรวมถึงความเกลียดชังในสังคมรูปแบบนี้ ที่ไม่ได้ทำเพื่อความมั่งคั่ง แต่เพื่อความอยู่รอดที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นถ้อยคำได้ บทที่ 2 วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวความคิดของผลงานทางด้านการประพันธ์ของทั้งสองเรื่องโดยเปรียบเทียบเนื้อหาสำคัญของเรื่อง รวมทั้งภาพลักษณ์ของตัวละครชาย-หญิง พบว่า ตัวละครหญิงของทั้งสองเรื่องล้วนเป็นโสเภณีที่ต่างมีโชคชะตาที่น่าเวทนา แต่มูลเหตุของการเป็นโสเภณีนั้นกลับไม่เหมือนกัน กู หม่าน ลู่ ในเรื่อง "ป้าน เซิง หยวน" ทำเพื่อครอบครัว เพื่อให้คนในครอบครัวมีชีวิตอยู่รอดไม่ลำบาก ความไม่มีทางเลือกบีบบังคับให้หล่อนก้าวเข้าสู่โลกแห่งคาวโลกีย์ ส่วนรื่นในเรื่อง "หญิงคนชั่ว" หล่อนถูกผู้ชายหลอกลวงให้ก้าวเข้าสู่เส้นทานของโสเภณีและบีบบับคับให้ เป็นโสเภณี บทที่ 3 วิเคราะห์เปรียบเทียบมูลเหตุทางสังคมกับอารมณ์ทางโลกของโศกนาฏกรรม ความรักของชาย-หญิง โดยเปรียบเทียบในด้านความรักกับอคติ (ความไม่มีทางเลือกภายใต้ประเพณีนิยมในระบบศักดินา) ไม่ได้รักกับเงินทอง (ความตกอับของชีวิตภายใต้แรงขับเคลื่อนทางด้านความปรารถนา) อุดมคติกับความหวังที่ดับสูญ (การคิดทบทวนของสังคมภายใต้โศกนาฏกรรมความรัก) บทที่ 4 วิเคราะห์เปรียบเทียบเทคนิคการประพันธ์ของทั้งสองเรื่องในด้านการบรรยายภาพลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของตัวละคร เค้าโครงที่เป็นจุดเด่นของเรื่อง และท่วงทำนองทางภาษา จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางสังคมและกลวิธีการประพันธ์ของนักเขียนในเชิงอัตถนิยมของวงการวรรณคดีสมัยใหม่และร่วมสมัย
This theis aims to compare two literatures of Eileen Chang (Zhang Ailing), the leading female novelist of contemporary Chinese literature and Kor. Surangkanang, honorable Thai female novelist who is one of the national artists in Literature "Half Life Fate" and "The Prostitute" of the two novelists were selected to be compared. Both novels portray the tragedy of love that resulted from cultural and soical value in feudalism age of each country. In addition, women's right and their position are reflected as well. Parallel research approach is used in this research which is separated into 4 chapters. Chapter 1 compares the novelist's background. Zhang Ailing's first work about politics "18 Springs" was adapted to be "Half Life Fate" in the colorful period of Chinese politics became diminish. She turned back to her old style writing which was a story betweeb man and woman. While the purpose on writing "The Prostitute" of Kor. Surangkanang was she tried to understant as well as find causes and reasons of woman who lived her life among the sinful community. So as to prove the fact of the woman via the story of wicked and harted in this unpleasant society which everyone was in a dilemma to speak out. To survive in the society must strive unlimitedly. Chapter 2 analyzed main ideas in each book by comparing the main content of the stories, together with analysis of male and female characters. It was found that the female characters of both stories were the prostitutes who had the pitiful fate. Nevertheless, the reason in becoming a prostitute was dissimilar. Ku Man Lu of "Half Life Fate" sold herself since her aspiration for everyone in her family survived and lived out poverty. She was forces to this disgraceful ways to because of shortage. Whereas, Ruen of "The Prostitute" was deceived into the fleshly sphere and forced to be a prostitute by a man. In chapter 3 social and emotional drives of male's and female's love tragedy are analyzed by comparing love and prejudice (non-alternative way under deep-rooted tradition of feudalism system) lovelessness and wealth (debility of lives under longing-desire drive) ideal and loss in hope (revised thought of society under the tragedy of love). Finally, chapter 4 compares the writing technique of both literatures in describing image that created the distinctive theme of each character, including plot an d language tone usage. The analysis reveals the social value and writing strategy of writers in realism way of modern and contemporary literature.
张爱玲是中国现代文坛的著名的女作家之一。高·素朗卡娘是在泰国享有盛誉的女作家。通过对《半生缘》与《风尘少女》这两部作品比较研究,我们发现这两部作品都是描述爱情悲剧的小说,显示出当时两国社会文化对人们思想与生活的重大影响力,同时也反映出妇女的角色与地位。 本文以比较研究方法进行研究。首先,对两部作品的创作背景进行比较分析。从《十八春》创作初涉政治到《半生缘》的刻意淡化政治色彩,兜兜转转18年,张爱玲又还原了那个“只是写些男女间的小事情”的奇女子。高·素郎卡娘创作《风尘少女》的目的,就是她彻底了解及尽量寻找具体问题产生的原因,包括维持邪业之存在原因,为的是想证明妇女之所以要从事这种社会嫌弃的邪业,不是为了荣华富贵,而是因为每人都有难言的苦衷,为了在社会生存,也必须拼死拼活的。其次,对两部作品中主题思想的比较以及对女主人公与男主人公的形象的的比较。通过张爱玲的《半生缘》与高·素郎卡娘的《风尘少女》这两部作品的比较,我们发现两部作品的女主人公都是妓,都有着悲惨的命运,但各自沦为妓女的原因却有所不同。《半生缘》中的顾曼璐只想为了家庭,为了让全家人能维持生活,不困难,被逼无奈牺牲自己进入了花花世界中。《风尘少女》中的乐则是被人诱骗,踏上了卖淫之路,是被迫成为妓女的。第三,进而深入探讨男女爱情悲剧的社会根源与情感世界;在两部作品中包括爱情与偏见——封建传统下的无奈抉择,无爱与钱财——欲望驱使下的人生沦落和理想与幻灭——爱情悲剧下的社会反思。最后,探讨了两部作品中的艺术构思,对两部作品人物形象塑造,情节结构特点,语言风格的异同进行了比较分析。通过研究两部作品揭示现代文学现实主义作品的特点创作手法和社会意义。
Description: Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2011
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/949
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn-Bunprakob.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.