Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/987
Title: | 中泰出版社《旅遊漢語》教材對比研究——以中國上海大學出版社《旅遊漢語》與泰國素可泰大學出版社《旅遊漢語》為例 |
Other Titles: | การศึกษาเปรียบเทียบหนังสือเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้และสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช A Comparative Analysis of Chinese Tourism Textbook : Comparing Two "Tourism Chinese" Textbooks Published by Shanghai University and Sukothai Thammathirat University |
Authors: | 田春來 Tian, Chunlai 張崇斌 วิรทัต ศรีสมบัติ Viratutch Srisombat Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies |
Keywords: | ภาษาจีน -- การใช้ภาษา 汉语 -- 语言使用 Chinese language -- Usage ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน -- ไทย Chinese language -- Study and teaching -- Thailand 汉语 -- 学习和教学 -- 泰国 ภาษาจีน -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ 汉语 -- 对外教科书 Chinese language -- Textbooks for foreign speakers อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว Tourism 旅游产业 |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | 綜觀全世界,中國人扮演著舉足輕重的角色,中文的重要性更是不言而喻;中國遊客在泰國的觀光旅遊佔了百分之三十以上,而且有逐年增加的趨勢,泰國旅遊業為泰國經濟增長主要的支柱,中國遊客是泰國旅遊從業的大市場,但會講中文的泰國相關旅遊業的人員卻不夠。有鑑於此,為了提高泰國的旅遊服務及旅遊漢語教學水平,筆者將兩套具有代表性和在泰國廣泛使用的中國上海大學出版社《旅遊漢語》和泰國素可泰探馬提叻遠端教育大學出版社《旅遊漢語》進行對比分析,找出兩者的優缺點,從而語旅遊漢語教材提供一些建議,同時為筆者的學習對象編寫適合他們的旅遊漢語教材。本文的第一章主要介紹介紹了本次研究的選題背景和研究意義,介紹了相關文獻和國內外的相關研究狀況,最後介紹了本文使用的理論和研究方法。其次,本文介紹了泰國旅遊漢語教學的情況、兩套要分析的教材並說明選擇原因。然後從教材編寫體例、課文、詞彙、語法、練習題五個方面,將兩套《旅遊漢語》進行對比。第五章是編寫體例的方面的分析,旅遊漢語教材除了課文、生詞、註釋、練習之外,還要增加教學目的、旅遊素材和綜合前幾個單元的練習。第六章課文方面的分析,旅遊漢語教材必須包含遊、行、娛、食、住、購等旅遊活動的主題,每個主題的比例也必須要均衡,同時也要貼近真實工作情境並具有趣味性和現代性。第七章是詞彙方面的分析,詞彙必須根據呈現在課文先後順序來進行編排,每單元生詞的分配也要做到均衡,生詞量適當,難度適合學習對象的漢語水平,也要考慮到詞彙的實用性。第八章語法方面的分析,雖然旅遊漢語重視口語能力,但也不能忽略語法的重要性,旅遊漢語教材也必須要提供一定的語法知識。第九章是練習方面的分析,發現兩套教材都沒有提供學習者全面的語言技能的訓練,教材類型因該包含理解型、機械型、交際型和任務型四個種類的練習。第十章是筆者對本次研究的總結。本論文最後提供了筆者根據研究的成果嘗試編寫的一課旅遊漢語教材,供讀者參考。 ปัจจุบันชาวจีนมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก ดังนั้นคงยากที่จะปฏิเสธว่าประเทศจีนนั้นมีอิทธิพลต่อทุกอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนาอยู่ในปัจจุบันนี้ ในจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทยทั้งหมด เกิน 30% เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน และมีแนวโน้มที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเพิ่มขึ้นทุกปี การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย นักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบ้านเราตอนนี้ อย่างไรก็ตาม เรามีกำลังคนที่พูดภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่วไม่เพียงพอ ต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีน ดังนั้นเพื่อยกระดับคุณภาพการบริการและปรับปรุงการศึกษาวิชา "ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว" ในประเทศไทย ผู้เขียนจึงอยากวิเคราะห์เปรียบเทียบหนังสือเรียน "ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว" สองเล่มที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างหนังสือ "ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว" ของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ และจากสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อหาข้อดีและจุดด้อยของหนังสือทั้งสองเล่ม จากนั้นผู้เขียนจะรวบรวมและเรียบเรียงพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนตำราภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว รวมทั้งทดลองเขียนหนังสือเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวที่เหมาะกับนักเรียนของผู้เขียนเองจากผลการวิจัยครั้งนี้ส่วนแรกผู้เขียนแนะนำเหตุผลของการวิจัย วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดจนทฤษฎีและวิธีการที่ใช้ในการวิจัยนี้ส่วนที่สองเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยที่ตัวผู้สอนสอนอยู่ และเหตุผลที่เลือกวิจัยตำราเรียนทั้งสองเล่มนี้หลังจากนั้นจะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบตำราเรียนทั้งสองเล่มในด้าน รูปแบบการเขียน บทเรียน คำศัพท์ ไวยากรณ์ และแบบฝึกหัดบทที่ 5 เป็นการวิเคราะห์รูปแบบการเขียน นอกเหนือจากข้อความ คำศัพท์ ไวยากรณ์ และแบบฝึกหัดแล้ว หนังสือเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวยังต้องเพิ่มวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และแบบฝึกหัดที่รวมความรู้ของบทเรียนก่อนหน้าด้วยจากการวิจัยพบว่า มีเพียงหนังสือจีนเพื่อการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเท่านั้น ที่ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และแบบฝึกหัดรวมความรู้ของบทเรียนก่อนหน้าบทที่ 6 เป็นการวิจัยเกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละบทเรียน ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาทิเช่น อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม การเดินทาง กิจกรรมท่องเที่ยว ซื้อของ บันเทิง ฯลฯ นอกจากนี้สัดส่วนของแต่ละหัวข้อต้องสมดุลกันด้วย ต้องใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง เนื้อหาต้องน่าสนใจ บริบทเหมาะสมกับผู้ใหญ่และเป็นปัจจุบัน จากการวิจัยพบว่าสัดส่วนของเนื้อหาแต่ละหัวข้อในหนังสือทั้งสองเล่มนั้นไม่สมดุลกันบทที่ 7 เป็นการวิจัยเกี่ยวกับคำศัพท์ ซึ่งคำศัพท์ต้องเรียงตามลำดับตามลำดับก่อนหลังที่พบในบทเรียน จำนวนคำศัพท์ใหม่ในแต่ละบทเรียนต้องมีปริมาณใกล้เคียงกัน มีปริมาณที่เหมาะสมและความยากง่ายต้องเหมาะสมกับความสามารถทางภาษาที่มีของผู้เรียน จากการวิจัยพบว่าหนังสือทั้งสองเล่มแม้จะมีการเรียงลำดับตามลำดับก่อนหนังที่พบในบทเรียน แต่จำนวนศัพท์ใหม่ในแต่ละหน่วยนั้น มีจำนวนต่างกันมากเกินไป บทที่ 8 เป็นการวิจัยในด้านไวยากรณ์ แม้ว่าทักษะการฟังและการพูดจะเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับวิชาภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว แต่ก็ไม่สามารถละเลยความสำคัญของไวยากรณ์ได้ ดังนั้น หนังสือเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวจึงต้องให้ความรู้ด้านไวยากรณ์แก่นักเรียนด้วย จากการวิจัยพบว่า หนังสือภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้นั้นถึงแม้จะมีคำอธิบายไวยากรณ์แต่ไวยากรณ์นั้นง่ายเกินไป ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวิชาเรียน ส่วนหนังสือเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนั้นไม่มีการแยกส่วนการอธิบายไวยากรณ์ที่ชัดเจนบทที่ 9 เป็นการวิจัยในด้านแบบฝึกหัด หนังสือเรียนทั้งสองเล่มไม่ได้มีแบบฝึกหัดที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาแบบครอบคลุม หนังสือเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวควรมีแบบฝึกหัด 4 ประเภท ได้แก่ ความเข้าใจ การท่องจำ การสื่อสาร และการให้ภาระงานบทที่ 10 เป็นบทสรุปของการวิจัยครั้งนี้ในตอนท้ายของวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนได้ใช้ผลจากการวิจัยครั้งนี้ แต่งบทเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว หวังว่าจะเป็นแนวทางในการเขียนหนังสือเรียนภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวต่อไป Looking at today’s world, the Chinese indescribably play a very significant role. Thus, it goes without saying the Chinese language has become an essential skill in certain industries. Tourism is the main industry to drive Thailand’s economy. Recently, the Chinese tourist population accounts for more than 30% of the total tourist figure in Thailand and is still growing steadily. However, Thai people are not sufficiently fluent in Chinese language. Thus, in order to upgrade service quality and improve “Tourism Chinese” education in Thailand, this research will do a comparative analysis on the two widely used "Tourism Chinese" textbooks, which are published at Shanghai University, China and at Sukhothai Thammathirat University, Thailand. A further goal is to look for the strengths and weaknesses of the two and provide some suggestions regarding writing a tourism Chinese textbook, as well as to write a tourism Chinese textbook that is suitable for the author’s students. The first chapter introduces the research background, some relevant literature and research in Thailand and overseas, the theory and methods that were used in this research.The second part introduces the characteristics of Tourism Chinese teaching in Thailand, the two textbooks and the reason why they were chosen.Chapter 5 to 9 are the comparative analyses of the two textbooks considering five aspects, which are the writing style, the text, the vocabulary, the grammar and the exercises.Chapter 5 is the analysis of the writing style. Apart from the texts, vocabulary, grammar and exercises, the Tourism Chinese textbooks also need to add class objectives, travel materials and exercises that include the knowledge of the previous units. The research found that only one of them provides class objectives, travel materials and exercises that include the knowledge of the previous units.Chapter 6 is the analysis of the text, which must include the information about traveling activities like food and beverages, hotel, transportation, traveling activities, shopping, entertainment. Each topic has to be covered evenly. At the same time, the text must be applicable to an in-real-life working environment, yet the context must be interesting for adults, and be up to date. The research indicated that the topics are not covered evenly. Chapter 7 is the analysis of vocabulary. The vocabulary must be arranged according to the order presented in the text. The distribution of new words in each unit must be balanced, the amount of new vocabulary has to be digestible, and the difficulty must suit their Chinese ability. According to the research, the distribution of new words in each unit of both text books is not balanced. However, the vocabulary is arranged according to the order presented in the text.Chapter 8 is the analysis of grammar. Listening and speaking seem to be the most important skills for Tourism Chinese, yet the importance of grammar cannot be ignored. Therefore, Tourism Chinese textbooks must also provide certain knowledge of grammar to the students. However, the research indicated that one text book provides knowledge of grammar, but the level of difficulty is still not enough to meet the class objective, while another one does not provide a proper grammar explanation section.Chapter 9 is the analysis of the exercises. The Tourism Chinese textbook should include four types of exercises: understanding, mechanical, communicative and task-based. The research indicated that both textbooks do not provide comprehensive language skills training to learners. Chapter 10 is the summary of this research.At the end of the thesis, based on the research results, the author has compiled travel Chinese teaching material for the readers' reference. |
Description: | Thesis (M.A.) (Teaching Chinese) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2022 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/987 |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Viratutch-Srisombat.pdf Restricted Access | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.