Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/996
Title: 泰国东部公立学校高中汉语语音教学模式与方法调查
Other Titles: การวิจัยรูปแบบการสอนระบบการออกเสียงภาษาจีนและวิธีการสอนการออกเสียงของโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกของประเทศไทย
The Survey of Teaching Models and Teaching Methods for Chinese Pronunciation System in the Upper Secondary Govermental Schools in The Eastern Part of Thailand
Authors: 谢仁敏
Xie, Renmin
杨玉苹
วันเพ็ญ อุดแก้ว
Keywords: ภาษาจีน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Chinese language -- Study and teaching (Secondary)
汉语 -- 学习和教学 (中学)
ภาษาจีน -- การออกเสียง
Chinese language -- Pronunciation
汉语 -- 发音
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย (ภาคตะวันออก)
High schools -- Thailand, Eastern
中学 -- 泰国 (东部)
Issue Date: 2013
Publisher: Huachiew Chalermprakiet University
Abstract: ตามที่กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ได้มีการเปิดกว้างและสนับสนุนในด้านการเรียนการสอนภาษาจีนและได้มีการกระตุ้นให้โรงเรียนของรัฐบาลเปิดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนรัฐบาลพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นักเรียนที่เลือกเรียนหลักสูตรภาษาจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเรียนการสอนภาษาจีนจึงอยู่ในช่วงพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกันก็ยังมีปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้น การสอนภาษาจีนของโรงเรียนรัฐบาลในภาคตะวันออกของประเทศไทยก็เช่นกันยังคงพบปัญหาอีกมาก แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือปัญหาในเรื่องรูปแบบการสอนระบบการออกเสียงและวิธีการสอนออกเสียงของครูผู้สอน รูปแบบการสอนและวิธีการสอนทุกๆ รูปแบบและทุกๆ วิธี จะมีบทบาทและลักษณะพิเศษของวิธีการสอนแต่ละรูปแบบ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการตอบแบบสอบถามในการหาข้อมูลเชิงลึกและรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการสอนระบบการออกเสียงภาษาจีนและวิธีการสอนของโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกของประเทศไทย งานวิจัยฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่รูปแบบการสอนระบบการออกเสียงภาษาจีนและวิธีการสอนการออกเสียง โดยเป้าหมายในการวิจัยคือครูผู้สอนภาษาจีนชาวจีนและครูผู้สอนภาษาจีนชาวไทยโดยทำการสอนใน 7 จังหวัดของภาคตะวันออกของประเทศไทย การออกแบบรูปแบบการออกเสียงและการนำไปใช้ในการสอนระบบการออกเสียงภาษาจีนและวิธีการสอนการออกเสียงของครู ซึ่งรวมถึง การสอนพยัญชนะ การสอนสระ และการสอนวรรณยุกต์ นอกจากนี้ยังได้นำทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการสอนและวิธีการสอนมาทำการวิเคราะห์ทางสถิติ งานวิจัยฉบับนี้ได้นำรูปแบบการสอนระบบการออกเสียง 6 รูปแบบ และวิธีการสอนอีก 17 วิธี มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติ นำเสนอถึงความแตกต่างและการเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการสอนการออกเสียงและวิธีการสอนการออกเสียง เพื่อหาสิ่งที่มีประสิทธิภาพและวิธีที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนรัฐบาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย การวิเคราะห์แบบสอบถามแสดงให้เห็นถึงข้อได้เปรียบ อุปสรรคและปัญหาที่เผชิญอยู่ของรูปแบบการสอนระบบการออกเสียงภาษาจีนและวิธีการสอนของโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกของประเทศไทย
With the Ministry of Education of Thailand broadly opening and supporting Chinese language education and the encouragement to the upper secondart schools for adding Chinese classes. Chinese language education has been developing rapidly and the number of students choosing Chinese language has also been increasing. However, there are still mant problems occurres in teaching and studying Chinese language of the governmental schools in the eastern part of Thailand. The prominent problems are teachers' models and methods of teaching Chinese pronunciation system. As each teaching model and teaching method has its own roles and specialties for each situation. The author used the questionnaire for determining specific data and details of Chinese pronunciation's teaching models and teaching methods of the upper secondary governmental schools in the eastern part of Thailand. This research focuses on the teaching models and the teaching methods for teaching Chinese language pronunciation system. The main target of this research are Thai and Chinese teachers who are currently teaching Chinese Language in 7 provinces in the eastern part of Thailand. The main content consisted of the designing of the pronunciation teaching models and methods and how teachers apply them in teaching Chinese pronunciation system, which included alphabets, vowels, and intonation marks. This research also uses theories of teaching models and teaching methods for statistical analysis, which consists of 6 pronunication patterns and 17 teaching models then displays the differences and the connection between these teaching models and teaching methods to determine the most efficient and suitable approach to use with upper secondary governmental schools in the eastern part of Thailand. The analysis of the questionnaire shows the advantages, disadvantages and problems of the current teaching models and teaching methods for Chinese pronunciation system in the upper secondary governmental schools in the eastern part of Thailand.
随着泰国教育部对汉语教学的开放和支持,并鼓励高中公立学校开设汉语课程,使泰国高中公立学校汉语教学飞速的发展。选择学习汉语课程的学生也不断增加,汉语教学在不断的发展过程中也出现了一定的问题。 目前来说,泰国东部公立学校的汉语教学也不另外,还存在很多问题,而最为突出的问题就是汉语教师的语音教学模式和语音教学方法的问题。每种教学模式和教学方法都有它特定的作用和形式。笔者通过调查问卷的形式对当前泰国东部公立学校高中汉语语音教学模式与方法进行深入的对比和研究。 本论文把研究重点放在汉语语音教学模式和语音教学方法,以设在泰国东部7个府中所教汉语的中国教师和泰国本土教师为研究对象。语音教学模式和语音教学方法包括:在教学的过程中,教师对汉语的声母,韵母和声调所设计和使用的,并在教学模式和教学方法的理论上进行统计和分析的。本文从6种教学模式和17种教学方法来进行研究,提出两者之间的区别和联系,从而寻找更为有效并适合泰国东部学生的教学模式与教学方法。问卷分析结果显示了泰国东部公立学校高中汉语语音教学模式与方法的优势,所面临的困难及存在的问题。
Description: Thesis (M.A.) (Teaching Chinese) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2013
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/996
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanphen-Oudkaew.pdf
  Restricted Access
52.5 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.