Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/999
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภุชงค์ เสนานุช-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมth
dc.date.accessioned2022-12-29T15:09:09Z-
dc.date.available2022-12-29T15:09:09Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/999-
dc.descriptionการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2541th
dc.description.abstractการวิเคราะห์ปัญหาและนโยบายด้านการจัดสาธารณภัยในประเทศไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการเกิดสาธารณภัย 2) วิเคราะห์นโยบายและแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาสาธารณภัยและ 3) ศึกษาบทบาทและวิธีการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสาธารณภัย การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงวิเคราะห์เอกสารเน้นสาธารณภัยที่เกิดขึ้น คือ วาตภัย อุทกภัย และอัคคีภัย เฉพาะที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2530-2540 ผลการศึกษาพบว่า 1) ในรอบทศวรรษที่ผ่าานมาสาธารณภัยทั้งวาตภัย อุทกภัย และอัคคีภัย ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ตลอดจนระบบเศรษฐกิจ ต้องเสียงบประมาณเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูเป็นจำนวนมหาศาล และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี 2) นโยบายการจัดการสาธารณภัย แม้นว่าจะเกิดสาธารณภัยรุนแรงบ่อยครั้ง รัฐบาลแต่ละคณะก็ไม่ค่อยได้ให้ความมสำคัญเท่าใดนัก นอกจากนี้ในแผนการพัฒนาประเทศก็ไม่มีการวางแผนไว้ชัดเจน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในด้านการสงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ประสบภัยภายหลังเกิดภัยเท่านั้น และเพิ่งจะมีการเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นการเตือนภัย การป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย และเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการช่วยเหลือฟื้นฟูควบคู่ไปด้วยกันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) 3) องค์กรที่มีบทบาทในการจัดการสาธารณภัยมีอยู่ด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ องค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมาย องค์กรที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติงานในขณะเกิดสาธารณภัยและองค์กรภาคเอกชน ที่สำคัญองค์กรเหล่านี้ยังขาดการประสานงานอย่างเป็นระบบทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือองค์กรที่เกี่ยวข้องควรมีการร่วมกันจัดทำแผนที่แสดงบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ องค์กรท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันภัย อันจะช่วยบรรเทาความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ควรประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ คำแนะนำ ตลอดจนอบรมแก่ประชาชนองค์กรท้องถิ่น ให้ตระหนักถึงปัญหาสาธารณภัย และร่วมมือกันหาแนวทางในการจัดทำแผนหรือโครงการพัฒนา เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ตนเอง ควรพัฒนาโครงสร้างและกลไกที่มีอยู่ให้มีความชัดเจนในภารกิจความรับผิดชอบ โดยมีองค์กรหลักในการประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน การกำหนดนโยบายการจัดการสาธารณภัยควรมุ่งเน้นการป้องกันบรรเทามากขึ้น ควรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและองค์กรภาคเอกชนในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค และที่สำคัญรัฐควรมีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานโดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้เอื้อต่อการดำเนินงานขององค์กรภาคเอกชนth
dc.description.abstractThis research was aimed to analyze the situations and trends of diaster policies and planning of disaster management and to study the public roles of organization involved. The documentary research method used of this study was emphasized of windstroms, floods and fires which occured during 1987-1997. The findings were follows: 1) Situation are trends of disaster in the past ten years, disaster had caused huge damage to human lives abd properties as well as to the economic system of the country. The Government had to spend large amounts of money for emergency relief and rehabilitation for diaster victims. Additionally, the number of disasters had tended to increase. 2) Policies in disaster management. Formerly, the government's policies and National Plans paid little attention to disaster management. Mostly, government's policies and National Plan concentrated on assisting victims after the event, Warning, prevention and mitigating approaches, however, have been implemented in the 8th National Plan (1997-2001). 3. Group of organizations involved Organization involved with disasters could be classified into three groups; legal authorized organizations, circumstantial specific organizations and non-governmental organizations. Research outcomes suggested that zones of high risk should be mapped for utilizing in the preventive approaches of local people and involved agencies. Local people should be provided with knowledge concerning disasters to promote their safety awareness and to enccourage their collaboration in developing appropriate preventive plans for their community. In addition, the organization's structure adn mechanism of disaster managemenr should be more clearly and precisely improved in terms of roles and responsibilities. Co-organization is also needed to eliminator overlapping in responsibilities. Disaster management should be focused more on prevention and mitigation. Both GO and NGO should take part in developing operation plan for assisting disaster victims at central and local levels. Government assistence is needed regulators.-
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectภัยพิบัติ -- ไทยth
dc.subjectDisasters -- Thailandth
dc.subjectภัยธรรมชาติth
dc.subjectNatural disastersth
dc.subjectวาตภัยth
dc.subjectStormsth
dc.subjectอุทกภัยth
dc.subjectFloodsth
dc.subjectอัคคีภัยth
dc.subjectFiresth
dc.titleการวิเคราะห์ปัญหาและนโยบายด้านการจัดการสาธารณภัยในประเทศไทยth
dc.title.alternativeProblem and Policy Analyses of Disaster Management in Thailandth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf269.37 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontent.pdf77.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf296.11 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf677.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf419.3 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf241.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.