การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของธุรกิจที่มีผลต่อความสามารถในการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปประเทศจีน (2) ศึกษาศักยภาพของประเทศจีนทางภาคตะวันตกที่เป็นตลาดสำหรับข้าวหอมมะลิไทยในอนาคต (3) นำเสนอกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิไทยในประเทศจีน งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างครอบคลุมทั้งผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปประเทศจีน ผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก การวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในของธุรกิจที่มีผลต่อความสามารถในการส่งออกข้าวหอมมะลิไปประเทศจีน พบว่า กิจกรรมพื้นฐานที่เป็นจุดแข็งของผู้ประกอบการมีหลายปัจจัย เช่น การควบคุมคลังสินค้าที่ดี การตรวจสอบข้าวมีคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ส่งออกมีความเหมาะสม เข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายได้ดี ข้าวหอมมะลิไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นต้น ในขณะที่กิจกรรมสนับสนุนที่เป็นจุดแข็งของผูู้ประกอบการ เช่น การจัดหาข้าวได้มาตรฐานสูงเพื่อการส่งออก การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการส่งออก การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจมีประสิทธิภาพ เป็นต้น กิจกรรมพื้นฐานที่เป็นจุดอ่อน เช่น ต้นทุนการขนส่งและการผลิตสูง และการให้ความรู้แก่ลูกค้ายังน้อยอยู่ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมสนับสนุนที่เป็นจุดอ่อน เช่น การพัฒนาการผลิตร่วมกันยังไม่ดีพอ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออกยังน้อยอยู่ การฝึกอบรมบุคลากรน้อย ขาดการจูงใจพนักงานให้เกิดความพึงพอใจในงาน แหล่งเงินทุนไม่เพียงพอ ระบบข้อมูลที่สนับสนุนการส่งออกไม่ดีพอ และความสัมพันธ์ภาครัฐและเอกชนไม่ค่อยเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อผลักดันนโยบายข้าวหอมมะลิไทย เป็นต้น ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสในการสนับสนุนการส่งออกข้าวหอมมะลิไทย เช่น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนที่สูง รายได้ต่อหัวที่สูงขึ้นของจีน มีความร่วมมือระหว่างจีนกับไทย การเมืองจีนมีเสถียรภาพ ค่านิยมของคนจีนที่มีต่อสินค้าต่างประเทศค่อนข้างดี อัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นของจีน ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลาย มีเทคโนโลยีและความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน เป็นต้น ในขณะที่ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่แน่นอน อัตราเงินเฟ้อจีนและอัตราดอกเบี้ยของจีนที่สูงขึ้น กฎระเบียบทางการค้าในจีนมีจำนวนมาก มีภัยธรรมชาติค่อนข้างมากในจีน การเข้ามาของคู่แข่งขันใหม่ สภาวะการแข่งขันสูง มีสินค้าที่ทดแทนกันสูง อำนาจต่อรองของผู้นำเข้า และอำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์ข้าวที่มีค่อนข้างมาก เป็นต้น 2. การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ทางภาคตะวันตก พบว่า พื้นที่เหล่านี้เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการอยู่หลายประเด็น เช่น เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ มีการใช้จ่ายประเภทอาหารจำนวนมาก มีแหล่งค้าปลีกขนาดใหญ่จำนวนมาก การเมืองมีเสถียรภาพ มีระบบโลจิสติกส์ที่ดี มีนโยบายการพัฒนาที่มุ่งสู่จีนตะวันตก ระบบพิธีการทางศุลกากรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เป็นต้น ส่วนอุปสรรคของพื้นที่ เช่น ระยะทางการขนส่งสินค้าที่ใช้เวลนาน การขนส่งผ่านแม่น้ำโขงทำได้ไม่สะดวก ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารค่อนข้างจำกัด การใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลในการทำธุรกิจมีค่อนข้างมาก มีการกีดกั้นทั้งมาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษีจำนวนมาก โควต้าการนำเข้าข้าวมีจำกัด และมีข้าวหอมมะลิผสมหรือปลอมปนอยู่จำนวนมาก เป็นต้น 3. กลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิไทยในประเทศจีน มีดังนี้ 3.1 กลยุทธ์ทางธุรกิจเชิงรุก เป็นสถานการณ์ที่จะใช้จุดแข็งก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรธุรกิจจากโอกาสที่มีอยู่ ประกอบด้วย ด้านการตลาด ได้แก่ (1) ภาครัฐควรสนับสนุนการสร้างตราสินค้าที่เป็นของไทย (2) ผู้ประกอบการควรหาช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ ที่ใกล้ชิดผู้ซื้อชาวจีน (3) ภาครัฐควรสนับสนุนโครงการศูนย์จำหน่ายและกระจายข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันตก (4) ผู้ประกอบการควรสร้างพันธมิตรด้านโลจิสติกส์กับผู้นำเข้าจีน (5) ผู้ประกอบการควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งออกข้าว (6) ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์เชิงรุกในประเทศจีนด้านการผลิต ผู้ประกอบการควรลดการพึ่งพาสารเคมี ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (1) ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องควรฝึกอบรมผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ค้าในจีน (2) ผู้ประกอบการควรสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกทางธุรกิจกับนักธุรกิจจีน (3) ภาครัฐควรให้ข้อมูลความร่วมมือทางการค้าระหว่างไทยกับจีนแก่ผู้ประกอบการ 3.2 กลยุทธ์เชิงรับ เป็นสถานการณ์ที่พยายามลดจุดอ่อนให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นภัย ประกอบด้วย ด้านการตลาด (1) ภาครัฐควรเจรจาขยายโควต้านำเข้าข้าวจากจีน (2) ผู้ประกอบการควรมีเครือข่ายเพื่อการส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ด้านการผลิต (1) ผู้ประกอบการควรเพิ่มมาตรฐานการผลิตและพัฒนาสินค้าข้าว (2) ผู้ประกอบการควรทำการแปรรูปข้าว (3) ผู้ประกอบการควรเลือกใช้เส้นทางการขนส่งภายในประเทศที่มีต้นทุนต่ำ และรวดเร็ว (4) ผู้ประกอบการควรเลือกเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศให้เหมาะสม (5) ภาครัฐควรควบคุมมาตรฐานด้านสุขอนามัยข้าวของชาวนาและโรงสีข้าว (6) ภาครัฐควรเพิ่มบทลงโทษผู้ที่ใช้สารตกค้าง (7) ผู้ประกอบการควรนำการตรวจสอบย้อนกลับที่มีคุณภาพมาใช้ ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (1) ภาครัฐควรจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวหอมมะลิไทยในประเทศจีน (2) ภาครัฐควรจัดตั้งทีมเฉพาะกิจในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรับมือกับปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิไทย 3.3 กลยุทธ์เชิงแก้ไข เป็นสถานการณ์ที่เอาชนะจุดอ่อนและสร้างข้อได้เปรียบจากโอกาส ประกอบด้วยด้านการตลาด ผู้ประกอบการควรปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ด้านการผลิต (1) ผู้ประกอบการควรสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต (2) ภาครัฐควรสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร และ (3) ภาครัฐควรให้ความรู้เรื่องการจัดการเพาะปลูกแก่ชาวนา ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (1) ภาครัฐควรส่งเสริมเงินทุนและลดขั้นตอนการส่งออก (2) ผู้ประกอบการควรเรียนรู้ภาษาและขนบธรรมเนียมของคนจีน (3) ผู้ประกอบการควรปรับปรุงองค์กรของตนเอง (4) ภาครัฐควรทบทวนโครงการจำนำข้าว 3.4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน เป็นสถานการณ์ที่ใช้จุดแข็งชนะ หรือหลีกเลี่ยงอุปสรรค ประกอบด้วย ด้านข้อมูลของประเทศจีน (1) ภาครัฐควรจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดจีนทางตะวันตกให้กับผู้ประกอบการ (2) ภาครัฐควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบต่างๆ ของจีนที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้าวแก่ผู้ประกอบการ ด้านการผลิต ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย อย่างไรก็ตามผู้วิจัยเห็นว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับการพัฒนาศักยภาพและตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิไทยในอนาคต คือ ความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐบาล
The objectives of this research were to (1) study internal and external factors of business which affect Thai Jasmine rice export to China, (2) study the potential of Westen China to be a Thai Jasmine rice market in the future, and (3) present appropriate business strategies to develop to Thai Jasmine rice market. In this research both quantitative and qualitative data were used to answer the main research question. Research covered representative samples of rice exporters to China, government and private sectors. Data analysis consisted of internal factor evaluation, external factor evaluation, content analysis, and descriptive statistics. The results could be summed up as follows: 1. The internal business factors affected to Thai Jasmine rice's export to China, we found that there were basic activities that can be considered as enterpreneur's strengths. Examples of such strengths included : an effective warehouse control, a high-quality monotoring procedure, a suitable package for export, favorable access to distribution channels and a distinguishable brand. While support activities were also considered as entrepreneur's strengths which included: a high standard of rice availability for export, a compatible technology use, an effective business strategic planning.The absence of basic activities were viewed as part of the entrepreneur's weaknesses. Examples of such weakness included: high transportation and production costs, and insufficient information assistance to customers. Support activities were weaknesses such as a weak cooperation in regards to production developemnt, a lack of package development for export, substandard training for employees, lack of motivation and enthusiasm to work, insufficient financial resources, a poor export information support and an unrealible relationship between government and private sectors to push Thai Jasmine rice's policies. However, the results of external business factors also affected Thai Jasmine rice's export to China. We found that external factors were opportunities to support Thai Jasmine rice. Examples of such opportunities included: its high economic growth, its high-income per capita, a lot of cooperation between Thailand and China, its increasing political stability, recognized Chinese preference for imported goods, rising labor cost, various communication channels, and numerous technological and goverbment assistance. While these external factors also presented threats to entrepreneurs. Examples of such threates included: a fluctuating currency exchange rate, a high inflation and interest rate, countless stringent trade rules, serveral natural and man-made disasters in China, new coming competitors, high competitors and substitution goods, high bargaining power of importers and suppliers. 2. The results of Western China's potential analysis, we found that Western China'a potential analysis revealed certain new opportunities for entrepreneurs. Examples of such opportunities included: a continuous economic growth, a large consumer's market, a wide variety of food expenditures, numerous supermarkets, a stable political climate, a reliable logistic sysetm, an energetic development policy to Western China, and an ameliorable customs system. However, its environmental factors presented threated to entrepreneurs. Examples of such threats included: lengthy transportation distances, an uncomfortable shipment along Mekonh River, a difference in language as a barrier to communication, using high personal relations to do business, a lot of tariff and non-tariff barriers, a limited rice import quota, and a deluge of artificial Thai Jasmine rice. 3. The appropriate business strategies to Thai Jasmine rice's market developmemt were following: 3.1 SO strategy pursued opportunities that a good fit to the company's strengths. In the area of marketing, we could summarize the appropriate business strategies to Thai Jasmine rice's market development as the following: (1) government sectors should support the creating of a Thai brand (2) entrepreneurs should find new distribution channels to be close to Chinese consumers, (3) government sectors should support distribution centers of Thai Jasmine rice in Western China, (4) entrepreneurs should have logistic networks with Chinese importers, (5) entrepreneurs should apply technologies for rice export, and (6) government sectors should extensively publicize in Western China. In the area of production, entrepreneurs should reduce a chemical substance's dependency. In the area of other things, there were the following: (1) government sectors and related private institutions should train Thai entrepreneurs to be traders in China, (2) Thai entrepreneurs should have deep business relationship with Chinese businessmen, and (3) government sectors should provide trade agreement information between Thailand and China to entrepreneurs. 3.2 WT strategy established a defensive plan to prevent the entrepreneur's weaknesses from making in highly susceptible to external threats. In the era of marketing, we could summarize the appropriate business strategies to Thai Jasmine rice's market development were the following : (1) government sectors should negotiate to increase rice quota from China (2) entrepreneurs should have a cluster of Thai Jasmine rice for export. In the area of production, we had the following: (1) entrepreneurs should increase production standards and develop rice products, (2) entrepreneurs should make a rice transfiguration, (3) entrepreneurs should use how costs and fast domestic transportations, (4) entrepreneurs should use suitable international transportations, (5) government sectors shouls control a sanitation standard of farmers and rice mills, (6) government sectors should increase punishments for chemical substances to be used in the rice, and (7) entrepreneurs shouls use a high quality traceability system. In the area of other things, we had the following: (1) government sectors should have special strategies of selling Thai Jasmime rice to China, and (2) government sectors should set ab ad hoc team to combat the artificial Thai Jasmine rice. 3.3 Wo strategu overcome weakness to pursue opportunities. In the area of marketing, entrepreneurs should develop rice packages. In the area of production, we had the following: (1) entrepreneurs should have a cluster of Thai's jadmine rice producers, (2) government sectors should support researches and agricultural technology developmemts, and (3) government sectors should educate farmers about agriculture managements. In the area of other things, there were following: (1) government sectors should support finances and reduce export processes, (2) entrepreneurs should learn about Chinese language and culture, (3) entrepreneurs should develop their organizations, and (4) government sectors should revise a rice pawn project. 3.4 ST strategy idenified ways thay the entrepreneurs could use their strengths to reduce their vulnerability to external threates. In the area of China's information, we could summarize the appropriate business strategies to Thai Jasmine rice's market developmemt were following : (1) government sectors should provide Western China's information to entrepreneurs, and (2) government sectors should give information of China's rules in rice trading to entrepreneurs. In the area of production, government sectors and related private institutions should develop a variety of Thai Jasmine rice species. Finally, we, the researchers, view that the important things needed are a great deal of stakeholders' cooperation and full government support. These will develop Thai Jasmine rice's potentials and export markets in the future.