การศึกษา เรื่อง "ความต้องการและความคิดเห็นของนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับคณะและสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน" มีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรวจความต้องการและความคิดเห็นของนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนเกี่ยวกับคณะและสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเปิดสอน เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะและการเปิดสอนสาขาวิชาต่างๆ รวมทั้งเป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาต่างๆ ของนักเรียนที่มาสมัครสอบเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นนักเรียนที่สมัครสอบเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1,170 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามจำนวน 26 ข้อ โดยให้นักเรียนที่มาสมัครสอบ ณ ห้องสำนักทะเบียนได้กรอกแบบสอบถามที่เจ้าหน้าที่ของโครงการวิจัยแจกและเก็บรวบรวมทันทีที่กลุ่มตัวอย่างตอบเสร็จ เมื่อจัดเก็บรวบรวมแบบสอบถามแล้วนำมาตรวจสอบและลงรหัสข้อมูล จากนั้นประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC* (Statistical Package for the Social Sciences/Personal Computer Plus) สถิติที่ใช้ได้แก่ CHi Square ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 1,170 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหญิงประมาณร้อยละ 73 มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมากที่สุด รองลงมาเป็นนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในภาคตะวันออกและเขตปริมณฑล กรุงเทพฯ มีอายุระหว่าง 17-18 ปี นักเรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตปริมณฑลและภาคตะวันออก รองลงมาเป็นนักเรียนที่เรียนในกลุ่มโรงเรียนสังกัดกรมอาชีวศึกษาในกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล กรุงเทพฯกับกลุ่มโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพฯ สำหรับที่ตั้งของโรงเรียนที่กลุ่มตัวอย่างเรียนจบมา ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ภาคตะวันออกและเขตปริมณฑล เมื่อศึกษาถึงสาขาวิชาที่กลุ่มตัวอย่างจบการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่เรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รองลงมาเป็นนักเรียนสาขาบัญชี ศิลป์คำนวณ และศิลป์ภาษา สำหรับวุฒิการศึกษาที่นักเรียนนำมาใช้สมัครสอบ ส่วนมากเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้แล้วคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักเรียนที่มาสมัครสอบ ส่วนมากอยู่ระหว่าง 2.00 ถึง 2.99 รองลงมาอยู่ระหว่าง 1.00 ถึง 1.99 ด้านข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนที่มาสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พบว่า บิดาและมารดาของนักเรียนส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย และนักเรียนอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีบิดามารดาอยู่ร่วมกัน การรับสือเกี่ยวกับการรับสมัครนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปรากฏว่านักเรียนที่มาสมัครเข้าเรียนส่วนใหญ่รับข่าวสารรับสมัครจากเพื่อน หนังสือพิมพ์และฝ่ายแนะแนวโรงเรียน นอกจากนี้แล้วการวิจัยนี้ได้สำรวจปัญหาและอุปสรรคที่นักเรียนประสบระหว่างการติดต่อสมัครสอบคัดเลือก พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาและอุปสรรค มีนักเรียนประมาณร้อยละ 21 ที่ไม่ทราบที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและอยู่ไกลจากบ้านพักมาก สำหรับความสะดวกและความประทับใจในการรับบริการจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พบว่านักเรียนได้รับความสะดวกมีความประทับใจในระดับดีร้อยละ 60 ขึ้นไป ส่วนในเรื่องอาคารสถานที่รับสมัคร การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครมารยาทของผู้รับสมัคร ความพร้อมในการรับสมัครและที่จอดรถ สิ่งที่นักเรียนเห็นว่าควรได้รับการปรับปรุง คือ การเดินทางมามหาวิทยาลัยและโรงอาหารกับที่จอดรถ มูลเหตุจูงใจที่ทำให้นักเรียนเลือกสมัครสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คือ มีสาขาวิชาที่ต้องการเรียน ชื่อเสียงที่ดีของมหาวิทยาลัย การเดินทางสะดวกหรืออยู่ใกล้บ้าน นักเรียนส่วนใหญ่เคยสมัครสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย 1 ครั้ง รองลงมาเป็นนักเรียนไม่เคยสมัครสอบเลย และจากการสำรวจถึงลักษณะการสมัครสอบคัดเลือกของนักเรียน ปรากฏว่าส่วนใหญ่สมัครที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแห่งเดียว รองลงมาเป็นนักเรียนสมัครสอบหลายแห่ง ด้านการสำรวจบุคคลที่สนับสนุนการศึกษาของนักเรียน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นบิดามารดาของนักเรียน ในเรื่องความสนใจของนักเรียนในการขอรับทุนการศึกษา ปรากฏว่ามีผู้สนใจขอรับทุนมากกว่าผู้ไม่สนใจประมาณร้อยละ 10 จากการศึกษาเหตุผลในการเข้าเรียนสาขาวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของนักเรียนที่สมัครสอบคัดเลือก ปรากฏว่านักเรียนเกือบร้อยละ 80 เลือกเรียนสาขาวิชาต่างๆ ตามความต้องการของตนเองและตามสาขาที่มหาวิทยาลัวหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเปิดสอน รองลงมาเป็นเหตุผลจากการมองแนวโน้มตลาดแรงงานและตามความต้องการของบิดามารดาหรือผู้ปกครองของนักเรียน คณะที่นักเรียนต้องการศึกษา นักเรียนที่สมัครเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติส่วนใหญ่ต้องการเข้าเรียนคณะวิทยาการจัดการ (ชื่อเดิมของคณะบริหารธุรกิจในปัจจุบัน) รองลงมาได้เป็นคณะวิทยาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ (ชื่อเดิมของคณะศิลปศาสตร์ในปัจจุบัน) ความคาดหมายที่นักเรียนประสงค์จะเรียนจนสำเร็จการศึกษาในคณะต่างๆ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่คาดหมายว่าตนจะเรียนจบในคณะวิทยาการจัดการ (แต่เป็นน่าสังเกตว่าร้อยละของนักเรียนที่คาดหวังว่าจะจบมีน้อยกว่าร้อยละของนักเรียนที่ต้องการเรียน) สำหรับคณะวิทยาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับคณะวิทยาการจัดการซึ่งมีร้อยละของนักเรียนที่ต้องการเรียนน้อยกว่าร้อยละของผู้ที่คาดหมายว่าตนจะศึกษาจนจบ นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนเป็นจำนวนมากที่ไม่ตอบว่าตนเองจะศึกษาจนจบการศึกษา จำนวนปีที่นักเรียนสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คาดว่าตนเองจะสำเร็จการศึกษาส่วนมากเป็นไปตามจำนวนปีที่ระบุในหลักสูตร ยกเว้นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปีที่นักเรียนส่วนใหญ่คาดว่าตนเองจะสำเร็จในเวลา 3 ปี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีนักเรียนร้อยละ 14.9 ที่ไม่ระบุจำนวนปีที่คาดว่าตนเองจะสำเร็จการศึกษา ความต้องการของนักเรียนที่สมัครสอบในด้านการเพิ่มคณะและสาขาวิชาใหม่ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติทางสังคมศาสตร์ พบว่าส่วนมากประมาณร้อยละ 83 ไม่ระบุคำตอบ ส่วนนักเรียนที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเปิดคณะนิเทศศาสตร์มีประมาณร้อยละ 9 รองลงมาคือคณะนิติศาสตร์ สำหรับคณะรัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์มีจำนวนใกล้เคียงคือ ประมาณ 1.4 ส่วนความต้องการของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในด้านการเพิ่มคณะและสาขาวิชาใหม่ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติทางวิทยาศาสตร์ พบว่าส่วนมากประมาณร้อยละ 82 ไม่ระบุคำตอบ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์มีประมาณร้อยละ 4 รองลงมา คือ คณะเกษตรศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์เน้นเคมีและฟิสิกส์ มีจำนวนใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 2.8 และ 2.6 สำหรับคณะแพทยศาสตร์มีร้อยละ 1.6 ส่วนคณะสถาปัตยกรรมและสาขาวิชาจิตวิทยามีร้อยละ 1.5 ข้อเสนอแนะที่นักเรียนต้องการให้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปรับปรุงทั้งทางด้านกายภาพและการเรียนการสอน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ระบุคำตอบ มีนักเรียนร้อยละ 4.6 เสนอแนะให้มหาวิทยาลัยปลูกต้นไม้เพิ่มในบริเวณสถาบัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 3.9 เสนอให้เพิ่มจำนวนรับนักศึกษาภาคค่ำ (ต่อเนื่อง) นักเรียนร้อยละ 3.2 เสนอให้เพิ่มจำนวนรับนักศึกษาภาคค่ำ (ต่อเนื่อง) และเพิ่มจำนวนรับนักศึกษาภาคปกติและในด้านภายภาพ ขอให้รักษาความสะอาดห้องสุขา นักเรียนร้อยละ 2.9 เสนอแนะและให้มีการประชาสัมพันธ์การเรียนการสอนนักเรียนร้อยละ 2 เสนอให้เพิ่มคณะวิชามากขึ้นกับเพิ่มที่จอดรถและเพิ่มสาขาวิชาในคณะวิทยาการจัดการ นอกจากนี้มีนักเรียนเพียงเล็กน้อยที่แสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้แก่ เน้นการสอนคอมพิวเตอร์ กับมีป้ายประกาศอาคารสถานที่เพิ่มขึ้น และควรทีการสร้างที่พักผ่อนของนักศึกษาเพิ่มขึ้น
The objectives of this study were 1) to survey needs and opinions of high school students who applied to attend Huachiew Chalermprakiet University towards the faculties and academic programs, 2) to collect a data base on new faculties and acadamic programs, and 3) to study effective variables of the students' selections. Sampling groups were 1,170 high school students who attended Huachiew Chalermprakiet University (HCU) in the second semester of the 1995 academic year. Twenty-six research questionnaire items were used in the study. The researcher checked and coded data. All data were calculated by computer with the program SPSS/PC+. The statistics used chi square, mean and percentage 73% of samples were female and lived in Bangkok, the Eastern reqion and perimeters of Bangkok, respectively. Most students were between 17 and 18 yeard old. They attended public high schools located within the perimeters of Bangkok and the Eastern region. Samples studies science and mathematics, accounting, arts, and language fields, respectively. They used their high school cetificates as qualificating clearification. Their grade point average were between 2.00 to 2.99 and 1.00 to 1.99 respectively. Most of their parents were Thai nationals and the students stayed with their families, so they did not have any family problems. Students knew HCU entrance advertizing from their friends, newsapapers and counselors from their schools. They did not have mant problems and obstacles with the application process. Only 21% of students were not informed where HCU was and they felt that the university was quite far from their homes. According to all facilities in the university, only few aspects, such as the long travel from homes to the university, the canteen and parking lots should be improved. The reasons motivating students to attend the university were the academic programs and the positive atmosphere of the university, the convenience and short travelling time. Most students took entrance examination only one time at HCU. Most students were supported by their patents. 37% of them were interested in applying for the HCU academic sponsorship. 80% of students selected their academic programs according to their needs and those HCU had already operated. Some selected their academic programs because they knew the trend of the needs of society and their parents' preferences. The faculties that students mostly wanted to attend were Business Administration, Science, and Liberal Arts. Most students had targetted graduating from the faculty of Business Administration. It was noticed that numbers of students who expected to graduate were less than those who wanted to attend those faculties. Faculties of Science and Liberal Arts had the same pattern as Business Administration. They expected to graduacte in time of their required academic years in each program study. Students' needs to add new faculties in Social Science were: Communicative Arts, Law, Political Science, Social Science and Liberal Arts, respectively. Students' needs to add new faculties in Science were Engineering, Argriculture, Science in the Chemistry and Physics fields, Medical Science, Architecture and Psychology, respectively. Students' recommendations for HCU's development included both the physicaal location and the studying and learning processes : more plants, more evening classes, keeping clean toilets, the university's public relations in studying and learning processes, more academic programs in Business Administration, more emphasis in computer teaching, more directions for buildings in campus and more recreational areas for students in HCU, respectively.