This research was carries out from Tananuraksakul's (2017) pilot study. It aimed to examine three hypotheses: 1) the use of the English phonetics website can greatly build up students' positive attitudes toward their non-native English accent; 2) students have positive attitudes towards the use of the phonetics webiste; and 3)teacher power can greatly influence their positive attitudes toward speaking Englisg intelligibly. Research outcomes from questionnaire, crosschecked with interview data reveal that the phonetics websie usage could enhance positive attitudes toward non-English major students' (purposively recruited) own non-native English accent to a slight extent due to their synchronous feelings of slightly decreased embarrassment and increased pride. Thus the first hypothesis was disconfirmed due to these three extraneous variables: infrequent chances to speak English; less preference to speak English; and personal/social values to sound like a native speaker. The second was confirmed at a high level. The third was partially supported since teacher power apperared to be distracted by power relations in interactions between native and non-native English speakers and among non-native English speakers themselves. The study offers insightful directions for EFL teachers.
งานวิจัยนี้ต่อยอดมาจากงานวิจัยของ Tanaruksakul (2017) มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมมติฐาน ดังนี้ 1) การใช้เว็บไซต์การออกเสียงภาษาอังกฤษตามหลักสัทศาสตร์สามารถเสริมสร้างนักศึกษาให้มีเจตคติเชิงบวกต่อสำเนียงภาษาอังกฤษของตนเองได้ในระดับมาก 2) นักศึกษามีเจตคติเชิงบวกต่อการใช้เว็บไซต์การออกเสียงภาษาอังกฤษตามหลักสัทศาสตร์ 3) อำนาจครูผู้สอนมีอิทธิพลต่อเจตคติเชิงบวกต่อการพูดภาษาอังกฤษชัดคำ ผลการวิจัยจากแบบสอบถามซึ่งตรวจสอบด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าการใช้เว็บไซต์การออกเสียงภาษาอังกฤษตามหลักสัทศาสตร์เสริมสร้างนักศึกษาให้มีเจตคติเชิงบวกต่อสำเนียงภาษาอังกฤษของตนเองซึ่งไม่ใช่สำเนียงแบบเจ้าของภาษาได้ระดับน้อย เพราะระดับความรู้สึกอายต่อสำเนียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาลดลงเล็กน้อย ในขณะเดียวกันระดับความภาคภูมิใจต่อสำเนียงภาษาอังกฤษมีมากขึ้นเล็กน้อย ผลการวิจัยจึงไม่ยืนยันสมมติฐานแรก เนื่องจากมีตัวแปรภายนอก ดังนี้ 1) นักศึกษามีโอกาสพูดภาษาอังกฤษไม่บ่อย 2) ไม่ชอบพูดภาษาอังกฤษ และ 3) ค่านิยมส่วนบุคคลที่ต้องการออกเสียงเหมือนเจ้าของภาษา ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานที่สองซึ่งมีค่าเฉลี่ยระดับสูง สมมติฐานที่สามเป็นไปตามที่ตั้งไว้บางส่วน เนื่องจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้พูดภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เจ้าของภาษากับเจ้าของภาษา และระหว่างผู้พูดภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาด้วยกัน อาจลดทอนอำนาจครูผู้สอน การศึกษานี้ให้แนวทางการสอนภาษาอังกฤษเชิงลึกสำหรับครูสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ