จังหวัดสมุทรปราการมีผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นได้แก่ "ปลาสลิด" ซึ่งมีความสำคัญและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ โดยปี 2561 ปลาสลิดบางบ่อเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ถูกกำหนดให้มีการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical indications; GI) สำหรับการขอใช้ตรา GI สินค้าปลาสลิดสดนั้น เกษตรกรต้องได้มาตรฐานการผลิตตสัตว์น้ำขั้นปลอดภัย (Safety Level; SL) หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice; GAP) ซึ่งพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ได้ขอรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้้ยงสัตว์น้ำจากกรมประมงซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขาดที่มาที่ไปของลูกพันธุ์ปลาสลิดที่นำมาเพาะเลี้ยง ไม่เห็นความสำคัญของการรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นประเด็นปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถยื่นขอใช้ตรา GI ปลาสลิดบางบ่อได้ ดังนั้น แนวทางการพัฒนามาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรเริ่มจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเห็นความสำคัญและยื่นขอรับรองมาตรฐาน เกษตรกรต้องขอใบกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำและลูกพันธุ์สัตว์น้ำหรือใบเสร็จจากร้านจำหน่ายลูกพันธุ์ปลาในกรณีที่ซื้อทุกครั้ง กรณีที่ไม่มีควรบันทึกด้วยตัวเองให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของปลาสลิดได้ ผลการดำเนินงานพบว่า มีจำนวนเกษตรกรที่ยังไม่มีมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีความพร้อมในการยื่นขอการรับรองบ่อเลี้ยงตามมาตรฐาน SL ร้อยละ 50.00 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ (19 ราย จาก 38 ราย) และมีจำนวนเกษตรกรที่ได้มาตรฐาน SL ที่มีความพร้อมในการยื่นขอการรับรองบ่อเลี้ยงตามมาตรฐาน GAP ร้อยละ 86.67 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ (13 ราย จาก 15 ราย) และมีบ่อต้นแบบตามมาตรฐาน GAP จำนวน 10 บ่อ สำหรับความเชื่อมโยงของปลาสลิดกับแหล่งภูมิศาสตร์พบว่าปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการ จะมีขนาดลำตัวที่เล็กและเรียวยาว สีตัวปลาจะออกดำคล้ำ ซึ่งเข้มกว่าปลาสลิดจากจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากเลี้ยงโดยใช้อาหารตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ปลาสลิดจะต้องแหวกว่ายเพื่อหาไรแดงหรือแพลงก์ตอนกินเป็นอาหาร จึงทำให้ปลามีลำตัวเรียวยาว และมีการสะสมของกล้ามเนื้อ โดยที่ปลาสลิดจากจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร จะมีลำตัวขนาดใหญ่และอวบอ้วนมากกว่า เนื่องจากเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปเป็นหลัก สีตัวปลาจะออกดำเหลือง มีโทนสีเข้มน้อยกว่าปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ
Samut Prakan Province had local agricultural products such as "Trichogaster pectoralis (Snakeskin gourami)", which is important and well-known to the whole country. In 2018, Bang Bo snakeskin fish is one of the agricultural products that is required to be registered for Geographical Indications (GI). For the request to use the GI brang fresh snakeskin gourami, farmers must meet the Safety Level (SL) or Good Aquaculture Practice (GAP) standards. It was found that most farmers have not requested to cerify the aquaculture standards from the Department of Fisheries. The most common cause is the lack of origin of the snakeskin gouramo larvae cultured. Moreover, farmers do not see the importance of applying for certification. Which will be the problem for applying for the GI brand. Therefore, the guideline for the development of aquaculture standards should start by communication in order to indicate the importance of applying for certification. Farmers must request a movement document (FMD) or aa receipt from the fish breeding shop in every purchase. If there is no, should save by yourself to be able to trace back the source of snakeskin gourami. The results show that farmers who do not yet have aquaculture standards are ready to sumnit a pond certification as SL standard of 50% of the participating farmers (19 out of 38). Farmers who have SL standards are ready to submit a pond certification as GAP standards of 86.67% of the participating farmers (13 out of 15). There are 10 prototype wells in the GAP standard. For the connection between snakeskin gourami and geographic locations, snakeskin gourami in Samut Prakan province are smaller, slender and darker body than that of Samut Songkhram and Samut Sakhom provinces. It is due to that snakeskin gourami from Samut Prakan province have to swin in order to find red mites or plankton to eat as natural food. Therefore, making the snakeskin gourami from Samut Songkhram and Samut Sakhon provinces are larger and plump body. Becasude, they are mainly feed with instant food. Moreover, their body color is shed of yellow-black when compare with snakeskin gourami from Samut Prakan Province.