การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะมีงานทำและความพึงพอใจคุณลักษณะของบัณฑิตต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของบัฯฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2554 โดยสำรวจความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานของบัณฑิต และบัณฑิต เรื่อง ความสามารถในการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของบัณฑิต ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ความพึงพอใจคุณลักษณะของบัณฑิตต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ ดังนี้ 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลช การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี 6. ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ถึง เมษายน 2556 ได้รับข้อมูลตอบกลับจากบัณฑิตจำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 100 จากผู้บังคับบัญชาจำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 40.10 จากผู้ร่วมงานจำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 38.46 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1. บัณฑิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.70 มีงานทำทันทีภายใน 1 เดือน หลังจากสำเร็จการศึกษา และทำงานในโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 74.50 2. ผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน มีความพึงพอใจคุณลักษณะของบัณฑิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.63, SD = 0.28, และ x̄ = 3.79, SD = 0.26 ตามลำดับ) โดยพึงพอใจด้านคุณธรรมจริยธรรมมากที่สุด (x̄ = 3.93, SD = 0.18, และ x̄ = 4.07, SD = 0.18 ตามลำดับ) พึงพอใจด้านทักษะทางปัญญาน้อยที่สุด (x̄ = 3.35, SD = 0.09, และ x̄ = 3.55, SD = 0.1 ตามลำดับ) บัณฑิตมีความพึงพอใจคุณลักษณะของบัณฑิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.13.SD = 0.25) โดยพึงพอใจด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบมากที่สุด (x̄ = 4.21, SD = 0.23) 3. วิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจคุณลักษณะบัณฑิตต่อความสามารถในการปฏิบัติงานในภาพรวมตามการประเมินของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานและบัณฑิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่า ผลค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจคุณลักษณะบัณฑิต ตามการประเมินของผู้บังคับบัญชากับผู้ร่วมงานไม่แตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจคุณลักษณะตามการประเมินของผู้บังคับบัญชากับบัณฑิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจคุณลักษณะบัณฑิต ตามการประเมินของผู้ร่วมงานกับบัณฑิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์รายด้าน ตามการประเมินของผู้บังคับบัญชา เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (x̄ = 3.93, SD = 0.18) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (x̄ = 3.73, SD = 0.32) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (x̄ = 3.51, SD = 0.07) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี (x̄ = 3.50, SD = 0.28) ด้านความรู้ (x̄ = 3.43, SD = 0.05) ด้านทักษะทางปัญญา (x̄ = 3.35, SD = 0.09) ผลการวิจัยเสนอแนะ ให้พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ชัดเจน ส่งเสริมให้บัณฑิตมีทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษ ทักษะทางปัญหาเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์และการวิจัย
This descriptive research aimed to determine employment situation and performance competencies of the graduates of Bachelor of Nursing Science, Faculty of Nursing at Huachiew Chalermprakiet University in 2011 academinc year, by investigating the graduates, their supervisors, and their co-workers' satisfaction on the six domains of learning outcome indicated as graduate attributed according to Thai Qualification Framework for Higher Education of Nursing Science and on graduate identity. The questionnaires developed by the investigators consisted of 1) Satisfaction on graduate attributes in the 6 domains including, a) ethics and moral, b) knowledge, c) cognitive skills, d) interpersonal skills and responsibility,, e) numerical analysis, communication and information technology skills, f) professional practice skills. Questionnaires from 153 graduates (100%), 73 supervisors (40.10%) and 70 co-workers (38.46%) were completed and returned. Data were collected during February and April 2013 and analyzed by using percentage, means, standard deviation and one way ANOVA. The results of the study were: 1. The majority of the graduates (81.70%) were employed immediately within the first month after their graduation and most of them (74.5%) were employed in the private hospital. 2. The overall satisfaction on graduate attributed as evaluated by their supervisors and co-workers were ranged in good levels (x̄ = 3.63, SD = 0.28, and x̄ = 3.79, SD = 0.26 respectively) with the highest scores in ethics and moral (x̄ = 3.93, SD = 0.18, and x̄ = 4.07, SD = 0.18 respectively). The graduate attributes which were rated by their supervisors and co-workers as the least satisfaction was cognitive skills (x̄ = 3.35, SD = 0.09, and x̄ = 3.55, SD = 0.18 respectively). The graduates were satisfied on their overall competencies in a good level (x̄ = 4.13.SD = 0.25) with the highest score in interpersonal skill and responsibility (x̄ = 4.21, SD = 0.23). 3. There was significant difference at 0.05 levels in total average of nursing graduates Performance competencies among three groups of evaluators. When tested total average of nursing graduated performance competencies between groups, there was significance difference at 0.05 levels between group of nursing graduates and supervisors, and group of nursing graduates and co-workers in all dimensions. Moreover, nursing graduates evaluated their performance competencies higher than their supervisors and co-workers. 4. Desirable satisfaction on graduate attributes evaluated by supervisors were ranked as Follows: 1) ethics and moral (x̄ = 3.93, SD = 0.18), 2) interpersonal skills and responsibility (x̄ = 3.73, SD = 0.32), 3) professional practice skills (x̄ = 3.51, SD = 0.07), 4) numerical analysis, communication and information technology skills, 5) knowledge (x̄ = 3.43, SD = 0.05) 6) cognitive skills (x̄ = 3.35, SD = 0.09). Suggestions: Faculty of Nursing should create strategic plan for improving teaching and learning process to facilitate the students' numerical analysis, communication and information technology skills especially professional English communication skill, systematic critical thinking skill and problem solving skill and research.