การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และผลลัพธ์ของหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2553-2556 ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารหลักสูตร 1 คน กลุ่มอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 11 คน กลุ่มนักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2553-2556 จำนวน 33 คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 13 คน กลุ่มผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 11 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารหลักสูตร 3) แบบสอบถามนักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา 1) ผลการประเมินด้านบริบท การจัดกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรตรงกับวัตถุประสงค์และปรัชญาของหลักสูตร นั่นคือ การผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้มีความเข้าใจในปรัชญา และวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏอยู่ในภาษาและวรรณคดีไทย อีกทั้งเป็นผู้ตระหนักและซาบซึ้งในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมไทย ทำให้นักศึกษาได้ประโยชน์จากการเรียน และสามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต นอกจากนี้ในชั้นปีสุดท้ายนักศึกษายังสามารถเลือกเรียนวิชาแบบสหกิจศึกษาโดยนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 2.50 สามารถเลือกเรียน วิชาประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่มีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับภาษาและวัฒนธรรมไทย อีกด้วย 2) ผลการประเมนด้านปัจจัยป้อนเข้า บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ ความสามารถของอาจารย์ คุณลักษณะด้านการสอนและคุณลักษณะด้านความเป็นครูระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านการสอนระดับมากที่สุด และประเมินคุณลักษณะด้านความเป็นครูระดับมากที่สุด ด้านนักศึกษาพบว่านักศึกษาที่เลือกเรียนสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย ส่วนหนึ่งมีผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระดับปานกลางถึงอ่อน และบางคนเข้าใจว่าหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทยเรียนง่าย จึงเลือกเรียนโดยไม่ได้สนใจในเนื้อหาวิชาอย่างแท้จริง และนักศึกษาส่วนใหญ่ในสาขาวิชาฯ เป็นนักศึกษาเทียบโอน หรือถูกคัดชื่อออก (Retire) มาจากคณะอื่น ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้ บางคนปรับปรุงตนเอง จนผลการเรียนดีเลิศ แต่บางคนก็ยังคงไม่สนใจเรียน จึงมีผลการเรียนระดับปานกลางถึงค่ำ บางคนถึงขั้นถูกคัดชื่อออก บัณฑิตและนักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 พึงพอใจด้านความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้านการใช้บริการของห้องสมุดและสื่อการศึกษา และด้านอาคาร สถานที่่ สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนระดับปานกลาง คณาจารย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ว่ามีความสำคัญมาก ระบบของอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยไม่รองรับการเรียนการสอนและสนับสนุนให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนไม่ทันสมัย ขาดโปรแกรมที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการผลิต นักศึกษาปัจจุบันประเมินด้านการบริหารหลักสูตร การให้คำปรึกษาของอาจารย์ โดยมีภาพรวมความพึงพอใจระดับมาก การบริหารหลักสูตร สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยมีระบบและกลไกในการบริหารหลักสูตร คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน กำกับติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนการสอน มีคณะกรรมการวิชาการ ทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ (TQF) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินโครงการตามระบบ PDCA เพื่อสร้างทักษะและประสบการณ์ของนักศึกษา และส่งเสริมทักษะการทำงานจริงของนักศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา การประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ประเมินนักศึกษาหลายแบบทั้งการสอบ การทดสอบ การมอบหมายงาน การให้นักศึกษาประเมินตนนเอง และประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนกิจกรรมการจัดโครงการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมซึ่งตรงกับปณิธานของมหาวิทยาลัย การประเมินการสอนของอาจารย์ ใช้ระบบประเมินการสอนออนไลน์ ซึ่งเป็นระบบประเมินผลของมหาวิทยาลัย เมื่อรับทราบผลการประเมนจากนักศึกษาอาจารย์ผู้สอนจะนำข้อเสนอและประเด็นที่ควรแก้ไขมาปรับปรุงวิธีการสอน สื่อการสอน นอกจากนี้ยังใช้วิธีประเมินเชิงคุณภาพในชั้นเรียน 4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของหลักสูตร การใช้เวลาศึกษาตามแผน บัณฑิตใช้เวลาศึกษาตามแผนในระดับปานกลาง จำนวนนักศึกษาที่พ้นสภาพและคัดชื่อออกอยู่ในระดับปานกลาง ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2553 ที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไป ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา บัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย ประเมินความสามารถของตนเองในระดับมากที่สุด ผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณภาพของบัณฑิตจากสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย คณะศิลปศาสตร์ในระดับมาก ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต บัณฑิตสาขาภาษาและวัฒนธรรมไทย มีงานทำอยู่ในระดับมากที่สุด บัณฑิตพอใจงานที่ทำระดับมาก และทำงานตรงสาขาที่เรียนระดับมากที่สุด
The Evaluation of Bachelor of Arts Program in Thai Language and Culture (Revised edition 2010) Faculty of Liberal Arts Bachelor's aimed to analyze the curriculum and to analyze the curriculum and to evaluate the effectiveness of the curriculum management in various aspects such as context, input, the process of curriculum and learning management and the outcome of the curriculum. Information sources are curriculum administrators, faculties, 2553-2556 students, graduates and their supervisors, and curriculum experts. The sampling groups are comprised of one curriculum administrator, eleven faculties, 33 students in 2553-2556 classes, 13 graduates and ll their job supervisors, and three curriculum experts. Methods of data collecting included group discussions, interviews and document analyses. Tools used in gathering information are: (l) handbook for curriculum assessment (2) interviews with curriculum administrators (3)questionnaires answered by students, graduates and their job supervisors. l) Assessment of Context. The learning management process met the objectives and philosophy of the curriculum. To produce graduates who are competent in the use of Thai language and communicate effectively, understand the philosophy and Thai culture which in language and literature and also aware and appreciate of Thai language and culture. As a result, students have the advantage from learning and can apply in the future. ln the final year students can choose to learn co-operation study. Student with a GPA greater than 2.50 can learn Professional courses for practice at government or private agencies that are concerned with the Thai language and culture. 2) Assessment of the inputs. Both the graduates and the current students have evaluates the knowledge and the teaching abilities of the faculties at the best scales, the qualifications and academic positions of the faculties at best scales. Students were found that who chose to study Thai language and culture, part of them had high school grade levels, moderate to mild. Some students understood that Thai language and culture curriculum are easy so didn't interest in the subject seriously. Most students were transfer students or retired from other faculties. These students, some self-improvement had the excellent academic results but some were still not interested in learning so the achievement was moderate to low and some was retired. The graduates and the students in the second, third and fourth years felt moderately content with facilities of the internet network of the university. Advisors comment that factors of promote learning are very important. The university internet does not efficiently support the learning process. Computer equipment in classroom is rather old and cannot efficiently support learning process. 3) Assessment of graduate. Producing Process In general, present students evaluate the curriculum management of the faculty positively and they feel very pleased with talking to their adyisors. Curriculum Management: The faculty's curriculum management committee plans, follows up and monitors student learning process while thc faculty's academic committee supervises, follows up and evaluate the work of the curriculum management committee. Learning Activities: The student learning activities conform to lhe five-aspect learning skill development of the national TQF standards. Students arc encouraged to panicipate in learning process through creating supplementary activities in various courses and carrying them out according to the PDCA system in order to improve thcir leaming skills and experiences. The cooperation study program also educates the students in the real working environmcnt. Student Learning Assessment: Student learning skills evaluation is carried out through examinations, tests, assignments, self evaluation and group-participation evaluation. The projects both inside and outside the university are for Learning to serve society as determination of university. Assessment of faculties' teaching. Students evaluate the teaching of faculties on-line through the assessment system of the university. Students' assessment and proposals will be used to improve the teaching activities of the faculties. Other qualitative assessments are also done in class. 4) Assessment of curriculum Outcome: Planned Graduation Time: The numbers of students who graduate within four years plan is moderate. The number of students failing outis also moderate GPA. Most students who graduated in academic year 2010 had GPA above 2.50. Graduate Qualifications: The graduates evaluate themselves with preferable scales. Their job supervisors also evaluate them positively. Efficiency of Graduates: Most of the graduates are employed and they are satisfied with their jobs. And get the jobs corresponding directly to their professional study areas.