Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549) โดยเนื้อหาครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านบริบทและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2) ด้านเนื้อหาของหลักสูตรและผลการใช้หลักสูตร 3) ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และ 4) ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ/หรือที่เกี่ยวข้องที่เป็นบุคคลภายนอก จำนวน 12 คน 2) บัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2551 จำนวน 33 คน 3) ผู้ว่าจ้างหรือผู้บังคับบัญชาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2551 จำนวน 17 คน 4) อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 8 คน และ 5) นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 รูปแบบ คือ 1) การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยยึดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework: TQF) เป็นหลักสำคัญ 2) การวิจัยภาคสนาม โดยแจกแบบสอบถามเพื่อเก็บและวิเคราะหำข้อมูลจากนักศึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) การวิพากย์หลักสูตร โดยกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์จากบริษัทชั้นนำ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ผลการประเมิน ดังนี้1. ด้านบริบทและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พบว่าผลจากการประเมินจากนักศึกษาและอาจารย์สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนการวิพากย์หลักสูตรมีความเห็นตรงกันว่าควรปรับเนื้อหาในส่วนของ ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 ได้แก่ ด้านคุณธรรม/จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ2. ด้านเนื้อหาของหลักสูตรและผลการใช้หลักสูตร ผลจากการประเมินด้านเนื้อหาของหลักสูตรและผลการใช้หลักสูตรจากนักศึกษาและอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนผลการประเมินของบัณฑิตที่มีความคิดเห็นต่อตนเองด้านวิชาการและความสามารถพื้นฐานในการทำงานโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิตที่ความคาดหวังต่อความพึงพอใจที่มีต่อบัณฑิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยรายข้อที่ระดับคะแนนของความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิต คือความรู้ความสามารถด้านวิชาการ1) การนำความรู้มาใช้ในการวางแผนการทำงานได้2) นำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานและการแก้ปัญหาระหว่างปฏิบัติงานได้3) มีความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงได้บุคลิกภาพของบัณฑิตความกล้าเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบความสามารถพื้นฐานในการทำงานของบัณฑิต : ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ส่วนรายข้อที่ระดับคะแนนของความคาดหวังต่ำกว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิต คือ บัณฑิตมีทักษะในการทำงานเมื่อแรกเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งจากผลการประเมินพบว่า สิ่งที่บัณฑิตกังวลและคิดว่าตนเองปฏิบัติได้ไม่ดี คือ การมีทักษะในการทำงานเมื่อแรกเข้าปฏิบัติงานสำหรับการวิพากย์หลักสูตร โดยพิจารณาเนื้อหาของรายวิชาในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2549) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework: TQF) สาขาคอมพิวเตอร์เป็นหลัก สรุปรายละเอียด ได้ดังนี้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ให้เลือกรายวิชาจากโครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมีหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยรายวิชาเดิมในหลักสูตร พ.ศ. 2549 จำนวน 5 รายวิชา และควรเพิ่มรายวิชาใหม่ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่ แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง คณิตศาสตร์ดิสครีต และสถิติและวิธีการเชิงวิจัยสำหรับคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM จำนวน 1 รายวิชา ได้แก่ การโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ พร้อมกับเพิ่มรายวิชาเกี่ยวกับการฝึกงาานและสหกิจเข้าไปกลุ่มวิชาเอกเลือก ประกอบด้วยรายวิชาเดิมของหลักสูตร พ.ศ. 2549 จำนวน 20 รายวิชา โดยปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมคอมพิวเตอร์ IEEE และ ACM3. ด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คุณสมบัติของนักศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน ซึ่งผลการประเมินคุณสมบัติของนักศึกษาทั้งที่ประเมินโดยนักศึกษาและอาจารย์ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก และให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า การมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษามีค่าเฉลี่ยน้อยสุดผลประเมินสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนของนักศึกษาทั้งที่ประเมินโดยนักศึกษาในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ซึ่งรายการที่เกี่ยวข้องกับความสะดวกในการใช้บริการนอกเวลาเรียนและตำราเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ มีความสะดวกในการใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบการเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์นอกเวลาเรียน ส่วนของอาจารย์ผลประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง รายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับจำนวนตำรา ความทันสมัยของตำรา ความสะดวกในการยืมคืน ระยะเวลาในการยืมคืน และความเหมาะสมของขนาดห้องบรรยายเมื่อเทียบกับผู้เรียน 4. ด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารจัดการทั่วไป และกระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ โดยผลประเมินการบริหารจัดการทั่วไปของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากัน 2 รายการ คือ 1) การจัดตารางสอบ และ 2) การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ส่วนผลประเมินของอาจารย์อยู่ในระดับปานกลาง รายการที่มีระดับคะแนนน้อย คือ วิธีการคัดเลือกนักศึกษาผลการประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ โดยนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลประเมินของอาจารย์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยทั้งนักศึกษาและอาจารย์ประเมินให้รายการที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีกิจกรรมส่งเสริมความรู้และทักษะนอกชั้นเรียนผลการประเมินกิจกรรมเสริมประสบการณ์นักศึกษา ทั้งสวนของนักศึกษาและอาจารย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ การส่งเสริมด้านวิชาการ ผลการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา โดยนักศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลประเมินของอาจารย์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งรายการที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมีทุนการศึกษาของคณะ