งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทํางานและระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทํางานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2557 รวมทั้งสิ้น 172 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติสังคมศาสตร์ (SPSS) โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) โดยใช้วิธีการป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Backward) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการศึกษาพบว่า 1)บุคลากรมีระดับคุณภาพชีวิตการทํางานอยู่ในระดับดี โดยมีความภูมิใจในองค์กรเป็นองค์ประกอบที่เด่นชัดที่สุด รองลงมาคือความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานและโอกาสพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน 2)บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูงซึ่งมีค่าตามลําดับ คือ การใช้ความสามารถเพื่อองค์การมีค่าสูงสุด การยอมรับองค์การ และความต้องการเป็นสมาชิกขององค์การ 3)การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์การพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลในด้านตําเเหน่งกับด้านการศึกษาจะมีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การในด้านความต้องการเป็นสมาชิก ส่วนด้านการยอมรับองค์การกับด้านการใช้ความสามารถเพื่อองค์การ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทํางานเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าบุคลากรที่เป็นอาจารย์จะมีความผูกพันต่อองค์การตํ่ากว่าบุคคลากรสายสนับสนุนและบุคลากรที่จบปริญญาเอกจะมีความผูกพันต่อองค์การที่ตํ่ากว่าบุคลากรที่จบปริญญาตรี
The objectives of this study are : 1) to study the level of quality of work life and organizational commitment of personnel in Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University, 2) to study the relationship between personnel factors, quality of work life and organizational commitment. Data are collected by questionnaires for personnel working in academic year 2557 with sample group of 172 persons. Data are analysised by the Statistical Package for the Social Sciences(SPSS) that are the backward multiple regression analysis, One Way Anova and the exploration of the difference among means by Scheffe’s procedure. The results are as follows : 1) The level of the quality of work life are at a good level that the organizational pride is the dominate factor which social integration and development of human capacities are in descending order, respectively. 2) The organizational commitment of personal are at high level which the ranging are as follows: Willingness to exert considerable effort on behalf of the organization at the highest level, the acceptance of the organization’s goal and the desire to maintain membership in the organization, respectively. 3) The study on the factors affecting on organizational commitment find that personal factor on working position and education level show the relationship on the organizational commitment in part of the desire to maintain membership in the organization. And the organizational commitment in part of the acceptance of the organization’s goal and the willingness to exert considerable effort on behalf of the organization have relationship on the quality of work life only. In addition, we also find that the personnel who are teachers have lower organizational commitment than the professional support staff and the personnel having the Doctoral degree show lower organizational commitment than the personnel having the Bachelor’s degree.