การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตร ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และผลลัพธ์ของหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2560-2562 ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตร จำนวน 9 คน กลุ่มนักศึกษาปัจจุบันรุ่นปีการศึกษา 2560-2562 จำนวน 150 คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 65 คน กลุ่มผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 21 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แนวทางการวิเคราะห์หลักสูตรสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารหลักสูตร และ 3) แบบสอบถามนักศึกษาปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา 1) ผลการประเมินด้านบริบท การจัดกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรตรงกับวัตถุประสงค์และปรัชญาของหลักสูตร นั่นคือ การผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน ควบคู่กับวัฒนธรรมไทย โดยใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการทักษะทางภาษาไทยกับการเข้าใจในวัฒนธรรมไทยเพื่อจะได้เป็นผู้ใช้ภาษาไทยสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในชั้นปีสุดท้ายนักศึกษาต้องลงเรียนวิชาฝึกงาน เพื่อฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่มีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอีกด้วย 2) ผลการประเมินด้านปัจจัยป้อนเข้า บัณฑิตประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด และประเมินคุณลักษณะด้านความเป็นครู อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักศึกษาปัจจุบันประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ประเมินคุณลักษณะด้านการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด และประเมินคุณลักษณะด้านความเป็นครู อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านนักศึกษาพบว่านักศึกษาชาวจีนมีพื้นฐานและทักษะการใช้ภาษาไทยไม่ค่อยดีนัก ในระยะแรกนักศึกษามีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับคนไทย ระบบการเรียนการสอนในสังคมไทย การใช้ชีวิตประจำวัน และยังปรับตัวไม่ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 ภาคการศึกษา นักศึกษาเริ่มปรับตัวได้ทำให้มีพัฒนาการด้านทักษะการใช้ภาษาไทยได้อย่างชัดเจนและดีขึ้นมากเป็นลำดับ ส่งผลต่อระดับผลการเรียนของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี คือ มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำว่า 2.00 บัณฑิตและนักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 พึงพอใจด้านความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในระดับมาก ด้านการให้บริการของห้องสมุดและสื่อการศึกษา อยู่ในระดับมาก และด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและห้องเรียน อยู่ในระดับมาก คณาจารย์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ว่ามีความสำคัญมาก อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด เพื่อให้พอเพียงกับนักศึกษาในหลักสูตรและยังได้จัดห้องสมุด ออนไลน์ใน MS Team นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดเอกสาร หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (PDF File) ไปใช้ได้ และปัจจุบันมหาวิทยาลัยปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตดีขึ้นมีโปรแกรมสนับสนุนและรองรับการเรียนการสอน มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้นักศึกษาใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการผลิต นักศึกษาปัจจุบันประเมินด้านการบริหารหลักสูตร การให้คำปรึกษาของอาจารย์ โดยมีภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก การบริหารหลักสูตร สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองมีระบบและกลไกในการบริหารหลักสูตร คือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ทำหน้าที่วางแผน กำกับติดตามและตรวจสอบการจัดการเรียนการสอน มีคณะกรรมการวิชาการทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ (TQF) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในรายวิชาต่างๆ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การอภิปราย การสัมมนา และการศึกษาดูงาน นอกจากนี้ นักศึกษาทุกคนยังต้องผ่านการฝึกงานอีกด้วยการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ประเมินนักศึกษาหลายแบบ ทั้งการสอบการทดสอบ การมอบหมายงาน การให้นักศึกษาประเมินตนเองและประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนกิจกรรมการจัดโครงการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมซึ่งตรงกับปณิธานของมหาวิทยาลัยการประเมินการสอนอาจารย์ ใช้ระบบประเมินการสอนออนไลน์ซึ่งเป็นระบบประเมินผลของมหาวิทยาลัย เมื่อรับทราบผลการประเมินจากนักศึกษาอาจารย์ผู้สอนจะนำข้อเสนอแนะที่ควรแก้ไขมาปรับปรุงวิธีการสอน สื่อการสอน นอกจากนี้ ยังใช้วิธีการประเมินเชิงคุณภาพในชั้นเรียน4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของหลักสูตรการใช้เวลาศึกษาตามแผน บัณฑิตใช้เวลาศึกษาและสำเร็จการศึกษาตามแผนทุกคน อยู่ในระดับดีมากระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2562 ที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไป ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา บัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ประเมินความสามารถของตนเองมีค่าเฉลี่ยรวม 4.48 อยู่ในระดับมาก ส่วนผู้ใช้บัณฑิตประเมินคุณภาพของบัณฑิตจากสาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มีค่าเฉลี่ยรวม 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุดประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต บัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มีงานทำแล้วจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.80 ผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด บัณฑิตพอใจงานที่ทำจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 91.31 อยู่ในระดับมากที่สุด และทำงานตรงสาขาที่เรียน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับมากที่สุด
The Evaluation of Bachelor of Arts Program in Communicative Thai as a Second Language (Revised edition 2017) Faculty of Liberal Arts Bachelor aimed to analyze the curriculum and to evaluate the effectiveness of the curriculum management in various aspects such as context, input, the process of curriculum and learning management and the outcome of the curriculum. Information sources are curriculum administrators, faculties, 2017-2019 students, graduates and their supervisors, and curriculum experts. The sampling groups are comprised of one curriculum administrator, 9 faculties, 150 students in 2017-2019 classes, 65 graduates and 21 job supervisors, and 3 curriculum experts. Methods of data collceting included group discussions, interviews and document analyses. Tools used in gathering information are (1) handbook for curriculum assessment (2) interviews with curriculum administrators and (3) questionnaires answered by students, graduates and job supervisors.1) Assessment of Context: The learning management process met the objectives and philosophy of the curriculum. To produce graduates who are competent to the use of Thai language and communicates effectively, understand the philosophy and Thai culture which in language and literature and also aware and appreciate of Thai language and culture. As a result, students have the advantage from learning and can apply in the future, in the final year students must learn job training courses at government of private agencies that are concerned with the Thai language and culture.2) Assessment of the inputs: The graduates have evaluated the knowledge and the teaching abilities of the faculties, the qualification and academic positions of the faculties at best level. The students have evaluated the knowledge and the teaching abilities of the faculties, the qualitications and academic positions of the faculties at high level. The Chinese students who have not good basic and skill of Thai language, at early stage had problem about communication with Thai people. Thai teaching system, daily life and they can't adapt themselves. But about one semester they can adjust themselves and improve basic and skill of Thai language sequentially so almost have good grade, grade point average at least 2.00. The graduates and the students in the second, third and fourth years satisfy with the ease of using the internet network of the university, the Library Service and educational media and the building, environment and classroom at high level. Advisors comment that factors of promote learning are very important. The course teacher is involved in selecting books for the library. In order to suffice students in the course and also provides an online library in MS Team, students can download documents. Electronic books (PDF File) to be used and the university has improved the internet system, has a program to support and support teaching and learning. There is a central computer to promote self-learning. Make it more convenient for students to use.3) Assessment of Graduate Producing Process: in general, present students evaluate the curriculum management of the faculty positively and they feel very pleased with talking to their advisors.Curriculum Management. The faculty's curriculum managememt committee plans, follows up and monitors students leaning process while the fculty's academic committee supervises, follows up and evaluates the work of the curriculum management committee.Learning Activities: The student learning activities conform to the five-aspect learning skill development of the national TQF standards. The students are encouraged to participate in learning process through creating supplementary activities in various courses such as discussion, seminar and study tour. All students must past job training also.Student Learning Assessment: Student learning skills evaluations is carries out through examinations, test, assignments, self evaluation and group-participation evaluation. The projects both inside and outside the university are for Learning to serve society as determination of university.Assessment of faculities' teaching: Students evaluate the teaching of faculties on-line through the assessment system of the university. Students' assessment and proposals will be used to improve the teaching activities of the faculties. Other qualitative assessments are also done in class.4) Assessment of Curriculum OutcomePlanned Graduation Time : Graduate students take to graduate as planned and in very good grade.GPA: Most students who graduated in academic year 2019 had GPA above 2.50. The result is the highest level.Graduate Qualifications: The graduates evaluate themselves avergae 4.48 at high level. Their job supervisors evaluate the graduate's average 4.53 at highest level.Efficiency of Graduates 90-90% of the graduate are employes. The effectivee rate is the highest. They are satisfied with their jobs at the highest level and get the jobs corresponding directly to their professional study areas at the highest level.