บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการสอนวิชาพระพุทธศาสนากับวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนคันนายาวเขตคันนายาวกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิชาพระพุทธศาสนากับวิชาอิสลามศึกษา และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบการสอนวิชาพระพุทธศาสนากับวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนคันนายาวเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร พบว่าการสอนวิชาพระพุทธศาสนาเน้นให้นักเรียนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจสติปัญญาความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ส่วนการสอนวิชาอิสลาม ศึกษาเน้นให้นักเรียนพัฒนาตนเองอย่างมีระบบ ตามหลักศรัทธา 6 ประการ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ สอดแทรกกิจกรรมต่าง ๆ ลงไปในเนื้อหาของการเรียนการสอนทัศนะที่เหมือนกัน คือแนวคิดการศึกษาที่เน้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในวิชาที่สอนให้มีศรัทธายึดมั่นตามแนวทางศาสนาของตนและมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่แตกต่างกันคือหลักการสอนโดยวิชาพระพุทธศาสนาสอนให้ดำเนินในทางสายกลางปฏิบัติตามแนวทางของหลักไตรสิกขาส่วนวิชาอิสลามศึกษาสอนให้ปฏิบัติตามหลักศรัทธา 6 ประการ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ มีศรัทธาในพระเจ้า (อัลลอฮฺ) ปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์อย่างเคร่งครัดและการสอนที่เน้นตามหลักสูตรของแต่ละศาสนา
This Research Article aimed to compare theinstruction of Buddhism subject and Islamic studies in Khannayao School, Khannayao, Bangkok. This study was qualitative research. It was collection of data from documents and the research works related the teaching Buddhism and Islam, it also was from in-dept interview. The results of the study found that: he comparison of instruction of Buddhism subject Islam studies in Khannayao School found that the instruction of Buddhism subject had emphasized student to be good Buddhist, to be a complete human being in both body and mind, to be excellent, knowledge, and moral, to have virtue and culture for living, and to be able living together with others happily but the instruction of Islamic studies had focused on students developing themselves systematically based on the six Major Beliefs and the five Pillars by infusion of various activities into content of instruction. The similarities of perspective were the concept of education emphasizing students to know and to understand on teaching subject, to have faith and practice following their own religion, and having religion as spiritual anchor. The differences of perspective were found that the method of Buddhism subject was taught by following the Middle Way, and practice the Threefold Training. Then, the instruction of Islam studies was taught by following the six Major Beliefs and the five Pillars, to believe in Allah, to strictly obey His commandments. This was focused on the curriculum of each religion.