DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจอุจจาระเพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อปรสิตโดยเครื่องตรวจวิเคราะห์อุจจาระกึ่งอัตโนมัติ รุ่น Sciendox 50 กับการตรวจด้วยวิธีอย่างง่าย

Show simple item record

dc.contributor.author ณัฐวิชญ์ ชุมสาย
dc.contributor.author ภาณุพงศ์ สหายสุข
dc.contributor.other โรงพยาบาลสมุทรปราการ. กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะเทคนิคการแพทย์ th
dc.date.accessioned 2024-03-24T11:42:11Z
dc.date.available 2024-03-24T11:42:11Z
dc.date.issued 2022
dc.identifier.citation วารสารเทคนิคการแพทย์ 50,1 (เมษายน 2565) : 8006-8015 th
dc.identifier.issn 2985-0924 (Online)
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1971
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/250179/174648 th
dc.description.abstract การตรวจหาเชื้อปรสิตในอุจจาระด้วยวิธีตรวจอุจจาระอย่างง่าย (simple smear technique) เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องปฏิบัติการจุลทรรศนศาสตร์ในโรงพยาบาลทั่วไป อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของวิธีการตรวจอย่างง่ายคือมีความไวต่ำ ทำ ให้โอกาสพบเชื้อปรสิตน้อย และต้องการทักษะ ความเชี่ยวชาญของผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งยังใช้เวลาในการเตรียมสิ่งส่งตรวจนานอีกด้วย การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการตรวจหาเชื้อปรสิตในอุจจาระระหว่างวิธีตรวจ อุจจาระอย่างง่าย กับการตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์อุจจาระกึ่งอัตโนมัติ รุ่น Sciendox 50 (Semi-Automate Feces Analysis System-Model 50) โดยใช้อุจจาระของผู้ป่วยที่เหลือจากงานตรวจ วิเคราะห์ประจำวันของงานจุลทรรศนศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลสมุทรปราการ จำ นวน 150 ตัวอย่าง พบว่า วิธีตรวจอุจจาระอย่างง่าย ตรวจพบเชื้อปรสิตในอุจจาระร้อยละ 4.67 (7/150) ในขณะที่เครื่องตรวจ วิเคราะห์อุจจาระกึ่งอัตโนมัติ รุ่น Sciendox 50 ตรวจพบเชื้อปรสิตในอุจจาระร้อยละ 12.00 (18/150) เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า วิธีตรวจอุจจาระอย่างง่าย มีอัตราการตรวจพบน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการตรวจด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์อุจจาระกึ่งอัตโนมัติ รุ่น Sciendox 50 ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการตรวจด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์อุจจาระกึ่งอัตโนมัติ รุ่น Sciendox 50 สามารถลดระยะเวลา ในการเตรียมตัวอย่างอุจจาระและปลอดภัยต่อสุขภาพสำ หรับผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งเป็นวิธีที่เพิ่มโอกาส ในการตรวจพบพยาธิและโปรโตซัว ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ดีขึ้น th
dc.description.abstract In the hospital microscopic section, a simple smear technique has been routinely utilized to diagnose parasite infection in stool. Low sensitivity, examiner experience, and time consumption have all been mentioned as limitations. This study aimed to evaluate and compare the performance between simple smear technique and Semi-Automate Feces Analysis System (Sciendox 50) for parasitic diagnosis in stool samples. The 150 left-over stool samples from routine examination of microscopic section Samutprakan hospital were recruited in this study to perform both simple smear technique and Semi-Automate Feces Analysis System. The results showed that the simple smear technique revealed 4.67% (7/150) fecal parasite positives, whereas the Semi-Automate Feces Analysis System revealed 12.00% (18/150) fecal parasite positives. In conclusion, when compared to a simple smear technique, the Semi-Automate Feces Analysis System showed greater diagnostic efficacy. Furthermore, it can reduce the time needed to prepare a stool sample and is safe for health. This technique may be appropriate and help increase the likelihood of detecting parasite infection during a stool examination. th
dc.language.iso th th
dc.subject อุจจาระ -- การวิเคราะห์ th
dc.subject Feces -- Analysis th
dc.subject ปรสิต th
dc.subject Parasitology th
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจอุจจาระเพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อปรสิตโดยเครื่องตรวจวิเคราะห์อุจจาระกึ่งอัตโนมัติ รุ่น Sciendox 50 กับการตรวจด้วยวิธีอย่างง่าย th
dc.title.alternative Comparison of Stool Examination Techniques to Diagnose Parasitic Infection Using Semi-Automate Feces Analysis System (Sciendox 50) and Simple Smear Technique th
dc.type Article th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account