รายงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนด้านธุรกิจจีนของสถานประกอบการ เพื่อรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์และ ผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนที่มีต่อความต้องการกำลังคนด้านธุรกิจจีน ศึกษา ความต้องการกำลังคนด้านธุรกิจจีนของสถานประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ศึกษาศักยภาพ การผลิตกำลังคนด้านธุรกิจจีนรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนของสถาบันการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา และกำหนดแนวทางเชิงกลยุทธ์การเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาใน การผลิตบัณฑิตทางด้านธุรกิจจีนที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ในปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก แหล่งทุติยภูมิและแหล่งปฐมภูมิ และการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าของสถาน ประกอบการหรือตัวแทนผู้บริหาร ผู้บริหารหรือตัวแทนสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ธุรกิจไทย-จีน รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การแจงแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า จุดอ่อนหรือปัญหาอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน คือ ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของตลาดอาเซียนและ จีนร้อยละ 38.9 รองลงมาได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจมีศักยภาพและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี เหนือกว่า ร้อยละ 32.3 ความไม่เข้มแข็งของเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมของไทย ร้อยละ 17.7 ไม่มีประสบการณ์ทางธุรกิจในประเทศอาเซียนและจีน ร้อยละ 9.1 ความจำเป็นเร่งด่วน ของภาครัฐที่จะต้องดำเนินการเมื่อมีการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีนคือ การพัฒนาศักยภาพ ทางด้านกำลังคนเข้าสู่ตลาด แรงงาน ( = 1.49) รองลงมาได้แก่ การพัฒนาประสิทธิภาพด้าน ระบบโลจิสติกส์ ( = 1.44) การแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเปิดเขตการค้า เสรี ( = 1.34) การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของสถานประกอบการด้านการคุณภาพสินค้า ( = 1.33) ในด้านความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อสถาบันการศึกษาในการผลิต บัณฑิตด้านธุรกิจจีน เพื่อรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน คือ มีความรู้ในศัพท์เทคนิค เกี่ยวกับธุรกิจอาเซียนและจีน ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง ( = 1.21) สามารถพูดภาษาจีน หรือภาษาประเทศอาเซียนเชิงธุรกิจได้ ( = 1.14) ผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของ สถานประกอบการ ( = 1.10) เน้นการเรียนรู้ทางทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ เช่น การฝึกงานใน สถานประกอบการ ( = 0.96) รายวิชาในหลักสูตรธุรกิจจีนที่มีความสำคัญต่อการนำมาใช้ในการ ทำงาน ด้านวิชาเอกบังคับ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับจำเป็น ( = 1.82, S.D. = 0.448) โดย รายวิชาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีเพียงรายวิชาเดียวคือ วิชาสัมมนาธุรกิจจีน ( = 2.08) รองลงมา ได้แก่ วิชาพัฒนาการและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจีน ( = 1.98) รายวิชาที่ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด มีเพียง 1 รายวิชา ได้แก่ วิชาการสื่อสารภาษาจีนเชิงธุรกิจ ( = 1.54) รายวิชาในหลักสูตรธุรกิจจีน ที่มีความสำคัญต่อการนำมาใช้ในการทำงาน ด้านวิชาเอกเลือก มีความจำเป็น ( = 1.67, S.D. = 0.471) รายวิชาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีเพียงรายวิชาเดียวคือ วิชาการจัดการข้ามวัฒนธรรมไทย-จีน ( = 2.05) รองลงมา ได้แก่ ภูมิศาสตร์กายภาพจีนเชิงธุรกิจ ( = 2.04) คุณลักษณะของบัณฑิตที่ พึงประสงค์หรือมีความจำเป็นในการทำงาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับจำเป็นน้อย ( = 1.31, S.D. = 0.396) คุณลักษณะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีเพียงคุณลักษณะเดียวคือ กล้าแสดงความคิดเห็น ( = 1.48) รองลงมา ได้แก่ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ( = 1.46) และความซื่อสัตย์ ( = 1.20)
This research was aimed to survey the situations and impact of ASEAN Community to economic and social of Samutprakarn Province, to study the potential of strategic plan in provincial development and the preparedness to AEC and regulate guideline to enhance the ability and the preparedness. This research use quantitative methodology by collecting data from questionnaires, survey and interview. The 266 participants were samples selected from head of local government office, public enterprises, local administrators and private sector including 24 participants from interview. The qualitative methodology by reviewing documents and related research. The statistics descriptive use for analyzing data were frequency, percentage, average and standard deviation.
The results of this study revealed that participants should have comprehended the AEC’s situations to economic and social of the Samutprakan province were at moderate level ( = 3.06, S.D. = 0.617), there was only one factor which understood the purpose of AEC at highest level ( = 3.24, S.D. = 0.617), Participant’s overview of AEC were at moderate level ( = 3.22, S.D. = 0.625). The attitude toward the impact of AEC which were at moderate level ( = 3.32, S.D. = 0.574). The Samutprakan Province’s strength were suitable location lead to the center of production base, the efficiency of transportation logistics, skill labor, famous in cultural and custom tourists and strong in local administration. The weakness points were pollution problems, labor shortage, less efficiency in logistics network, illegal labor, the limited development of technology, less understanding and enthusiastic of labor, lack of efficiency in the natural resources deterioration’s prevention. For the preparedness it should have the enhance AEC understanding and stimulate government and local sector cooperation in every level and adjust strategic guidelines beforehand of Samutprakan Province.