งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนการเลี้ยงและผลิตภาพที่เหมาะสมต่อกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการคำนวณวิเคราะห์หาต้นทุนท้้งหมด ต้นทุนเฉลี่ย รายได้ และผลิตภาพ กรอบการวิจัยนี้มีพื้นที่วิจัยคือกลุ่มเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 26 ราย พื้นที่ 740 ไร่ ผลการวิจัยพบว่่า ต้นทุนทั้งหมดชองรูปแบบการเลี้ยงที่ 3 (แบบดั้งเดิมเสริมหญ้าเนเปียร์) มีต้นทุนน้อยที่สุด คือ 4,487 บาทต่อไร่ มีแนวทางการลดต้นทุนวัตถุดิบ คือ การนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ผสมกับหญ้าเนเปียร์ ส่วนต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนคงที่ ดังนี้ ค่าเช่าที่ดิน และค่าปรับบ่อ และมีค่าผลิตภาพรวมมากที่สุด 4.74 ซึ่งสอดคล้องตามด้วยผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพพลังงาน และผลิตภาพมูลค่าเพิ่มที่มากที่สุด ผลิตภาพเป็นตัวชี้วัดผลผลิตทั้งทางคุณภาพและปริมาณ ซึ่งสะท้อนได้ถึงต้นทุนการผลิตที่คุ้มค่า มีถ่ายทอดองค์ความรู้จากเกษตกรต้นแบบและกรมประมงจังหวัดสมุทรปราการสามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรต่อไป
The associated objectives of this research is to study on the cost and productivity that is suitable for the just price on the gourami farmers of the big farm. This research is used that the mixed method as a research tool for analyzing the data (total cost, average cost, income and productivity). This research framework contains the big farm (740 Rai) that has 26 farmers and the general farm, and has less than 740 Rai that has 26 farmers. The results show that the total cost of the 3rd form of farming (supplemented with Napier grass) was the least cost, 4,487 Baht per Rai. The fixed cost was to make a big impact on the land rent and renovated pond. The highest overall productivity (4.74) which was consistent with labor productivity and energy productivity. The results suggest that increases in productivity could be implemented by exchanging knowledge management through public participation in snakeskin gourami fishery of large scale farming. The organization of farmer groups in Samut Prakarn could be applied to the benefit of aquaculture in the future.