งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งและแนวคิดในนวนิยายสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัลแว่นแก้ว พ.ศ. 2557 จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ เสียงเดือนในเสียงหวูดรถไฟในสระน้ำ ไม้หมอนกับก้อนหิน และดินสอแท่งสั้น โดยนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายสำหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัล แว่นแก้ว พ.ศ. 2557 ใช้กลวิธีการแต่ง ได้แก่ การตั้งชื่อบทด้วยเหตุการณ์สำคัญและสิ่งทั่วไป การวางโครงเรื่องใช้วิธีการลำดับเรื่องตามเหตุการณ์และตามเวลา การเปิดเรื่องใช้การบรรยายฉากและบรรยากาศ การเล่าเรื่อง และการใช้บทสนทนา การดำเนินเรื่องใช้กลวิธีการสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และความขัดแย้งภายในจิตใจของมนุษย์ การปิดเรื่องใช้วิธีแบบสุขนาฏกรรม โศกนาฏกรรม และทิ้งท้ายให้ผู้อ่านคิดเอง การสร้างตัวละครเป็นบุคคลในชีวิตจริง คือ ตัวละครเด็ก ตัวละครผู้ใหญ่ และได้สร้างตัวละครที่เหนือมนุษย์ และ ตัวละครสัตว์ ใช้บทสนทนาเพื่อช่วยดำเนินเรื่อง บอกลักษณะนิสัยตัวละคร ให้คติและข้อคิด มีการสร้างฉากที่เป็นสถานที่ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง
This research aimed to analyze literary techniques in 4 young adult novels that won Wankaew Award in 2014 : Slang Duan nai Siang Wood Rodfai, Nai Sanam, Maimorn kran kon Hinin, and Dinsaw Tang San. The results of the descriptive analysis showed that the 2004-award winning young adult novels used several techniques: naming the chapters by using events and common things, plotting the story chronologically, opening the story by describing the scene and atmosphere or by using conversion, narrating or telling story by using conflict between human beings and human and their internal conflicts, ended the novels using tragedy, comedy, or by leaving the up issue for readers’ considerations. In term of character creation, the authors used inspiration from real-life people to create children and adults, supernatural and animal characters. The conversations between characters were used to proceed the story or describe each character or to give the readers some morals considerations. Suggestion: irrelevant to the abstract as a whole.