งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของพรรณไม้โดยรวม และเพื่อเปรียบเทียบการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของพรรณไม้ต่างชนิด บริเวณลานกีฬากลางแจ้งในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ การสำรวจข้อมูลภาคสนามและการคำนวณปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ดำเนินการตามระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นทุกต้น 115 ต้น (7 ชนิด) และกลุ่มตัวอย่าง 89 ต้น (4 ชนิด) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบครัสคัล-วอลลิส และการเปรียบเทียบพหุคูณในการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มชนิดพรรณไม้ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมเท่ากับ 100.01 ตัน (29.94 ตันต่อไร่) และชนิดพรรณไม้ที่แตกต่างกัน ได้แก่ จามจุรี หางนกยูงฝรั่ง หมาก ไทร มีปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ จามจุรีมีปริมาณการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุด ซึ่งแตกต่างกับชนิดพรรณไม้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ไทร หางนกยูงฝรั่ง และหมาก ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
The objectives of this research were to evaluate total amount of carbon dioxide (CO2) absorbed by trees and to compare amount of CO2 absorbed by different types of trees at an outdoor sport court in Huachiew Chalermprakiet University, Thailand. Determining the amount of CO2 used calculation from carbon sequestration in biomass according to a methodology of Thailand Voluntary Emission Reduction Program as a standard method. The study population was composed of 115 trees (7 species) and population samples were 89 trees (4 species). Statistics used were percentage, mean, median, standard deviation, Krukal-Wallis test and multiple comparisons test. The results showed that: 1) total amount of CO2 absorbed by all trees was 100.01 tCO2 (or 29.94 tCO2 rai[subscript -1]) and 2) There was a statistically significant difference of the amount of CO2 absorption which classified by tree species (p< 0.05, n= 89). Samanea saman had the highest amount of CO2 absorption, which was statistically significance difference from three species. Whereas Ficus benjamina, Delonix regia, and Areca catecuhu were no statistical differences each other.