การวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นวิจัยเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดประจำเดือนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเลือกใช้และไม่ใช้ยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เก็บข้อมูลในนักศึกษาพยาบาลจำนวน 537 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน ได้ค่า Index of item objective congruence ทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.50-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ และสถิติไคสแคว์ (X2 test) ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของการปวดประจำเดือนร้อยละ 80.63 พฤติกรรมการดูแลตนเองส่วนมากที่ใช้ คือ การนอนหลับพักผ่อนร้อยละ 38.76 อาการร่วมขณะมีประจำเดือนที่พบบ่อย คือ เป็นสิว ร้อยละ 20.95 ผลกระทบขณะมีประจำเดือนมากที่สุด คือ ไม่กระตือรือร้นต่อการร่วมกิจกรรม ร้อยละ 48.59 มีการใช้ยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ร้อยละ 64.90 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ยาและไม่ใช้ยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือน พบว่า ปัจจัยด้านระดับชั้นปี ความสม่ำเสมอของการมีประจำเดือน และการรับรู้ระดับความเจ็บปวดประจำเดือนมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ยาและไม่ใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002, 0.025, p < 0.001 ตามลำดับ)
สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาได้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดประจำเดือนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเลือกใช้ยาและไม่ใช้ยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดการอาการปวดประจำเดือนได้อย่างเหมาะสม
This research aimed to study self-care behaviors and factors related to medication use and non-medication use to decrease dysmenorrhea in nursing student, Huachiew Chalermprakiet University. The participants included 537 female nursing students using an analytical cross-sectional study. The online questionnaire used for data collection was verified for content validity by 4 experts. The lOC was between 0.50-1.00. Data were analyzed by percentage and X2 tests.
The result found prevalence rate of 80.63% of dysmenorrhea. The most self-care behaviors to decrease dysmenorrhea was sleeping and rests (38.76%). The most affects during dysmenorrhea was not to be able to actively doing activities (48.59%). More than 50% of participants use some kinds of medicine to decrease dysmenorrhea. Academic year, regularity of menstruation, and perception of pain level were significantly correlated with mecication/non-medicationuse to decrease dysmenorrhea (p = 0.002, 0.025, p < 0.001 respectively)
The research results showed self-care behaviors to decrease dysmenorrhea and factors related to drug use and non-druguse to decrease dysmenorrhea so that it can be used to manage dysmenorrhea appropriately.