ปลาสลิดที่มีชื่อเสียงด้านรสชาติดี และรู้จักกันอย่างแพร่หลายคือปลาสลิตอำเภอบางบ่อ จังหวัตสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันลดลงไปอย่างมากและไม่เพียงพอกับผู้บริโภค จึงต้องมีการนำปลาสลิดที่เลี้ยงจากบริเวณจังหวัดใกล้เคียงมาแปรรูปขายแทน ทำให้ปลาสลิดที่ขายในพื้นที่บางบ่อ มีลักษณะและรสชาติแตกต่างกันไป ผู้บริโภคเกิดความไม่แน่ใจว่าปลาสลิดที่วางขายเป็นปลาสลิดบางบ่อแท้หรือไม่ ด้วยเหตุที่ว่าวิธีการเลี้ยงปลาสลิดในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน โดยพื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการใช้วิธีการเลี้ยงตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม คือมีการฟันหญ้าเฉพาะถิ่น เช่น หญ้าทรงกระเทียม หญ้าแพรกทะเล ให้เกิดการหมัก เกิดแพลงก์ตอน เป็นอาหารหลักสำหรับปลาสลิด ซึ่งแตกต่างกับพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเลี้ยงเชิงพาณิชย์ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเป็นหลัก จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ วิธีการเลี้ยงและอาหารที่ใช้ส่งผลต่อคุณลักษณะทางโภชนาการในปลาสลิดในแต่ละพื้นที่อย่างไร ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลในการบ่งชี้เอกลักษณ์ของปลาสลิดแต่ละพื้นที่ได้ โดยพื้นที่ที่ศึกษาประกอบด้วยอำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผลการศึกษาพบว่า ปลาสลิดทุกพื้นที่มีปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่าไขมันอิ่มตัว และมีไขมันชนิดทรานส์ปริมาณต่ำมาก หากเลี้ยงปลาสลิดด้วยอาหารที่มีไขมันรวมสูง เนื้อปลาสลิดที่ได้มีแนวโน้มพบไขมันสูงเช่นกัน โปรตีนในเนื้อปลาสลิดไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโปรตีนในอาหารที่เด่นชัด โดยโปรตีนในเนื้อปลาสลิดแต่ละแหล่งมีค่าใกล้เคียงกันแม้ว่าปริมาณโปรตีนในอาหารมีความแตกต่างกัน แร่ธาตุที่พบในเนื้อปลาสลิดทุกแหล่งมากที่สุด คือ โพแทสเซียม ทั้งนี้ปริมาณแร่ธาตุในอาหาร ไม่ได้ส่งผลอย่างเห็นได้ชัดต่อปริมาณแร่ธาตุในเนื้อปลาสลิด โดยภาพรวมปัจจัยด้านอาหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะทางโภชนาการในปลาสลิดที่เด่นชัดในแต่ละพื้นที่ คือปริมาณไขมันในอาหาร โดยกลุ่มของจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดฉะเชิงเทราที่เลี้ยงโดยวิธีฟันหญ้าตามธรรมชาติและให้อาหารเสริมร่วมกับการฟันหญ้าในช่วงก่อนจับขาย จะพบไขมันในเนื้อปลาที่ไม่สูง ยกเว้นพื้นที่ในอำเภอบางบ่อ แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาลักษณะสัณฐานภายนอกร่วมด้วยพบว่าปลาสลิดในกลุ่มนี้จะมีลำตัวเรียวยาวและขนาตเล็กกว่าของกลุ่มจังหวัดที่เลี้ยงโดยใช้อาหารสำเร็จรูปเป็นหลักซึ่งมีปริมาณไขมันที่สูง คือ จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาคร ส่งผลให้พบไขมันในเนื้อปลาที่สูง สัณฐานภายนอกมีขนาดใหญ่และอวบอ้วน
Trichogaster pectoralis (Snakeskin gourami) is the famous fish in the area of Bang Bo District, Samut Prakan Provinces. However, this fish farming is currently greatly reduced and not enough for consumers. Therefore, the fishermen bring the fish from nearby provinces and processes for sale. It makes Trichogaster pectoralis which sold in Bang Bo have different
characteristics and flavors. Consumers are unconvinced whether the fish that are sold are Bang Bo fish. The different ways of fish feeding in each area. In Samut Prakan Province area, traditional methods were used. The fishermen cut the local grass such as Eleocharis equisetoides and Cynodon dactylon. From glass fermentation, it caused plankton which is the main food for fish. These are different from Samut Sakhon Province and Samut Songkhram Province areas which is mainly used the commercial feeding. It leads to the purpose of this study. It investigated the feeding methods and feeds on nutritional characteristics of Trichogaster pectoralis from different sources that consist of Bang Bo, Bang Sao Thong, and Mueang District (Samut Prakan Provinces), Bang Pakong District (Chachoengsao Province), Ban Phaeo District (Samut Sakhon Province) and Amphawa District (Samut Songkhram Province). It is evident that the food factor which affects the nutritional characteristics in Trichogaster pectoralis in each area is the amount of fat in food feeding. The fish in Sarmut Prakarn Province and Chachoengsao Province area, feeding by cutting local grass and providing supplementary food together with the grass before sale, were low fat in fish, except for Bang Bo District. Considering the external morphology, the fish in these provinces had tapered body and smaller size than that of the provinces (Samut Songkhram Province and Sarmut Sakhon Province) that were fed using ready-to-eat food which had high fat content, It results in high fat in fish meat. The external morphology is large and plump.