การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและคัดเลือกนิทานพื้นบ้านภาคใต้ของไทย จํานวน 146 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ที่ปรากฏมีดังนี้ 1) ด้านวิถีชีวิต ชาวบ้านอาศัยอยู่ใกล้ทะเลหรือภูเขา ประกอบอาชีพเกี่ยวกับธรรมชาติและการค้า เช่น ค้าขายกับจีนทางเรือสําเภา ประกอบอาชีพประมง 2) ด้านความเชื่อ เช่น ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา 3) ด้านการละเล่น ได้แก่ การเล่นจาโต 4) ด้านการใช้สมุนไพร มีการใช้ยางไม้กับขี้ชันจับสัตว์ 5) ด้านการติดต่อกับต่างชาติ มีการค้าขายกับจีนและอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม6) ด้านค่านิยม มีค่านิยมความกล้าหาญและค่านิยมฐานะทางการเงิน เช่น คนจนต่อสู้กับเศรษฐี 7) ด้านการเจรจา ชาวใต้มีความสามารถในการต่อรองและชอบพูดจาโอ้อวด 8) ด้านคติและคําสอน เช่น การสอนให้เลือกคบคน 9) ด้านการบันทึกความเป็นมาของชุมชน มีการเล่าที่มาของชื่อสถานที่หลายแห่งซึ่งสัมพันธ์กับความเป็นมาชุมชนภาคใต้ เช่น เกาะหนู เกาะแมว หินหัวนายแรง10) ด้านภูมิปัญญา บางส่วนได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นิทานพื้นบ้านภาคใต้สะท้อนคุณค่าอัตลักษณ์ท้องถิ่นของภาคใต้ในแง่มุมต่าง ๆ อย่างน่าสนใจคําสําคัญ:อัตลักษณ์ท้องถิ่น นิทานพื้นบ้าน ภาคใต้ของไทย
This qualitative research aims to analyze local identities presented in 146 selected stories of southern Thai folktales. The research finds ten aspects of local identities, as follows: 1) Ways of life, southern Thai people live by the sea or mountains; their occupations relate to nature or trading, such as a barque trading with China, fishery, etc. 2) Beliefs, for example faith in Buddhism. 3) Folk games, such as the Ja-to (a kind of local chess). 4) Using herbs, such as using sap of Hopea macrocarpa Poopath & Sookch for trapping animals. 5) Communication with abroad, including trading with China, and multicultural living. 6) Values, such as bravery and wealth; a story of the poor fighting against the rich is found. 7) Characteristics; negotiation and boastfulness are two distinctive characteristics noted. 8) Ideas and teachings, such as the teaching about making friends. 9) Origins of communities and names of local places, which are relevant for example Koh-nu (Mouse Island); Koh-maew (Cat Island); Hin-hua-nai-rang (Gao-seng Hill), etc. 10) Wisdom, including some adopted from abroad. This research indicates that southern Thai folktales present various interesting aspects of local identities of southern Thailand.